คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6486/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าที่ฟ้องซ้ำในคดีก่อน
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการฉบับเดียวกัน ซึ่งโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทำให้สัญญาทั้งสองฉบับเลิกกันแล้ว ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินที่ค้างและค่าเสียหายกับขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่เช่า พร้อมส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ กรณีเป็นการใช้สิทธิในฐานะคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากการเลิกสัญญา โจทก์สามารถเรียกเอาค่าเสียหายในอนาคตรวมถึงค่าเสียหายต่างๆ อันสืบเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ภายหลังสัญญาเลิกกันได้ ค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญาและค่าปรับที่จำเลยออกจากที่เช่าล่าช้าตามฟ้องโจทก์คดีนี้ล้วนเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยอาจส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ล่าช้าและยังคงใช้ประโยชน์ในที่เช่าต่อไป จึงได้มีการระบุไว้เป็นข้อตกลงในสัญญาเช่า ทั้งยังถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยเป็นรายเดือนจนกว่าจะได้ที่เช่าคืนในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องคดีก่อน เป็นฟ้องซ้อนไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องแบ่งสินสมรสที่ดินแปลงต่างกัน แต่มีมูลเหตุเดียวกัน ศาลฎีกาตัดสินว่าฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ตั้ง ป. เป็นทนายความให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกาได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่เคยตั้งให้ ป. เป็นทนายความมาแต่แรก แม้ฎีกาทำเป็นฉบับเดียวลงชื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ฎีกา โดยมี ป. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ และระบุชื่อของจำเลยที่ 2 ไว้ในฎีกาหน้าแรกว่าเป็นผู้ที่ขอยื่นฎีกาด้วยก็ตาม กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฎีกาเท่านั้น
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรื่องขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 191/2553 หมู่ที่ 7 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 79 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 96/2553 หมู่ที่ 5 (เดิมหมู่ที่ 2) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา โดยจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง แม้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดี เป็นการขอให้แบ่งที่ดินต่างแปลงกัน แต่มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องโดยการยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงเป็นสินสมรส คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเมื่อจำเลยบางส่วนไม่ได้ตั้งทนาย และฟ้องซ้อนเรื่องสินสมรส
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ตั้ง ป. เป็นทนายความให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกาได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่เคยตั้งให้ ป. เป็นทนายความมาแต่แรก ฎีกาทำเป็นฉบับเดียวลงชื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ฎีกา โดยมี ป. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ ฉะนั้น แม้ฎีกาฉบับนี้จะระบุชื่อของจำเลยที่ 2 ไว้ในฎีกาหน้าแรกว่าเป็นผู้ที่ขอยื่นฎีกาด้วยก็ตาม กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วย ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสี่ ซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เท่านั้นฎีกา
แม้โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 เรื่องขอแบ่งสินสมรสเป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 191/2553 หมู่ที่ 7 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนาง น. แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้งขอให้บังคับจำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 96/2553 หมู่ที่ 5 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แต่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้งว่ามีสิทธิครอบครอง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง แม้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดี เป็นการขอให้แบ่งที่ดินต่างแปลงกัน แต่มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยโดยการยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงเป็นสินสมรส คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนเมื่อสิทธิที่อ้างฟ้องมีคดีเดิมแล้ว
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องตั้งสิทธิเข้ามาในฐานะเป็นปฏิปักษ์กับโจทก์ เพื่อขอให้ศาลรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอด จึงเป็นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าถูกโจทก์โต้แย้งนี้ ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนเมื่อสิทธิที่อ้างยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในคดีอื่น
โจทก์ฟ้องคดีนี้อ้างว่า โจทก์ได้รับโอนมรดกที่ดินพร้อมตึกแถวมาจากผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินโดยไม่มีสิทธิ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและตึกแถวพิพาท ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) แต่เนื้อหาตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดอ้างว่า ก่อน พ. ซึ่งเป็นมารดาของผู้ร้องสอดถึงแก่ความตายโจทก์กับพวกร่วมกันทำพินัยกรรมของ พ. ปลอมขึ้น หลังจาก พ. ถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินและตึกแถวดังกล่าวของผู้ร้องสอดให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำร้องสอดในคดีนี้จึงเป็นการตั้งสิทธิเข้ามาในฐานะเป็นปฏิปักษ์กับโจทก์ เพื่อขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอด เป็นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าถูกโจทก์โต้แย้งนี้ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งว่า พินัยกรรมของ พ. เป็นโมฆะแล้ว ซึ่งการวินิจฉัยให้มีผลตามคำร้องสอดก็ต้องวินิจฉัยว่า พินัยกรรมปลอมหรือเป็นโมฆะหรือไม่เช่นกัน เมื่อคำฟ้องในคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องสอดคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน – การอายัดสิทธิเรียกร้อง – เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้
คำฟ้องของโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ได้นั้น ในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน ซึ่งคำว่าโจทก์รวมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเดียวกับโจทก์ด้วย ดังเช่นคดีก่อน โจทก์คือห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แต่คดีนี้ได้มีการยกเลิกห้างดังกล่าวแล้ว โดยมี ศ. หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ชำระบัญชีและเป็นผู้ฟ้องคดีแทน ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1259 ที่ว่า ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามห้างหุ้นส่วนในอรรถคดีทั้งหลายทั้งปวงของห้าง ดังนั้น จึงถือว่าเป็นโจทก์คนเดียวกัน
ตามหลักกฎหมายหุ้นส่วน มีบทบัญญัติให้หุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวนหรือรับผิดเป็นส่วนตัวต่อบุคคลภายนอกที่มีนิติสัมพันธ์กับห้าง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะด้านความรับผิดเท่านั้น มิใช่การไปตั้งสิทธิเรียกร้องใด ๆ ได้เป็นส่วนตัวต่างหากจากห้าง จึงถือไม่ได้ว่า ศ. มีอำนาจฟ้องเป็นส่วนตัวอีกฐานะหนึ่ง ข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่าโจทก์ในคดีนี้เป็นคนเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น" โดยมีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรฟ้องร้องว่ากล่าวเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียว คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลละเมิดให้คืนรถแทรกเตอร์พิพาททั้งสองคันหรือชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถดังกล่าวรวมทั้งค่าเสื่อมราคา ส่วนคดีนี้โจทก์ก็เรียกร้องในเรื่องเดียวกันโดยข้ออ้างต่างกันเพียงว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าเสียหายจากการใช้ประโยชน์ในรถแทรกเตอร์พิพาททั้งสองคันไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โดยมีรายละเอียดว่าเนื่องจากจำเลยที่ 1 นำรถแทรกเตอร์ของโจทก์ไปใช้ประโยชน์นานถึง 5 ปี 10 เดือน จึงต้องใช้ค่าขาดประโยชน์ขั้นต่ำประมาณ 21,000,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ขอชดใช้เพียงแค่ 3,617,280 บาท จึงต่ำเกินไป ซึ่งค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถดังกล่าว โจทก์สามารถกำหนดเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้ในคราวเดียวกันกับที่ฟ้องคดีแรกอยู่แล้ว เพราะสภาพแห่งข้อกล่าวหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อกล่าวหาเป็นเรื่องเดียวกัน ดังนี้เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นการยื่นคำฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของห้างโจทก์ โดยมูลหนี้ที่ฟ้องร้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าภาษีอากร และภายหลังที่ศาลออกคำบังคับ โจทก์กับพวกไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 จึงขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของโจทก์กับพวกมาชำระหนี้ อันเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบ และเมื่อจำเลยที่ 2 ตรวจสอบพบว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ของตนมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนหนึ่งจากบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 1 จึงดำเนินการขอให้มีการอายัดเงินดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ของตน อันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการบังคับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่กฎหมายให้สิทธิไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ ประกอบมาตรา 311 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ควรอายัดสิทธิในจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 กำหนดแก่โจทก์ เพราะเป็นจำนวนเงินที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรม ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องเสียประโยชน์ได้เงินมาชำระหนี้ไม่ครบจำนวนนั้น เป็นเรื่องของความคาดหวังของโจทก์เอง เนื่องจากตนยังสู้คดีอยู่กับจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่เป็นที่แน่นอนว่าโจทก์จะได้เงินค่าเสียหายตามจำนวนที่ต้องการ ดังนี้จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 จะต้องรอและงดการอายัดสิทธิที่ตนควรได้ไว้ก่อนแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 กระทำการโดยสุจริตชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นละเมิดจึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ผู้รับโอนสิทธิจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมฟ้องขับไล่ซ้ำในคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
การที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยเรียกค่าเสียหาย เป็นการใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544มาตรา 76 โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน เมื่อคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน อันเป็นฟ้องซ้อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องคดีใหม่ระหว่างที่คดีเดิมยังพิจารณาอยู่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง มีความมุ่งหมายให้คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างให้รับผิดต่อโจทก์โดยอ้างเหตุว่ากรรมการจำเลยที่ 2 ซึ่งก็คือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ มีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งใหม่อันเป็นการลดตำแหน่งโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและไม่เป็นธรรม เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินภายหลังเลิกจ้าง คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งใหม่เป็นการลดตำแหน่งและค่าตอบแทนในการว่าจ้างของโจทก์ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เรียกร้องค่าเสียหายจากการออกคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุแห่งการออกคำสั่งย้ายงานโจทก์ของจำเลยที่ 1 ในคราวเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะนายจ้างเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการออกคำสั่งที่ไม่ถูกต้องในคราวเดียวหรือแก้ไขคำฟ้องในคดีเดิมภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634-1635/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-กรรมสิทธิ์ที่ดิน: คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนหากประเด็นพิพาทซ้ำกับคดีเดิม และการพิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องพิจารณาจากสัญญา
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงที่พิพาท และมีคำขอให้โจทก์โอนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวคืนให้ผู้ร้องสอด เป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ ในทำนองเดียวกับที่ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์กับพวกไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 48/2554 ของศาลชั้นต้น แม้ในคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีประเด็นพิพาทเช่นเดียวกับที่ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์กับพวกไว้ในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินที่พิพาทหรือไม่ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเป็นคำฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน ผู้ร้องสอดจะยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ไม่ได้ เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงที่พิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 282/2545 ของศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องความเป็นเจ้าของของที่ดินที่พิพาท จำเลยทั้งสี่จึงสามารถสืบพยานตามคำให้การและฟ้องแย้งในคดีนี้ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579-1580/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีอาญา: การกระทำผิดกรรมเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันทำให้ฟ้องหลังเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดว่าอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันทั้งสองสำนวน แม้ทรัพย์ตามฟ้องสำนวนหลังที่โจทก์ระบุว่าเป็นโบราณวัตถุ 217 ชิ้น และสร้อยลูกปัดโบราณ 332 เส้น จะเป็นทรัพย์คนละอย่างกับทรัพย์ตามฟ้องสำนวนแรก แต่เมื่อการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์ตามฟ้องสำนวนหลังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์ตามฟ้องสำนวนแรก จึงเป็นการกระทำในคราวเดียวอันเป็นกรรมเดียวกัน ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำนวนหลังได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 31