คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีโรงเรือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องชำระภาษีค้างจ่ายก่อนฟ้องคดี
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้ามีผู้ยื่นฟ้องต่อศาลตามความในมาตรา 31 ท่านห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ เพราะเวลาซึ่งท่านให้ไว้ตาม มาตรา 38 นั้น ได้สิ้นไปแล้ว หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินทั้งสิ้นก่อนโจทก์ฟ้องคดีหรือจะสิ้นสุดในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล คดีนี้แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ผ่อนชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินพิพาทเป็น 3 งวด และโจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกำหนด โดยผ่อนชำระก่อนฟ้อง 2 งวด แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนที่จะผ่อนชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินงวดที่ 3 อันเป็นงวดสุดท้ายก็ยังถือเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องก่อนชำระค่าภาษีทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีดังกล่าวทั้งสิ้น แต่เพิ่งมาชำระหลังจากได้ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางจะรับฟังไว้พิจารณามิได้ บทบัญญัติ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 39 เป็นบทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้จะฟ้องคดี ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นชี้ขาดคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, ค่าเช่าค้างชำระ, การบอกเลิกสัญญา, การขับไล่, ค่าภาษีโรงเรือน, การรับผิดร่วมกัน
สัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนให้แก่ทางราชการแทนโจทก์ ซึ่งกำหนดให้ชำระทุกปีตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีดังกล่าวตามกำหนดย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญาของโจทก์ โดยหาจำต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีในส่วนดังกล่าวให้แก่ทางราชการก่อนนำคดีมาฟ้องหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดค่าภาษีโรงเรือนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเป็นไปตามรายการที่แจ้งประเมินและขอบเขตที่ผู้เสียภาษีร้องขอให้พิจารณาใหม่
จำเลยมีใบแจ้งรายการประเมิน ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 มีข้อความสรุปได้ว่า ด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควร กำหนดค่ารายปีและค่าภาษีที่พึงชำระสำหรับทรัพย์สินของโจทก์รวม 5 รายการ แต่ไม่ปรากฏการกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีสำหรับทรัพย์สินซึ่งเป็นกองพัสดุและพื้นที่ต่อเนื่อง ดังนั้น กองพัสดุและพื้นที่ต่อเนื่องจึงมิใช่รายการหรือประเภทแห่งทรัพย์สินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับการประเมินจะต้องพึงชำระค่าภาษีตามการประเมินของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เฉพาะ 5 รายการตามใบแจ้งรายการประเมิน แต่ใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยกลับมีรายการเพิ่มเติมโดยประเมินค่ารายปีและค่าภาษีของกองพัสดุกับพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งนอกเหนือจากใบแจ้งรายการประเมินของจำเลย และนอกเหนือจากรายการที่โจทก์ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ดังนั้น ใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับกองพัสดุและพื้นที่ต่อเนื่องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8699/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีค้างชำระและเจ้าของใหม่มีหน้าที่รับผิดร่วมกันตามกฎหมาย
โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยมิได้ใช้อำนาจ ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง และพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 115 วรรคสอง ก่อนที่โรงเรือนพิพาทจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด และเมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เจ้าของคนใหม่แล้ว แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย ย่อมถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์การประเมินภาษีโรงเรือนเกินห้าหมื่นบาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาโดยนำสถานีบริการน้ำมันพิพาทไปเทียบเคียงกับสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ช. และนำดัชนีราคาผู้บริโภคมาปรับอัตราค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนพิพาทเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดค่ารายปีของศาลภาษีอากรกลางถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทจำนวน 41,619.17 บาท ซึ่งไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สนามกอล์ฟปรับปรุงพื้นที่ถือเป็นทรัพย์สินต้องเสียภาษี
แม้คณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จะมีมติยืน ตามการประเมิน โดยวินิจฉัยว่าสนามกอล์ฟพิพาทเป็นโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นแตกต่างจากการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินว่า สนามกอล์ฟพิพาทเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น แต่ก็เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันว่าสนามกอล์ฟเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือไม่ประกอบกับคณะกรรมการฯ มีมติตามการประเมิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในรายการอื่น คณะกรรมการฯ ย่อมมีอำนาจกระทำได้
แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 จะมิได้กำหนดความหมายของสิ่งปลูกสร้างไว้โดยเฉพาะ แต่ลักษณะสภาพของสะพาน ซุ้มต่างๆ และสิ่งต่างๆ ที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นในบริเวณสนามกอล์ฟล้วนก่อสร้างขึ้นมาในพื้นที่สนามกอล์ฟทั้งสิ้นถือได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง ส่วนพื้นที่สนามกอล์ฟที่เหลือนอกจากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นสนามหญ้า บ่อน้ำ สระน้ำ ทะลสาบ บ่อทราย พื้นที่ปลูกต้นไม้ หรือพื้นที่ว่างเปล่าอื่นๆ นั้น ไม่มีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จึงเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างตามมาตรา 6 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 สนามกอล์ฟพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องเป็นผู้ฟ้องเอง ผู้เช่าชำระแทนไม่มีอำนาจ
หากผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ด้วยตนเองหรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรตามมาตรา 25 และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์กลับไม่ปรากฏว่าผู้รับประเมินได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ผู้เช่าอาคารและชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่กรณีย่อมต้องถือว่าจำนวนค่ารายปีและค่าภาษียุติตามการประเมินแล้วเมื่อผู้รับประเมินมิได้มีการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ผู้รับประเมินจึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ไปด้วย
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์โดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไว้เป็นการไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมายเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าอาคารราชพัสดุและชำระค่าภาษีแทนกรมธนารักษ์ตามสัญญาเช่าที่กรมธนารักษ์ทำกับโจทก์ โจทก์ไม่ใช่ผู้รับการประเมินย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่ารายปีเครื่องจักรเพื่อคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นเกณฑ์
การกำหนดค่ารายปีสำหรับเครื่องจักรของโจทก์นั้นเป็นกรณีหาค่าเช่าไม่ได้ และเทียบเคียงไม่ได้เพราะในเขตบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่มีลักษณะใกล้เคียงกับทรัพย์สินของโจทก์ตั้งอยู่ การกำหนดค่ารายปีจึงต้องคำนวณจากมูลค่าเครื่องจักรของโจทก์เป็นฐาน เมื่อคดีนี้โจทก์จำเลยไม่ได้นำสืบข้อมูลอื่นที่มีนัยสำคัญในการพิจารณาหาค่ารายปีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่นำสืบรับกันว่าใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากคูณมูลค่าเครื่องจักรในการกำหนดค่ารายปี การใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากคูณมูลค่าเครื่องจักรจึงมีความเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งเป็นสิ่งเดียวในคดีนี้ที่จะใช้วัดสภาวะเศรษฐกิจ แต่ที่จำเลยที่ 1 เห็นควรใช้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลช่วยชาติ 10 ปี ร้อยละ 6.1 ต่อปี เป็นอัตราที่สูงไป ส่วนที่โจทก์เห็นควรใช้ร้อยละ 1.25 ต่อปี ซึ่งเป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วกับดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุดเป็นอัตราที่ต่ำไป เพราะการกำหนดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เป็นเพียงการกำหนดค่ารายปีเบื้องต้นเท่านั้น แต่ค่ารายปีอาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่การที่ศาลภาษีเห็นสมควรใช้ร้อยละ 4.125 ต่อปี ตามที่คณะกรรมการโจทก์ยอมรับเป็นอัตราที่ต่ำไป อย่างไรก็ดีระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการประเมินค่ารายปีของโจทก์มีมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบกรณีเทศบาลตำบลปลายบาง (อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี) ประเมินค่ารายปีเครื่องจักรของการประปานครหลวงที่ติดตั้ง ณ โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 5 ต่อปี ประกอบกับโจทก์ก็เคยยอมรับให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอัตราร้อยละ 4.125 ต่อปี แสดงให้เห็นว่า โจทก์ทราบดีว่าอัตราดังกล่าวใกล้เคียงกับการหาประโยชน์จากทรัพย์สินของโจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงเห็นสมควรนำอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่ารายปีเนื่องจากเป็นอัตราที่มีการอ้างอิงและปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยที่ 1 และมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าเป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับการที่จะนำทรัพย์สินออกให้เช่าได้จริงยิ่งกว่าหลักเกณฑ์ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง
คำให้การของจำเลยทั้งแปดไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้หยุดใช้งานเครื่องจักร เพียงแต่ปฏิเสธว่าหยุดใช้งานไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 ถือว่ายอมรับตามฟ้องว่าเครื่องจักรหยุดใช้งานปีภาษีพิพาทจริง แม้ศาลภาษีจะวินิจฉัยว่า โจทก์เปลี่ยนเครื่องจักรจากการบรรจุขวดมาเป็นล้างขวด ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ข้ออื่นไม่ต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิในการโต้แย้ง และผลของการไม่ยื่นคำร้องตามแบบ
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองต้องระบุระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ด้วยและในวรรคสองบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนโดยมิได้ระบุระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งไว้ ให้ขยายระยะเวลาเป็นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง บทบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นการให้สิทธิแก่ผู้รับประเมิน โดยขยายระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เป็นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนั้น แม้โจทก์มิได้แจ้งสิทธิในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ก็ไม่ทำให้การประเมินนั้นไม่ชอบ
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 กำหนดว่า ผู้รับประเมินผู้ใดไม่พอใจในการประเมิน อาจยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล เพื่อขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ และตามมาตรา 26 กำหนดไว้ว่า คำร้องให้เขียนในแบบพิมพ์ซึ่งกรมการอำเภอจ่ายและผู้รับการประเมินต้องลงนาม แบบพิมพ์ดังกล่าวเป็นแบบของทางราชการทำขึ้น คือแบบ ภ.ร.ด.9 ดังนั้น การโต้แย้งคัดค้านจะต้องทำเป็นหนังสือ โดยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามแบบ ภ.ร.ด.9 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่ได้รับแจ้งการประเมินจำนวนภาษีที่ประเมินไว้จึงเป็นจำนวนเด็ดขาดตามมาตรา 27
of 29