คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยักยอกทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งจากการยักยอกทรัพย์: การสะดุดหยุด และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปจะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงานเก็บเงิน แม้ได้รับมอบหมายหน้าที่จากผู้บังคับบัญชา
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินรายได้ต่าง ๆ ของเทศบาลรวมทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยได้เก็บหรือรับเงินจากผู้นำมาชำระ จึงเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานเก็บเงิน เมื่อยักยอกเงินซึ่งได้รับมอบหมายไว้ตามหน้าที่ ย่อมมีความผิดตามมตรา 147
นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งปลัดเทศบาลเป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่" สมุหบัญชีเป็น "พนักงานเก็บภาษี" มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บ เร่งรัด ค่าภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แต่ปลัดเทศบาลและสมุหบัญชีมิได้ทำหน้าที่ด้วยตนเอง จำเลยได้รับมอบหมายไปปฏิบัติผู้เดียว ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บเงินภาษี จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเก็บเงินซึ่งมีสมุหบัญชีเป็นหัวหน้า ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เมื่อเบียดบังยักยอก จะอ้างว่าไม่ได้ทำในหน้าที่ หรือไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ย่อมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์: การมอบหมายหน้าที่เก็บภาษีและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินรายได้ต่างๆ ของเทศบาลรวมทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยได้เก็บหรือรับเงินจากผู้นำมาชำระ จึงเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานเก็บเงิน เมื่อยักยอกเงินซึ่งได้รับมอบหมายไว้ตามหน้าที่ ย่อมมีความผิดตามมาตรา 147
นายกเทศมนตรีได้แต่งตั้งปลัดเทศบาลเป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่สมุหบัญชีเป็น "พนักงานเก็บภาษี" มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บเร่งรัด ค่าภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แต่ปลัดเทศบาลและสมุหบัญชีมิได้ทำหน้าที่ด้วยตนเองจำเลยได้รับมอบหมายไปปฏิบัติผู้เดียว ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บเงินภาษี จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเก็บเงินซึ่งมีสมุหบัญชีเป็นหัวหน้า ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เมื่อเบียดบังยักยอกจะอ้างว่าไม่ได้ทำในหน้าที่ หรือไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ย่อมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในเรือโดยสาร: การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์จากการยักยอกทรัพย์ และประเด็นสถานที่เกิดเหตุ
ผู้เสียหายฝากกระเป๋าถือแก่จำเลยเพื่อเข้าห้องส้วม ขณะผู้เสียหายเข้าห้องส้วม จำเลยได้เปิดกระเป๋าถือเอาสร้อยกับธนบัตรของผู้เสียหายไป เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งกำลังโดยสารอยู่ในเรือประจำทาง เหตุเกิดที่ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางพิจารณาไม่แน่ว่าขณะเกิดเหตุเรือแล่นอยู่ในเขตตำบลปากพนังตามฟ้องหรือแล่นเข้าไปในในเขตตำบลหูล่องกับตำบลบ้านเกิง ซึ่งติดต่อกันแล้ว คงได้ความเพียงว่า เหตุเกิดในเรือโดยสารซึ่งเดินจากอำเภอปากพนังไปอำเภอหัวไทย ดังนี้ ยังไม่พอถือเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องจนถึงขนาดจะยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ vs. ยักยอกทรัพย์: การฝากกระเป๋าถือชั่วคราวไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
ผู้เสียหายฝากกระเป๋าถือแก่จำเลยเพื่อเข้าห้องส้วม ขณะผู้เสียหายเข้าห้องส้วมจำเลยได้เปิดกระเป๋าถือเอาสร้อยกับธนบัตรของผู้เสียหายไปเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งกำลังโดยสารอยู่ในเรือประจำทางเหตุเกิดที่ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางพิจารณาไม่แน่ว่าขณะเกิดเหตุเรือแล่นอยู่ในเขตตำบลปากพนังตามฟ้องหรือแล่นเข้าไปในเขตตำบลหูล่องกับตำบลบ้านเกิงซึ่งติดต่อกันแล้วคงได้ความเพียงว่า เหตุเกิดในเรือโดยสารซึ่งเดินจากอำเภอปากพนังไปอำเภอหัวไทรดังนี้ ยังไม่พอถือเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องจนถึงขนาดจะยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: การยอมรับเงินค่าทรัพย์สินผัดชำระ ไม่ถือเป็นการยักยอก
จำเลยรับฝากยาเส้นไว้จากผู้เสียหายแล้วเอาไปขาย แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตยักยอกเอาเงินค่ายาเส้นไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว มิได้ฟ้องว่ายักยอกยาเส้น เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า ผู้เสียหายได้ยอมตกลงรับเงินค่ายาเส้นจากจำเลย และยังยอมให้จำเลยผัดชำระเงินด้วยดังนี้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปฟ้องร้องกันในทางแพ่งการที่จำเลยยังไม่มีเงินค่ายาเส้นชำระให้ ไม่เป็นผิดทางอาญาฐานยักยอกดังฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของเสมียนตราอำเภอที่ไม่ได้รับมอบหมายหน้าที่จำหน่ายพระเครื่อง ไม่ถือเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ แต่เป็นยักยอกทรัพย์ธรรมดา และการปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยเป็นเสมียนตราอำเภอ มิได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากนายอำเภอผู้รับผิดชอบในการจำหน่ายพระเครื่องในงานฉลอง25 พุทธศตวรรษ ให้จำเลยมีหน้าที่จำหน่ายหรือรักษาเงินจำหน่ายพระเครื่อง หากจำเลยยักยอกเงินที่จำเลยจำหน่ายพระเครื่องได้ไป การกระทำของจำเลยก็มิใช่เจ้าพนักงานกระทำผิดในตำแหน่งหน้าที่ราชการ จำเลยคงมีความผิดฐานยักยอกธรรมดา ตามมาตรา 352
การที่จำเลยแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินที่จำเลยทำขึ้นไว้เป็นส่วนตัวเพื่อแสดงทางได้เงินจากการจำหน่ายพระเครื่องซึ่งจำเลยจำหน่ายไป โดยจำเลยมิได้ออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้มีชื่อในต้นขั้วด้วยนั้น ไม่เป็นการปลอมเอกสาร แต่ถ้าหากจำเลยออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ซื้อไป แล้วแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินให้น้อยลง การกระทำของจำเลยก็เป็นการแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ทำให้เกิดเสียหายแก่ผู้ซื้อ จำเลยจึงมีผิดฐานปลอมเอกสารตาม มาตรา 264
เอกสารราชการ จะต้องเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) บันทึกที่จำเลยเขียนขึ้นไว้ทั้งฉบับและทำขึ้นไว้เป็นส่วนตัว โดยจำเลยมีได้มีหน้าที่ราชการนั้น จึงมิใช่เอกสารราชการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินที่ให้เป็นประกันเงินกู้ ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หรือทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์โดยเอาที่ดินเป็นประกันเงินกู้ ต่อมาจำเลยเอาที่ดินแปลงนี้ไปจำนองเสีย การกระทำของจำเลยดังนี้ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 349 และ 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82-86/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่คุรุสภาไม่ใช่ข้าราชการ การยักยอกเงินจึงไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน
เจ้าหน้าที่ของคุรุสภาไม่ใช่ข้าราชการ แม้ยักยอกเงินในหน้าที่ก็ไม่ใช่กระทำผิดในฐานะเจ้าพนักงาน เงินของคุรุสภาไม่ใช่เงินงบประมาณของแผ่นดิน แม้จำเลยจะเป็นข้าราชการ แต่เมื่อเงินที่ยักยอกไม่ใช่เงินของราชการหรืออยู่ในความรักษาของราชการ จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151 ไม่ได้ และแม้จำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 แต่ขอให้ลงโทษตามมาตรา 147,151 ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 352 ได้
ฟ้องบรรยายว่าผู้เสียหายร้องทุกข์แล้ว จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพพร้อมด้วยคำแถลงซึ่งระบุว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ แสดงว่ารับสารภาพตลอดถึงเรื่องร้องทุกข์ด้วย
คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายจะพอใจตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยได้รับมอบหมายให้ไปรับเงินของคุรุสภาจากธนาคารออมสินเพื่อจ่ายให้แก่นางสำรวย จำเลยรับเงินแล้วยักยอกเสีย เงินก็ยังเป็นของคุรุสภาอยู่ นางสำรวยไม่ใช่ผู้เสียหายไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ให้คดีระงับไป
เจ้าหน้าที่ของผู้เสียหายมีหนังสือถึงจำเลยความว่าเงินที่จำเลยยักยอกไปนั้นทางคุรุสภาประจำจังหวัดได้รับคืนจากจำเลยแล้ว ไม่ประสงค์จะให้จำเลยได้รับโทษทางอาญาต่อไป ดังนี้ ไม่ใช่การถอนคำร้องทุกข์หรือการยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทางราชการ ปลอมเอกสาร และการรับผิดของเจ้าพนักงาน
(1) เมื่อโจทก์บรรยายว่า จำเลยเป็นเสมียนตรามีหน้าที่จัดทำ รักษา และรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการเบิกจ่ายเงิน และมีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินไป มีรายการต่าง ๆ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าเงินนั้นอยู่ในความรับผิดของจำเลย ทั้งระบุวันเวลาทำผิดแต่ละรายการไว้ด้วย นั้น ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนที่ว่าจำเลยรับมาจากใคร ที่ไหน เมื่อใด เป็นรายละเอียดไม่ต้องกล่าวไว้
(2) เมื่อเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายว่ารู้การกระทำของจำเลยเมื่อใด
(3) เมื่อพยานโจทก์และจำเลยเบิกความตรงกันว่า เสมียนตรามีหน้าที่ทำบัญชีเงิน รับเงินและจ่ายเงินของแผนกมหาดไทย แม้นายอำเภอจะสั่งให้คนอื่นเป็นหัวหน้าแต่ก็เพื่อช่วยคอยสอดส่องควบคุมอีกชั้นหนึ่งโดยมิได้ให้จำเลยพ้นจากหน้าที่เสมียนตราไป เช่นนี้ จำเลยก็ต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ฯลฯ ที่แก้ไขแล้ว
(4) บัญชีเงินต่าง ๆ ของทรงราชการกระทรวงมหาดไทย เช่น แบบ 2 บัญชีรายรับจ่ายเงินเบ็ดเตล็ด และแบบ 7 บัญชีเงินการจร มีช่องที่ผู้รับเงินจะต้องลงชื่อ เมื่อลงแล้วและรับเงินไปแล้ว ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการระงับไปซึ่งสิทธิ ทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากทางราชการอีก ซึ่งตรงตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) จึงเป็นเอกสารสิทธิทางราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266
(5) ผู้ไม่มีสิทธิ แต่ได้ลงชื่อของผู้มีสิทธิในช่องบัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามแบบ 2,แบบ 7 ย่อมเป็นการปลอมหนังสือ และเป็นข้อสาระสำคัญแห่งคดี.
of 55