พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6030/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ แม้มีข้อความอ้างอิงหนี้เดิม ย่อมไม่จำกัดความรับผิดเฉพาะวงเงินค้ำประกัน
แม้ข้อความตอนต้นในหนังสือแสดงเจตนาชำระหนี้แทน ก. จะกล่าวเท้าความถึงหนี้ของ ก. ที่โจทก์ค้ำประกันว่า เป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน แต่ตอนต่อมาโจทก์ได้ตกลงยินยอมชำระหนี้ที่ ก.มีต่อจำเลยที่ 1 ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังยินยอมให้จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนพันธบัตรที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้นำเงินมาชำระหนี้ของ ก. ทั้งหมด โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขความรับผิดไว้ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ทราบแล้วว่าขณะนั้น ก. เป็นหนี้จำเลยที่ 1 เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ประสงค์จะชำระหนี้ของ ก. ที่มีต่อจำเลยที่ 1 โดยสิ้นเชิง หาใช่ยอมรับผิดเพียงไม่เกินวงเงินตามสัญญาค้ำประกันไม่
แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะเบิกความว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือแสดงเจตนาชำระหนี้แทน ก. โดยสำคัญผิด แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี เป็นเรื่องนอกประเด็น ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขี้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะเบิกความว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือแสดงเจตนาชำระหนี้แทน ก. โดยสำคัญผิด แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี เป็นเรื่องนอกประเด็น ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขี้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้เดิม การใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา
อ. ทำสัญญาโอนสิทธิในการรับเงินค่าจ้างที่จะได้รับจากจำเลยตามสัญญาจ้างให้โจทก์ โดย อ. มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยและจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์ให้ความยินยอม การโอนหนี้ดังกล่าวจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306วรรคหนึ่ง และคู่กรณีย่อมเกิดสิทธิและหน้าที่ผูกพันกัน โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องเรียก อ. ผู้โอนเข้าเป็นคู่ความร่วม และกรณีเช่นนี้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างที่มีต่อ อ.ผู้โอนขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างของ อ. ผู้โอนขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เช่นเดียวกัน โจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน อ. ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างที่ อ. มีต่อจำเลยขึ้นต่อสู้จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 คณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยและได้ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานตามสัญญาจ้าง อ. หยุดงานก็เพราะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยสั่ง และเหตุที่สั่งก็เพราะราษฎรเริ่มทำนา ฝนตกเกิดอุทกภัยให้ระงับการก่อสร้างไว้จนกว่าชาวนาจะเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ และต่อมาได้แจ้งให้ อ. เข้าดำเนินการก่อสร้างต่อไปแล้ว ดังนั้นการหยุดงานดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดของ อ. ทั้งจำเลยเองก็ได้เสนอความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาให้แก่ อ. และขออนุมัติต่อสัญญาไปยังปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่า อ. เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ ปัญหาว่าคณะกรรมการตรวจการจ้างมีคำสั่งไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการก็ดี เมื่อสั่งให้หยุดงานแล้วไม่รายงานให้จำเลยทราบก็ดี เป็นเรื่องระหว่างคณะกรรมการตรวจการจ้างกับจำเลย จะยกขึ้นยัน อ. เจ้าหนี้หรือโจทก์ผู้รับโอนหนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องพิจารณาเหตุผลลูกหนี้มีมูล และไม่ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก็ต่อเมื่อพิจารณาได้ความว่า ข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้ประการหนึ่งและถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกประการหนึ่ง ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษาค่อนข้างเลื่อนลอยที่จะรับฟังก็ชอบที่จะไม่สั่งให้งดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินส่วนตัวและสินสมรสของลูกหนี้: กรณีจำเลยที่ 2 ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นสามีโจทก์ได้สมยอมแกล้งเป็นหนี้จำเลยที่ 2 พี่สาว และสมยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมยึดทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ หรือให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และให้ถอนการยึดทรัพย์ทั้งหมดที่จำเลยที่ 2 ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้แล้ว ตามคำฟ้องดังกล่าว การยอมความของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องของบุคคลทั้งสองไม่มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 เลยเพราะการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ต่อจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 คงยึดได้เฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา1488 จะยึดสินสมรสส่วนของโจทก์ไม่ได้ ถ้านำยึดโจทก์ก็ขอกันสินสมรสส่วนของตนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 1ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1488 ดังกล่าวเช่นนี้ โจทก์จะฟ้องขอห้ามมิให้จำเลยที่ 2ยึดสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ เพราะจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินส่วนของจำเลยที่ 1 ได้ และที่โจทก์ขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 นำยึดไว้นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามคำ-พิพากษา จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์ไม่มีอำนาจใดที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถอนการยึดทรัพย์ได้ การที่จำเลยที่ 2 นำยึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีส่งมอบของทำของ พิจารณาจากลักษณะงานที่ทำเพื่ออุตสาหกรรมของลูกหนี้หรือไม่
คำว่า "อุตสาหกรรม" หมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของนั้นขึ้นเพื่อให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่าย การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้เป็นซองเพื่อบรรจุสินค้าเกลืออีเล็คโคสของจำเลยมิใช่เป็นการผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้จำเลยนำไปผลิตเป็นสินค้าแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายจำเลย แต่เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าได้เรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ ทำของจากจำเลย จึงอยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้และการงดขายทอดตลาด: ศาลพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้รายปีของลูกหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินร่วม5,000,000 บาท แม้จำเลยอาจมีรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมค้าขายพืชผลเดือนละประมาณ 100,000 บาท มาชำระหนี้โจทก์จริงโดยไม่คลาดเคลื่อนก็ตาม แต่กว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นก็เป็นเวลาประมาณ 4 ปี อีกทั้งโจทก์ก็ไม่ยินยอมด้วย ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้นำสืบหักล้างก็ตามก็ถือไม่ได้ว่ารายได้ประจำปีของจำเลยอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองต้องฟ้องผู้รับโอนทรัพย์สิน ผู้รับโอนไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิยึด
ผู้ร้องเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ การที่โจทก์เพียงแต่บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 โดยมิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยนั้น จึงไม่ใช่เป็นการบังคับจำนองที่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 728 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินของผู้ร้องได้ เพราะการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 278 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าทรัพย์ที่จะบังคับคดีเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์รับว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเช่นนี้ จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทที่ยึดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนองต่อผู้รับโอนทรัพย์สินก่อนฟ้องคดี การบังคับคดีต้องเป็นไปตามกฎหมายและยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้การที่โจทก์เพียงแต่บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 โดยมิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยนั้น จึงไม่ใช่เป็นการบังคับจำนองที่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินของผู้ร้องได้ เพราะการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าทรัพย์ที่จะบังคับคดีเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อโจทก์รับว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเช่นนี้ จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทที่ยึดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์: เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์ว่าเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นไม่ได้ในขณะยื่นคำร้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ศาลจะอนุญาตให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นผู้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นนั้นไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงจากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ในขณะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายังมีทรัพย์สินอย่างอื่นอยู่อีกถึง 40 ล้านบาทเศษ แม้ต่อมาภายหลังจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยได้ส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปหมดแล้วก็ตาม กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าในขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์นั้น ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงจากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้: ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ ณ ขณะยื่นคำร้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ศาลจะอนุญาตให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้ผู้นั้นไม่อาจเอาชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงจากทรัพย์สินอื่น ๆของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยจะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ในขณะที่ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาในคดี จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายังมีทรัพย์สินอย่างอื่นตามรายการทรัพย์เอกสารหมาย ร.2ถึง 40 ล้านบาท แม้ต่อมาภายหลังจากยื่นคำร้องแล้ว 1 เดือน จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่า ในขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์นั้น ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระได้โดยสิ้นเชิงจากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา