คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า: การตีความ 'ขาย' ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการขายของประเภท 1 ชนิด 1(ก)ในฐานะผู้ผลิตสินค้าซิเมนต์ เหล็ก อิฐ ได้สั่งกระดาษม้วน ด้าย และเทปกระดาษเข้ามาเพื่อผลิตเป็นถุงกระดาษบรรจุปูนซิเมนต์ ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะขายถุงปูนซิเมนต์โดยคำนวณต้นทุนผลิตรวมกันไปกับปูนซิเมนต์หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สั่งสินค้าดังกล่าวเข้ามาใช้ผลิตเพื่อขายซึ่งสินค้าที่โจทก์ได้ประกอบการค้าอยู่ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่โจทก์นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายแล้ว จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งได้ขายสินค้านี้ และให้ถือมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (1) ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็กและสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3)ไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีการค้า กรณีสินค้าไม่เข้าข่ายยกเว้นภาษี และการประเมินภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อนำเข้าโจทก์ยื่นแบบใบขนสินค้า และแบบแสดงรายการการค้า และชำระภาษีศุลกากร ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจแบบที่ยื่นถูกต้องแล้วรับเงินภาษีอากรที่โจทก์ขอชำระ ดังนี้ แม้ในส่วนภาษีการค้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจะได้กระทำแทนกรมสรรพากรก็หาใช่เป็นการประเมินภาษีตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ไม่ จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 เสียก่อนฟ้องเมื่อโจทก์เห็นว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นสินค้าอันได้รับยกเว้นภาษีการค้า และโจทก์มีหนังสือขอคืนเงินภาษีดังกล่าวแล้ว แต่กรมศุลกากรและกรมสรรพากรไม่ยอมคืนให้โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
เครื่องจักรพร้อมทั้งส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรของโจทก์นั้น โจทก์ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรทำการใช้งานผลิตสินค้าเป็นเวลานานแล้ว ส่วนสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งนี้มิใช่ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้อยู่ แต่เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่สั่งเข้ามาภายหลังเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด จึงหาใช่สินค้าที่เป็นเครื่องจักรส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรอันจะได้รับยกเว้นภาษีตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(11)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียเงินเพิ่มภาษีการค้าแม้ได้รับการทุเลาการชำระภาษี และการอำนาจฟ้องกรมสรรพากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอกอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86 ทวิ (มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อนละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้บทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะ สำหรับภาษีการค้านั้น มีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมารตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและลวดหนาม: การตีความคำว่า 'ผลิต' ตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า "ผลิต" ไว้ว่า หมายถึง "ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ " และ "ผู้ผลิต" หมายถึง "ผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต" โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ 4 ขั้นตอน คือ ล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลง แล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลง และชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปู จึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 มาตรา 4 (1) (3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง แม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม หรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตาม ก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งของแต่ละคนและแต่ละกรณีไป เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและลวดหนาม: การตีความคำว่า 'ผลิต' ตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า 'ผลิต' ไว้ว่า หมายถึง 'ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบแปรรูป แปรสภาพสินค้าหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใดและ 'ผู้ผลิต' หมายถึง 'ผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต' โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ 4 ขั้นตอน คือล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลงแล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลงและชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูจึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด1(ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 มาตรา 4(1)(3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้างแม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตามหรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตามก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละคนและแต่ละกรณีไปเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและผลิตภัณฑ์แปรรูป ศาลฎีกายืนตามประเมิน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า "ผลิต" ไว้ว่า หมายถึง "ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ " และ "ผู้ผลิต" หมายถึง "ผู้ประกอบการที่ทำการผลิต" โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ 4 ขั้นตอน คือ ล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลง แล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลง และชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปู จึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 มาตรา 4 (1) (3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง แม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม หรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไทยไปแล้วก็ตาม ก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งของแต่ละคนและแต่ละกรณีไป เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้า: ราคา CIF ที่ถูกต้องคือราคาหลังหักส่วนลดตามราคาตลาด
โจทก์สั่งสินค้าอุปกรณ์ท่อน้ำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรราคาสินค้าดังกล่าวที่เสนอขายเป็นราคามาตรฐานสากล แต่ผู้ขายหักส่วนลดให้โจทก์ 58% ราคาที่หักส่วนลดแล้วเป็นราคาตลาด ดังนี้ ต้องถือราคาที่หักส่วนลดแล้วเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ ที่จะคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เพราะรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79(6) หมายความว่ามูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้ความหมายคำว่า มูลค่าว่า ราคาตลาดของทรัพย์สินทั้งโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารและชำระเงินไปตามตั๋วแลกเงินในจำนวนราคาที่หักส่วนลดแล้ว ราคาสินค้าที่หักส่วนลดนี้จึงเป็นราคาที่แท้จริง เป็นราคาตลาดและราคา ซี.ไอ.เอฟ ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ จำเลยไม่มีอำนาจที่จะอาศัยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 4) ประเมินราคา ซี.ไอ.เอฟ ใหม่ โดยถือเอาราคาสินค้าก่อนหักส่วนลดเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ มาเป็นหลักในการประเมินภาษีการค้าของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ภาษีการค้าเกินกำหนด 30 วัน ทำให้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีไม่มีผล แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับเรื่อง
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าที่โจทก์ต้องชำระแล้วได้แจ้งการประเมินไปยังโจทก์ตามแบบแจ้งจำนวนเงินภาษีการค้าโดยผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดเป็นผู้นำไปส่งที่บ้านโจทก์แต่ไม่พบโจทก์จึงส่งให้คนในบ้านโจทก์รับแทน แม้จะไม่ได้ส่งแบบแจ้งจำนวนเงินภาษีการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ได้รับกับเจ้าพนักงานว่าโจทก์ได้ทราบการประเมินตามที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไปแล้ว จึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินแล้วตั้งแต่วันที่รับกับเจ้าพนักงาน โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 30 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็หามีผลให้อุทธรณ์นั้นกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ เท่ากับโจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การนำเข้าสมุดเช็คจากต่างประเทศถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทธนาคาร ได้สั่งสมุดเช็คจากประเทศอังกฤษเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ โดยมอบให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์ใช้สั่งจ่ายเงินสมุดเช็คนั้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาตรา 79 ทวิ (1) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายและสินค้าเหล่านั้นมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ถือว่าเป็นการขายสินค้า สมุดเช็คที่โจทก์สั่งเข้ามามีราคาถึงสามแสนบาทเศษ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้ตามปกติและตามสมควร โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าสมุดเช็คซึ่งตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 3) ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้าในวันนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อคำนวณมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับในการที่จะประเมินภาษีการค้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสมุดเช็คซึ่งคำนวณได้ดังกล่าวในประเภทการค้า 1 การขายของ รายการที่ประกอบการค้าการขายสินค้าชนิด 1 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าสมุดเช็ค: การนำเข้าเพื่อใช้ในกิจการธนาคาร ถือเป็นการขายสินค้าต้องเสียภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทธนาคาร ได้สั่งสมุดเช็คจากประเทศอังกฤษเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ โดยมอบให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์ใช้สั่งจ่ายเงิน สมุดเช็คนั้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาตรา 79 ทวิ(1) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายและสินค้าเหล่านั้นมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ถือว่าเป็นการขายสินค้า สมุดเช็คที่โจทก์สั่งเข้ามามีราคาถึงสามแสนบาทเศษ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้ตามปกติและตามสมควร โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าสมุดเช็ค ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 3) ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้าในวันนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อคำนวณมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับในการที่จะประเมินภาษีการค้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสมุดเช็คซึ่งคำนวณได้ดังกล่าวในประเภทการค้า 1 การขายของ รายการที่ประกอบการค้า การขายสินค้าชนิด 1(ก)
of 30