พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13606/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย + สมรสภายหลัง = ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277
แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า จำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้เสียหายอายุเกินกว่าสิบสามปี แต่ไม่เกินสิบห้าปี แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215
แม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดอายุของผู้กระทำความผิดต้องอายุไม่เกิน 18 ปี ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดบังคับ ซึ่ง ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ (เดิม) ที่ใช้บังคับแก่คดีนี้บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แม้จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเรื่องอายุของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ไม่เกินสิบห้าปี เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าภายหลังจำเลยและผู้เสียหายได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ (เดิม)
แม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดอายุของผู้กระทำความผิดต้องอายุไม่เกิน 18 ปี ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดบังคับ ซึ่ง ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ (เดิม) ที่ใช้บังคับแก่คดีนี้บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แม้จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเรื่องอายุของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ไม่เกินสิบห้าปี เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าภายหลังจำเลยและผู้เสียหายได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8523/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงที่สมรสตามหลักศาสนาอิสลาม ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) และวรรคท้าย (เดิม) มีความหมายว่า ในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกัน หากจะสมรสกันต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 หรือกรณีที่ชายและเด็กหญิงเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ซึ่งมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 อันเป็นกฎหมายพิเศษให้ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามในส่วนที่เกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดกเฉพาะในสี่จังหวัดดังกล่าวแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และบรรพ 6 จึงมีผลให้ผู้กระทำผิดในคดีอาญานั้นไม่ต้องรับโทษ
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้จำเลยไม่ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้จำเลยไม่ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4142/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงและการสมรสย่อมไม่ทำให้พ้นผิดในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่าสิบสามปี
การที่จำเลยไม่ต้องรับโทษถ้าศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงสมรสกันมีเพียงการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 เท่านั้น แม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดบังคับ ซึ่งมาตรา 277 วรรคห้า (เดิม) ที่ใช้บังคับแก่คดีนี้บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แต่ในคดีนี้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกินสิบสามปีกระทงหนึ่ง และอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีกระทงหนึ่ง เมื่อศาลได้อนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน การกระทำของจำเลยเฉพาะความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จึงไม่ต้องรับโทษ ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกินสิบสามปี ไม่เข้าเหตุที่จะไม่ต้องรับโทษ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการกระทำความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารแม้ผู้นั้นจะยินยอม จำเลยจึงต้องรับโทษในความผิดฐานดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้ยืมระหว่างสมรส แม้หย่าแล้วเจ้าหนี้ยังบังคับคดีได้
สัญญากู้ยืมเงินเป็นหนี้ที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาผู้ร้องก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส และเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างผู้ร้องและจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) แม้ภายหลังจำเลยกับผู้ร้องได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งสินสมรสกันก็ไม่กระทบสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะดำเนินการบังคับคดีแก่เงินในบัญชีเงินฝากของผู้ร้อง โจทก์จึงมีสิทธิอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของผู้ร้องเพื่อนำมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวจากการก่อสร้างในสมรส: การพิสูจน์แหล่งเงินทุนเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ
โจทก์ใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านเล็กๆ มีแต่หลังคาแต่ไม่มีฝาบ้านมาในระหว่างสมรส และใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ในการก่อสร้างบ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำในที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้เป็นการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก็จะถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสหาได้ไม่ บ้านพิพาทย่อมเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3122/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: สิทธิการเช่าที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส แม้จะมีการโอนสิทธิให้บุคคลภายนอก
การที่มารดาจำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ให้ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการให้โดยเป็นหนังสือระบุว่ายกให้แก่ผู้ใด และหนังสือยกให้นั้นระบุว่าเป็นสินสมรส การจะฟังว่ามารดาจำเลยที่ 1 ยกให้โจทก์หรือจำเลยที่ 1 ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมไม่อาจรับฟังได้โดยถนัดนัก แต่สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส และกรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส เช่นนี้จึงต้องฟังว่า สิทธิการเช่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้แบ่งสินสมรสและคืนสินส่วนตัวคือ สิทธิการเช่าพิพาทแก่โจทก์และ ธ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์สมคบกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลหลอกลวงจำเลยที่ 1 ให้ทำบันทึกข้อตกลง และไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่านข้อความก่อนลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 ยินยอมทำเอกสารดังกล่าวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้คบชู้กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลเป็นการแสดงเจตนาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมายต่อไป เช่นนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 1 ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเช่าพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างการแสดงเจตนาที่จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามที่ให้การว่าถูกโจทก์กับพวกฉ้อฉลหลอกลวงก็ตาม แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธว่าบันทึกข้อตกลงไม่มีผลบังคับแก่จำเลย เท่ากับเป็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงเป็นสัญญาระหว่างสมรสและหยิบยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ และถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 มีประเด็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงแล้ว
สิทธิการเช่าพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องหย่าขาดจากกัน คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องการแบ่งสินสมรส ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์กับ ธ. ร่วมกันฉ้อฉล และมีผลผูกพันสินสมรสเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 เพียงครึ่งหนึ่งที่ยกให้โจทก์และ ธ. อีกครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสในส่วนของโจทก์ และส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้ ธ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นมีลักษณะเป็นการให้ เมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสที่ทำไว้กับโจทก์แล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลให้สิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้แก่โจทก์กลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน สิทธิการเช่าพิพาทดังกล่าวต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งหนึ่ง โดยส่วนของจำเลยที่ 1 ครึ่งหนึ่งได้ตกเป็นสิทธิของ ธ. ไปแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1 และ ธ. มีส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสี่ของสิทธิการเช่าพิพาท กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องของการปรับบทกฎหมายในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งสินสมรส ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่คู่ความนำมาสืบ มิใช่เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันจะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นอย่างใดไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้แบ่งสินสมรสและคืนสินส่วนตัวคือ สิทธิการเช่าพิพาทแก่โจทก์และ ธ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์สมคบกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลหลอกลวงจำเลยที่ 1 ให้ทำบันทึกข้อตกลง และไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่านข้อความก่อนลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 ยินยอมทำเอกสารดังกล่าวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้คบชู้กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลเป็นการแสดงเจตนาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมายต่อไป เช่นนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 1 ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเช่าพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างการแสดงเจตนาที่จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามที่ให้การว่าถูกโจทก์กับพวกฉ้อฉลหลอกลวงก็ตาม แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธว่าบันทึกข้อตกลงไม่มีผลบังคับแก่จำเลย เท่ากับเป็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงเป็นสัญญาระหว่างสมรสและหยิบยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ และถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 มีประเด็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงแล้ว
สิทธิการเช่าพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องหย่าขาดจากกัน คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องการแบ่งสินสมรส ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์กับ ธ. ร่วมกันฉ้อฉล และมีผลผูกพันสินสมรสเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 เพียงครึ่งหนึ่งที่ยกให้โจทก์และ ธ. อีกครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสในส่วนของโจทก์ และส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้ ธ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นมีลักษณะเป็นการให้ เมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสที่ทำไว้กับโจทก์แล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลให้สิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้แก่โจทก์กลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน สิทธิการเช่าพิพาทดังกล่าวต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งหนึ่ง โดยส่วนของจำเลยที่ 1 ครึ่งหนึ่งได้ตกเป็นสิทธิของ ธ. ไปแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1 และ ธ. มีส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสี่ของสิทธิการเช่าพิพาท กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องของการปรับบทกฎหมายในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งสินสมรส ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่คู่ความนำมาสืบ มิใช่เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันจะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นอย่างใดไม่