คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้มีชื่อในโฉนดต้องรับผิดชอบภาษีจากการขายที่ดิน แม้มีการร่วมลงทุน
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน อันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินแต่เพียงผู้เดียว และโจทก์เป็นผู้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินโฉนดดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าโดยคิดจากจำนวนเงินที่ขายที่ดินได้ทั้งหมดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 61 และมาตรา 87(1) ที่โจทก์อ้างว่าได้ร่วมลงทุนกับ ล. โจทก์ประสงค์จะสืบพยานต่อไปก็ไม่ทำให้โจทก์พ้นจากหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากการขายที่ดินทั้งหมด ดังนี้ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งตัดพยาน จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากชื่อในโฉนด: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องเสียภาษีแม้มีการร่วมทุน
โจทก์ร่วมลงทุนกับ ว. ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวแม้ว่าต่อมาจะได้ขายที่ดังกล่าวไปและแบ่งปันเงินที่ได้จากการขายที่ดินกันตามอัตราส่วนที่ลงหุ้นแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากเงินได้ที่ได้จากการขายที่ดินทั้งหมดได้ เพราะโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินแต่เพียงผู้เดียวและโจทก์เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้นไว้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 61 ดังนั้น แม้ศาลภาษีอากรกลางจะยอมให้โจทก์นำสมุห์บัญชีธนาคาร และ ว.มาสืบยืนยันข้อเท็จจริงว่าว. ร่วมลงทุนและได้รับทุนและส่วนแบ่งกำไรคืนไปแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์หลุดพ้นหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีการค้าจากการขายที่ดินทั้งหมดได้ การสืบพยานทั้งสองปากดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้หมายเรียกสมุห์บัญชีธนาคาร และตัดพยานปากนาย ว. เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า แม้จะไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดิน
การที่โจทก์ซื้อที่ดินมาโดยมิได้ทำประโยชน์ บางแปลงซื้อทิ้งไว้เกือบสิบปี บางแปลงซื้อมาไม่กี่เดือนก็ขายไป บางแปลงมีการปรับปรุงที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อขายให้ได้ราคาและปรากฏว่าโจทก์มีการซื้อและขายที่ดินทุกปี ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาและขายไป โดยมุ่งในทางการค้าหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากส่วนแบ่งกำไรกิจการร่วมค้าและการประเมินภาษีจากค่าจ้าง การชำระภาษีไม่ครบและเบี้ยปรับ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมค้ากับโจทก์ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า แต่เป็นการประเมินจากเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าแรงที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถและคนงานของโจทก์ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า การจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานก่อสร้าง นั้น บางครั้งโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าเหมาช่วงให้บุคคลอื่นรับไป บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานรายวัน บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างคนขับรถ ซึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป อันจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 89 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษอันเป็นมาตรการที่บังคับไว้เพื่อให้เกิดผลในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วน แม้ผู้ต้องเสียภาษีจะเคยชำระภาษีในครั้งก่อน ๆ ไว้เกิน ก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การนำสืบต้องตรงประเด็นตามฟ้อง และเบี้ยปรับภาษีแม้เคยชำระภาษีไว้เกิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมค้ากับโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายจำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าแต่เป็นการประเมินจากเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าแรงที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถและคนงานของโจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า การจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานก่อสร้าง นั้นบางครั้งโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าเหมาช่วงให้บุคคลอื่นรับไปบางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานรายวัน บางส่วนจ่ายเป็นค่าจ้างคนขับรถ ซึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปอันจะต้องเสียเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษอันเป็นมาตรการที่บังคับไว้เพื่อให้เกิดผลในกรณี ที่ผู้ต้องเสียภาษีไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วน แม้ผู้ต้องเสียภาษีจะเคยชำระภาษีในครั้งก่อน ๆ ไว้เกิน ก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้านำเข้า: การประเมินราคาที่แท้จริงและการอุทธรณ์ผลการประเมินภาษี
ผู้ขายสินค้าในประเทศญี่ปุ่นตั้งราคาสินค้าให้โจทก์ตามราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) และบัญชีราคาสินค้า (ไพรซ์ลิสท์)ซึ่งเป็นราคาที่ขายให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย เพราะจำเป็นต้องแข่งขันกับสินค้าของผู้ผลิตรายอื่น อีกทั้งสินค้า เป็นอะไหล่รถจักรยานยนต์รุ่นเก่าแต่ผู้ใช้ในประเทศไทยยังใช้อยู่ ประกอบกับมีอะไหล่เทียมขายแข่งขัน แต่ราคาสินค้าก็ยังสูงกว่า ราคา ของอะไหล่รถจักรยานยนต์ยี่ห้ออื่น ซึ่งราคานี้ทางเจ้าพนักงาน ของ จำเลยรับรองหรืออนุมัติราคาไว้แล้ว ดังนี้ ย่อมถือว่าราคาตาม ใบกำกับสินค้าและบัญชีราคาสินค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลย จะ นำเอาราคาตามบัญชีราคาสูงสุด (เอ็กซ์ปอร์ตไพรซ์ลิสท์) ที่ จำเลย ขอจากผู้ขายในประเทศญี่ปุ่นและเป็นราคาที่ผู้ขายตั้ง ไว้ สำหรับ เสนอขายแก่ลูกค้าทั่วโลกมาใช้โดยที่ยังไม่ปรากฏว่า เป็น ราคา ที่ ผู้ขายได้ขายตามราคานั้นให้แก่ผู้ใดบ้าง หรือไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ซื้อ สินค้าจากผู้ขายในราคาที่สูงกว่าราคาที่ปรากฏตาม ใบกำกับสินค้า และบัญชีราคาสินค้าไม่ได้ ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 2)เรื่อง ยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตาม ประมวลรัษฎากร กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยอยู่ในฐานะ เจ้าพนักงานประเมินด้วยเมื่อเจ้าพนักงานได้โต้แย้งราคาสินค้า สั่งให้ตัวแทนของโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมราคาสินค้าตลอดจนค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้น จึงถือได้ว่าคำสั่งของ เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวเป็นการแจ้งประเมินค่าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ด้วยโจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนจึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลเกี่ยวกับ ค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยมีประเด็นเรื่องการหักค่าใช้จ่ายที่สมควร
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวจำนวน 59 แปลงนำ มาให้ผู้อื่นเช่าเพื่อหาผลประโยชน์ แล้วทยอยขายไปเรื่อย ๆ เป็นการกระทำมุ่งในทางธุรกิจเพื่อหาประโยชน์จึงเป็นการได้ทรัพย์มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การเสียภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ให้เสียจากรายรับตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ จะต้องนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้า แต่การเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดามีการหักค่าใช้จ่าย ส่วนจะหักได้เพียงใดอยู่ที่ ประเภท เงินได้ของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมาแล้ว ทำการ ซ่อมแซมก่อนที่จะทยอยขายไป ค่าซ่อมแซมจึงถือเป็นรายจ่าย ที่ จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าค่าซ่อมแซมมีจำนวนเท่าใด ก็ย่อมกำหนดค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 8 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาบัญชีนอกสถานที่ประกอบธุรกิจ และการอ้างเหตุสุดวิสัยเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์เก็บเอกสารหลักฐานบัญชีของโจทก์ไว้ที่อื่น ซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจการค้าของโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 13 โจทก์จะยกเอาเหตุบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหาย อันเกิดจากการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อกฎหมายของโจทก์มาอ้างเป็นเหตุสุดวิสัย เพื่อมิให้เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 71(1) หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าภาษีและการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยผู้ต้องเสียภาษีทราบว่าต้องเสียภาษีจำนวนเท่าใดแล้ว แต่จำเลยไม่นำเงินภาษีดังกล่าวไปชำระให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระค่าภาษีจำนวนดังกล่าว โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วัน ที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2)สิ้นสุดลงเสียก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดแล้ว จำเลยจึงไม่อาจจะยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลอีกว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ-พิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เสียก่อนที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ไม่เป็นเหตุยกเว้นให้จำเลยมีสิทธิที่จะโต้เถียงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีและการสิ้นสุดสิทธิโต้แย้งหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยผู้ต้องเสียภาษีทราบว่าต้องเป็นภาษีจำนวนเท่าใดแล้ว แต่จำเลยไม่นำเงินภาษีดังกล่าวไปชำระให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระค่าภาษีจำนวนดังกล่าว โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วัน ที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) สิ้นสุดลงเสียก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดแล้ว จำเลยจึงไม่อาจจะยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลอีกว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เสียก่อนที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ไม่เป็นเหตุยกเว้นให้จำเลยมีสิทธิที่จะโต้เถียงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้อีก
of 70