คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับคดี: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจตัดสินในระหว่างพิจารณาคดี ศาลฎีกาไม่มีอำนาจแก้ไข
การขอทุเลาการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 231 นั้น กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นขั้น ๆ ไป สำหรับคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอทุเลาการบังคับจึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ ศาลฎีกาไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์เป็นอย่างอื่นได้ และกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้ว จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกผิดที่อยู่ การขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
แม้สัญญาประกันผู้ต้องหาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 172 ซอยสุวรรณสวัสดิ์ฯลฯ ก็ตาม แต่ต่อมาจำเลยได้ย้ายจากภูมิลำเนาเดิมไปอยู่บ้านเลขที่ 633 ถนนสุขุมวิท ฯลฯ แล้ว และปรากฏจากการติดต่อนัดส่งตัวผู้ต้องหาระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลย แสดงว่าโจทก์ที่ 2 ได้ทราบถึงภูมิลำเนาใหม่ของจำเลยแล้วด้วยเช่นนี้ การที่โจทก์ฟ้องโดยระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 172 ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิม จึงมิใช่ภูมิลำเนาจำเลย ครั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ได้ โจทก์ก็แถลงศาลว่า ไม่ทราบว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด เป็นเหตุให้ศาลเชื่อสั่งให้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์แทน จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 จะถือว่าจำเลยทราบการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วไม่ได้ จำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดเพื่อกันส่วนทรัพย์มรดก แม้พิจารณาคดีสิ้นสุดแล้วก็ยังมีอยู่
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาขอให้ศาลกันส่วนของผู้ร้องสอดให้แก่ผู้ร้องสอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นได้ก่อนพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา แม้การพิจารณาจะถือว่าสิ้นสุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 187 แล้วก็ตาม สิทธิของผู้ร้องก็ยังมีอยู่ ศาลชั้นต้นจะไม่รับคำร้องโดยอ้างว่าเป็นการประวิงคดีหาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีสิ้นสุดเมื่อจำเลยขาดนัดสืบพยาน ศาลมีอำนาจพิพากษาได้โดยไม่ต้องแจ้ง
วันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลสืบตัวโจทก์จวนจะหมดปากแล้วทนายจำเลยจึงเพิ่งมาศาลยื่นคำร้องขอเลื่อนศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนและสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณานัดต่อมาซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานจำเลย จำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลศาลจึงสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นดังนี้ถือได้ว่า การพิจารณาคดีดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อศาลสั่งงดสืบพยานจำเลย ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่งนั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 133

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360-2361/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขอรับมรดกต้องทำในระหว่างพิจารณาคดีชั้นต้น ไม่สามารถทำได้ในชั้นบังคับคดี
ร้องสอดขอรับมรดกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1749 ต้องทำระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จะร้องชั้นบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีหลังพยานเบิกความไปมาก ศาลมีอำนาจพิจารณาเหตุสมควรหรือไม่ เพื่อป้องกันความยุ่งยากในการพิจารณา
ผู้ร้องได้ทราบถึงการที่โจทก์ฟ้องคดีมาตั้งแต่แรก แต่เพิ่งร้องสอดเข้ามาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้ว 5 ปีเศษ จนได้มีการสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นไปแล้ว ทั้งได้สืบพยานจำเลยไปแล้วรวม 29 นัด จวนจะเสร็จสิ้นพยานจำเลยอยู่แล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เพราะจะทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเพิ่มความยุ่งยากขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมาศาลของจำเลยและการขาดนัดพิจารณาคดี: จำเลยมาศาลแต่กลับก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จ ไม่ถือว่าขาดนัด
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานจำเลยมาศาลแต่ได้กลับไปเสียก่อนที่ศาลจะสืบพยานโจทก์เสร็จ กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จะมีคำขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะคู่ความที่จะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 นั้น จะต้องเป็นคู่ความที่ศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคดีต่อไปได้แม้โจทก์ถึงแก่กรรม และทายาทไม่รับมรดกความ
คดีอาญา (ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177) แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและทายาทของผู้มรณะไม่ติดใจรับมรดกความ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าและผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
นัดสืบพยานวันที่ 28 ยื่นบัญชีระบุพยานในวันที่ 25 ก่อนวันนัดสืบพยานเพียง 2 วัน จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่งแล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นแสดงว่าเหตุใดจึงยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาไม่ได้ เพื่อจะได้มีข้อเท็จจริงให้ศาลได้วินิจฉัยว่าข้ออ้างของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะรับบัญชีระบุพยานไว้หรือไม่ การที่อ้างว่าโจทก์มิได้จงใจฝ่าฝืนระเบียบทั้งจำเลยไม่เสียเปรียบเพราะโจทก์ยังไม่ได้สืบพยาน เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม แล้วอนุญาตให้รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ไว้ จึงไม่ชอบ และจะกลายเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 88 และโจทก์จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ย่อมไม่แน่นอน ส่วนข้อได้เปรียบเสียเปรียบในทางคดีก็มีอยู่อย่างชัดแจ้ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลมีสิทธิพิจารณาตัดสินคดีได้ แม้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยาน
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนจำเลยและทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว ส่วนความในมาตรา 205 นั้นจะเป็นในวรรค 2 หรือ 3 ก็หมายความเฉพาะกรณีที่จำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงจะพิจารณาว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ถ้ามาศาลเมื่อพ้นระยะเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบแล้วก็ไม่อนุญาตให้จำเลยสืบพยานของตนได้คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วจำเลยก็มิได้มาศาลจึงมิใช่กรณีที่จะให้สืบพยานจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรค3(1) แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานไว้ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลพิพากษาไปได้ (อ้างฎีกาที่ 131/2509)
of 48