พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องหลังสัญญาซื้อขายแม้สัญญาจะโมฆะ ศาลพิพากษาให้โอนได้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่แรกและต่อมาได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของที่ดินพิพาทระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ได้ขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่ปี 2532 และในปี 2534 ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องอีกครั้งหนึ่ง โดยตกลงจะมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอน 5 ปี แม้หนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวในครั้งหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ได้ความว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแม้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วและผู้ร้องได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้โอนที่ดินพิพาทดังกล่าว ศาลแขวงสุรินทร์ก็พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง คดีถึงที่สุดแล้วผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6313/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดสัญญาเช่า: จำเลยผูกพันแม้ไม่ใช่เจ้าของห้อง, ศาลพิพากษายืนตามสัญญา
แม้จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้เป็นผู้ให้เช่าห้องพิพาท มิได้รับเงินจากโจทก์การกระทำของ ม. เป็นการเรียกร้องแทนเจ้าของห้องในฐานะนายหน้า จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยคำให้การของจำเลยมิได้ตั้งประเด็นเรื่องค่าเช่าว่า โจทก์จะต้องชำระค่าเช่าห้องให้แก่จำเลยในฐานะคู่สัญญาฝ่ายผู้ให้เช่าแทนเจ้าของห้องก็ตาม แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธความรับผิดตามคำฟ้องของโจทก์อย่างสิ้นเชิง การที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่า ม. เป็นตัวแทนของจำเลยหรือเป็นนายหน้าของเจ้าของห้องในการนำห้องดังกล่าวออกให้โจทก์เช่าโดยมีประเด็นข้อพิพาทที่ต่อเนื่องว่าจำเลยจะต้องคืนเงินจำนวนตามที่ฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด และการที่ศาลทั้งสองวินิจฉัยว่า ม. เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยในการนำห้องออกให้โจทก์เช่า ถือได้ว่าโจทก์ได้เช่าห้องดังกล่าวจากจำเลยเพราะผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของห้องที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยมีวัตถุประสงค์ให้เจ้าของร่วมนำห้องที่จะให้เช่ามามอบให้จำเลยเป็นผู้บริหารจัดการเองเพื่อประโยชน์ต่อเจ้าของรวมทุกคน จำเลยจึงต้องผูกพันกับการเช่าห้องดังกล่าวด้วย เมื่อโจทก์ขอคืนเงินในการเช่าห้องโดยไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีการผิดสัญญาและขอให้สิทธิเลิกสัญญาแก่กัน จึงถือได้ว่า ม. ในฐานะตัวแทนของจำเลยยอมให้โจทก์ส่งมอบห้องคืนเช่นนี้แล้ว ย่อมมีผลให้การเช่าห้องเป็นอันเลิกกันและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าเช่าในระยะเวลาที่โจทก์อยู่ในห้องเช่าดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่อยู่ในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขัดกับข้อเท็จจริงในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: ศาลพิพากษาเกินคำขอ จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษตามเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกอีกคนหนึ่งร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นตำรวจเพราะโกรธแค้นที่ทำหน้าที่จับกุมพวกของจำเลยในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ รวมทั้งผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แจ้งให้จับกุม นอกจากนั้นยังบรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าจำเลยกับพวกกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ครบตามองค์ประกอบความผิด ป.วิ.อ. มาตรา 289 และทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 289 ศาลก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรา 289 ไม่ได้ เพราะโทษตาม ป.อ. มาตรา 289 สูงกว่าโทษตามมาตรา 288 จึงเป็นการเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดดูหมิ่น + อำนาจศาลพิพากษาจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตาม ป.อ. มาตรา 393 ขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 แม้ความผิดฐานดังกล่าวจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มรตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาได้เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องรุกล้ำที่ดินซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีนี้กล่าวอ้างว่าจำเลยสร้างรั้วไม้ไผ่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ทางด้านทิศเหนือ 7 ตารางวา แต่ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างรั้วไม้ไผ่รุกล้ำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างรั้วเข้าไปในที่ดินโจทก์ในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้สร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ครอบครองทำประโยชน์อีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้อง การแก้ไขคำพิพากษา และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบถ้วนให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 16646, 16647, 16649 และ 16650 และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 90 อันเป็นทรัพย์จำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนกว่าจะครบ โดยไม่ได้ระบุว่าให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนหรือไม่ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ มิใช่เรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงแต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นไม่อาจใช้ดุลพินิจแก้ไขคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ดังที่โจทก์อ้างได้ หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามที่กฎหมายกำหนดไว้และหาอาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตีความคำพิพากษาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในคดีล้มละลาย: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม เนื่องจากประเด็นวินิจฉัยซ้ำกับคำร้องก่อนหน้า
คำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ป. เป็นผู้ยื่นคำร้องในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ ต่อมาผู้ร้องเป็นผู้ยื่นคำร้องโดยอ้างสิทธิว่าเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นเดียวกับ ป. ตามบทนิยามแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/1 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความเดิมที่ ป. เคยยื่นคำร้องไว้ แม้คดีนี้ผู้ร้องมิได้ระบุว่าขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยใช้คำว่า ขอให้มีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนทุเลาการขายหุ้นไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด กับให้ผู้บริหารแผนกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนใหม่อีกครั้งให้ได้ราคาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายสูงกว่าที่กำหนดไว้หุ้นละ 3.30 บาท เปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมลงทุนโดยวิธีการประมูลตามหลักธุรกิจการค้าปกติ โปร่งใส เป็นธรรม ก็ตาม แต่การที่จะกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยประมูลขายหุ้นแก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามที่ผู้ร้องขอมาในคดีนี้ก็จะต้องยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เสียก่อน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองคดีต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันคือขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ส่วนการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและการดำเนินการขายหุ้นส่วนทุนตามแผน คำร้องทั้งสองฉบับได้กล่าวอ้างทำนองเดียวกันว่าผู้บริหารแผนไม่เปิดโอกาสให้มีการประมูลหรือแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด กำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีหลักเกณฑ์หรือวิธีการคำนวณ กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้บริหารแผนเป็นผู้ถือหุ้นหรือมีอำนาจกำกับดูแล มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้บริหารแผน ผู้ร่วมลงทุนใหม่จะเข้ามาครอบงำกิจการของลูกหนี้ เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ไม่สุจริตทำให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเสียหาย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยตามคำร้องทั้งสองฉบับจึงเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ผู้บริหารแผนดำเนินการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและทำข้อตกลงขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยชอบหรือไม่ เมื่อศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นดังกล่าวตามคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้าม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมชิงทรัพย์-การพิพากษาเกินคำขอ: ศาลชอบที่จะลงโทษตามวรรคที่ข้อเท็จจริงฟังได้ แม้โจทก์มิได้ระบุวรรคในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายในเวลากลางคืนโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยเนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ตรงตามโจทก์บรรยายฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้น มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่ฟ้องซ้ำประเด็นเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของสามยทรัพย์
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้และคดีก่อนโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มิได้ใช้ภาระจำยอม 10 ปี และภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีก่อน เพราะข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของสามยทรัพย์ ผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าที่ผิดสัญญาเช่า ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาชั้นต้น ยกเว้นค่าทนายความ
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 (3) กำหนดแต่เพียงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องมีรายการแห่งคดีซึ่งหมายถึงต้องมีชื่อเรื่อง คำฟ้อง และคำให้การเพื่อกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่มิได้บังคับว่าคำพิพากษาต้องมีทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงจะเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้คงมีแต่เพียงทางนำสืบของโจทก์ จำเลยทั้งสองก็ให้การรับในประเด็นสำคัญตามคำฟ้องของโจทก์และมิได้นำสืบต่อสู้แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์มาเขียนรวมไว้ในตอนวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ถือเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความ 4,000 บาท แทนโจทก์นั้นไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท จึงเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด
คดีฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ถือเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความ 4,000 บาท แทนโจทก์นั้นไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท จึงเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด