คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9752/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอปล่อยตัวจากการคุมขังผิดกฎหมายสิ้นสุดเมื่อมีการฟ้องคดีและจำเลยถูกขังตามหมายขังของศาล
สิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไวัโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ตามคำร้องอ้างเหตุการควบคุม พ. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ในชั้นฝากขัง พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝากขัง พ. ต่อศาล แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ. เป็นจำเลยและจำเลยถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาของศาลแล้ว ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องที่ว่า การควบคุม พ. ในชั้นสอบสวน ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยต่อไป ทั้งประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นข้อต่อสู้ของ พ. ที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นรับฟังพยานหลักฐานของศาล ฎีกาของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9738/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและข้อยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 โดยการเก็บเอกสารคืนจากศาลไว้เกิน 2-3 วัน
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นโจทก์ในคดีได้รับเอกสารที่สูญหายไปจากสำนวนความของศาลคืนมาแล้ว ยังคงเก็บเอกสารดังกล่าวไว้อีก 2 ถึง 3 วัน โดยไม่นำมาส่งคืนศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเช่นนี้มิใช่เป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ จึงมิใช่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นอันจะทำให้ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้ และเริ่มนับใหม่เมื่อศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในคดีดังกล่าวยอมรับว่าที่ดินพิพาทที่นำยึดเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยและขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลย ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั้นแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตาม มาตรา193/15 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย วันที่ 18 กรกฎาคม 2539 เป็นเหตุที่ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดในวันดังกล่าวตาม มาตรา 193/15 จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2539โจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ วันที่ 4 กันยายน 2539 ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9710/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและขอบเขตคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ป. เป็นจำเลยที่ 2 ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น ต่อมาคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ซึ่งคดีที่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ต้องเป็นกรณีที่มีคู่ความเดียวกันหรือเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความคนก่อนรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ผลของคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นพิพาทในคดีนี้ที่เป็นประเด็นเดียวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ย่อมเป็นที่สุด คงเหลือประเด็นพิพาทข้ออื่น ๆ ซึ่ง คู่ความจะต้องนำสืบพยานหลักฐานให้จบสิ้นกระแสความเสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวด้วยการสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่โดยศาล การไม่เปิดโอกาสสืบพยาน และผลกระทบต่อการวินิจฉัย
ตามคำฟ้องและคำให้การคดีมีประเด็นข้อพิพาทอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยแกล้งบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน ฟ้องขับไล่โจทก์และเบิกความเท็จในคดีหมายเลขดำที่ 20091/2531 ต่อศาลแพ่งหรือไม่ แต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ โดยโจทก์และจำเลยต่างไม่คัดค้าน ถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สละประเด็นข้อพิพาทนี้แล้ว และโจทก์ไม่จำเป็นต้องนำสืบพยานในประเด็นข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นมากำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นมาใหม่ในวันนัดฟังคำพิพากษาและได้เลื่อนไปอ่านคำพิพากษาไปโดยไม่ได้ให้โจทก์นำสืบพยานในประเด็นดังกล่าว แล้วนำประเด็นนี้มา วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานมานำสืบย่อมไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนด และผลกระทบต่อการนำสืบพยานในคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถานไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นไม่ว่าข้อเท็จจริงจะได้ความว่าทนายโจทก์ติดว่าความจริงจนไม่อาจมาศาลได้ก็ตามก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการชี้สองสถานออกไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการชี้สองสถาน จึงชอบแล้ว
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ จำเลยไม่ติดใจสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเพราะไม่มีพยานมาสืบ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากไม่ได้เสนอข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
โจทก์และจำเลยพิพาทกันตามสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการโรงแรมภายใต้ชื่อธานี โดยมีข้อสัญญาว่า หากมีข้อโต้แย้งใด ๆ เกิดขึ้นจากการตีความหรือเกี่ยวกับหน้าที่หรือความรับผิดชอบตามสัญญานี้ คู่สัญญาจะพยายามทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาระหว่างกันเองก่อน หากยังไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเป็นเงื่อนไขของสัญญาให้ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ดังนี้ หากคู่สัญญาฝ่ายใดฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มี คำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ได้ และข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการนี้ย่อมผูกพันโจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญา นั้นด้วยตามมาตรา 8
โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้นำข้อโต้แย้งเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดก่อนเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขของข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การที่จำเลยยื่นคำให้การโต้แย้งว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน ถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ทั้งในวันชี้สองสถานศาลก็ได้ สอบถามคู่ความเกี่ยวกับเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ อันถือได้ว่า เป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ หากคู่กรณีตกลงกันได้ ย่อมทำให้ข้อพิพาทหมดสิ้นไป แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้และไม่ตกลงกับโจทก์ย่อมเป็นกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งโจทก์ จะต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนทั้งเมื่อโจทก์ฟ้องคดี จำเลยก็ให้การยืนยันให้ใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการอยู่ ส่วนที่จำเลย ฟ้องแย้งก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ทำให้เกิดความจำเป็นที่ หากจำเลยจะฟ้องแย้งก็ต้องยื่นเข้ามาในคำให้การ เพื่อรักษาสิทธิของจำเลยเสียก่อนเท่านั้นเพราะขณะยื่นคำให้การและฟ้องแย้งยังไม่แน่ว่า ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สละเงื่อนไข ตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อสัญญา ที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ศาลจึงต้องมีคำสั่ง จำหน่ายคดี ซึ่งย่อมมีผลให้ไม่มีคดีตามคำฟ้องของโจทก์ให้ต้อง พิจารณาต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สูงเกินไป ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินมีการกำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้ 2 กรณี กรณีแรกผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่ผู้กู้ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญา แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ เพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น กรณีที่สอง ผู้กู้ตกลงว่าหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ กรณีของโจทก์เป็นการเรียกดอกเบี้ยสูงขึ้นจากเดิมเพราะจำเลยผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา โดยโจทก์มิต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่การปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีนี้มีลักษณะเป็นทำนองเบี้ยปรับ เนื่องจากเป็นทำนองค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการจ่ายเงินวางศาลคืนให้ผู้ฟ้อง เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากถอนฟ้อง ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 วรรคสาม ศาลจะมีอำนาจจ่ายเงินที่ผู้นำคดีไปสู่ศาลวางไว้ต่อศาลให้แก่สำนักงานประกันสังคม เพื่อให้สำนักงาน ฯ จ่ายเงินทดแทนดังกล่าวแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้นำคดีไปสู่ศาลจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 เท่านั้น แต่กรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานจึงไม่มีอำนาจจ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลแก่สำนักงาน ฯ เพื่อให้สำนักงาน ฯ จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างต่อไปได้ ชอบที่จะคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจ่ายเงินทดแทนเมื่อถอนฟ้อง: ศาลไม่มีอำนาจจ่ายเงินให้ลูกจ้าง ต้องคืนให้ผู้วางเงิน
ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 53 วรรคสามศาลจะมีอำนาจจ่ายเงินที่ผู้นำคดีไปสู่ศาลวางไว้ต่อศาลให้แก่สำนักงานเพื่อให้สำนักงานจ่ายเงินทดแทนดังกล่าวแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้นำคดีไปสู่ศาลจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 เท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจจ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลแก่สำนักงานเพื่อให้สำนักงานจ่ายให้แก่ ช. ลูกจ้างต่อไปได้ ชอบที่จะคืนให้โจทก์
of 364