คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สละสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าใหม่ครอบคลุมสิ่งปลูกสร้างเดิม สละสิทธิรื้อถอน
โจทก์เช่าห้องแถวจำเลยเป็นเวลา 30 ปี เมื่อเช่าแล้วได้ 3 และ 4 ปีโจทก์ปลูกสร้างห้องเพิ่มเติมและยุ้งข้าวในที่ดินจำเลยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลยและสามีจำเลยเคยอนุญาตให้โจทก์รื้อถอนไปได้เมื่อเลิกเช่า ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่ากันเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2507 มีความว่า ผู้เช่ายอมตกลงให้สิ่งปลูกสร้างหรือซ่อมแซมลงในบริเวณบ้านเช่าตกเป็นของผู้ให้เช่า ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์สละเจตนาที่จะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีสิทธิรื้อถอนมาแต่เดิม ยอมให้สิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะได้ทำไว้แล้วหรือที่จะทำต่อไปตกเป็นของจำเลยทั้งสิ้น ถือว่าข้อห้ามรื้อถอนกินความถึงสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่ได้ทำแล้วและกำลังทำหรือจะทำขึ้นใหม่ มิใช่ใช้บังคับเฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่ทำขึ้นในระหว่างอายุหนังสือสัญญาเช่าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและสิ่งปลูกสร้าง: การสละสิทธิรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมเมื่อทำสัญญาใหม่
โจทก์เช่าห้องแถวจำเลยเป็นเวลา 30 ปี เมื่อเช่าแล้วได้ 3 และ 4 ปีโจทก์ปลูกสร้างห้องเพิ่มเติมและยุ้งข้าวในที่ดินจำเลยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลยและสามีจำเลยเคยอนุญาตให้โจทก์รื้อถอนไปได้เมื่อเลิกเช่า ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่ากันเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2507 มีความว่า ผู้เช่ายอมตกลงให้สิ่งปลูกสร้างหรือซ่อมแซมลงในบริเวณบ้านเช่าตกเป็นของผู้ให้เช่า ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์สละเจตนาที่จะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีสิทธิรื้อถอนมาแต่เดิมยอมให้สิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะได้ทำไว้แล้วหรือที่จะทำต่อไปตกเป็นของจำเลยทั้งสิ้น ถือว่าข้อห้ามรื้อถอนกินความถึงสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่ได้ทำแล้วและกำลังทำหรือจะทำขึ้นใหม่ มิใช่ใช้บังคับเฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่ทำขึ้นในระหว่างอายุหนังสือสัญญาเช่าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและข้อตกลงเรื่องสิ่งปลูกสร้าง: สละสิทธิรื้อถอนเมื่อทำสัญญาใหม่
โจทก์เช่าห้องแถวจำเลยเป็นเวลา 30 ปี. เมื่อเช่าแล้วได้ 3 และ 4 ปีโจทก์ปลูกสร้างห้องเพิ่มเติมและยุ้งข้าวในที่ดินจำเลยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย.และสามีจำเลยเคยอนุญาตให้โจทก์รื้อถอนไปได้เมื่อเลิกเช่า. ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่ากันเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2507 มีความว่า ผู้เช่ายอมตกลงให้สิ่งปลูกสร้างหรือซ่อมแซมลงในบริเวณบ้านเช่าตกเป็นของผู้ให้เช่า. ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์สละเจตนาที่จะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีสิทธิรื้อถอนมาแต่เดิม. ยอมให้สิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะได้ทำไว้แล้วหรือที่จะทำต่อไปตกเป็นของจำเลยทั้งสิ้น. ถือว่าข้อห้ามรื้อถอนกินความถึงสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่ได้ทำแล้วและกำลังทำหรือจะทำขึ้นใหม่. มิใช่ใช้บังคับเฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่ทำขึ้นในระหว่างอายุหนังสือสัญญาเช่าเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกถูกสละด้วยสัญญาประนีประนอม สัญญาดังกล่าวมีผลทำให้สิทธิในการจัดการมรดกสิ้นสุดลง
ผู้ร้องกับบุตรผู้คัดค้านเป็นสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกัน 1 คน ซึ่งบิดาได้รับรองแล้ว ต่อมาบุตรผู้คัดค้านและบุตรผู้ร้องถึงแก่ความตายวันเดียวกัน โดยบุตรผู้คัดค้านตายก่อน ผู้ร้องจึงร้องขอจัดการมรดกของบุตร ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาจากบุตรผู้คัดค้าน ไม่มีมรดกอื่นอีก ผู้คัดค้านได้คัดค้านว่า ผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุตรผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ผู้ร้องรับไปเสร็จสิ้นแล้ว ดังนั้นหากฟังได้ตามคำคัดค้านย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องได้ยอมสละสิทธิที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวหรือเรียกร้องทรัพย์สินใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุตรผู้คัดค้าน อันจะเป็นมรดกแก่บุตรผู้ร้อง และตกทอดมายังผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องได้สละสิทธิดังกล่าวโดยได้รับเงินตอบแทนไปแล้ว จึงเป็นอันว่ามรดกของบุตรผู้ร้องไม่มีแล้ว แม้ผู้ร้องจะเป็นทายาทของบุตร ตามพฤติการณ์ก็ไม่มีเหตุที่จะให้ศาลตั้งเพื่อประโยนช์แก่กองมรดกของบุตรซึ่งไม่มีจะให้จัดการอีกต่อไป คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงไม่ใช่เรื่องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการสละสิทธิเรียกร้องมรดก: ผลกระทบต่อการจัดการมรดกของทายาท
ผู้ร้องกับบุตรผู้คัดค้านเป็นสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรส. เกิดบุตรด้วยกัน 1 คน. ซึ่งบิดาได้รับรองแล้ว. ต่อมาบุตรผู้คัดค้านและบุตรผู้ร้องถึงแก่ความตายวันเดียวกัน. โดยบุตรผู้คัดค้านตายก่อนผู้ร้องจึงร้องขอจัดการมรดกของบุตร. ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาจากบุตรผู้คัดค้าน. ไม่มีมรดกอื่นอีก. ผู้คัดค้านได้คัดค้านว่า. ผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุตรผู้คัดค้าน. โดยผู้คัดค้านได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ผู้ร้องรับไปเสร็จสิ้นแล้ว. ดังนั้นหากฟังได้ตามคำคัดค้าน.ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องได้ยอมสละสิทธิที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวหรือเรียกร้องทรัพย์สินใดๆเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุตรผู้คัดค้าน. อันจะเป็นมรดกแก่บุตรผู้ร้อง. และตกทอดมายังผู้ร้อง. เมื่อผู้ร้องได้สละสิทธิดังกล่าวโดยได้รับเงินตอบแทนไปแล้ว. จึงเป็นอันว่ามรดกของบุตรผู้ร้องไม่มีแล้ว. แม้ผู้ร้องจะเป็นทายาทของบุตร. ตามพฤติการณ์ก็ไม่มีเหตุที่จะให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกของบุตร.ซึ่งไม่มีจะให้จัดการอีกต่อไป. คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงไม่ใช่เรื่องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909-910/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของสัญญายอมความแบ่งมรดกและการสละสิทธิของโจทก์เมื่อได้รับส่วนแบ่งตามคำพิพากษา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกกันและตกลงให้แบ่งมรดกส่วนหนึ่งแก่บุคคลภายนอกโจทก์ไม่ต้องการทรัพย์อีก และไม่ขอเกี่ยวข้อง ซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นไปตามยอมนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแบ่งมรดกของโจทก์ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว การบังคับคดีเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ก็เป็นอันเสร็จสิ้นโจทก์ย่อมไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909-910/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความและการสละสิทธิในส่วนแบ่งมรดก เมื่อได้รับส่วนแบ่งตามคำพิพากษาแล้ว
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกกัน และตกลงให้แบ่งมรดกส่วนหนึ่งแก่บุคคลภายนอก. โจทก์ไม่ต้องการทรัพย์อีก. และไม่ขอเกี่ยวข้อง. ซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นไปตามยอมนั้น. เมื่อโจทก์ได้รับแบ่งมรดกของโจทก์ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว. การบังคับคดีเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ก็เป็นอันเสร็จสิ้น. โจทก์ย่อมไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับว่าที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน มีผลสละสิทธิในการถอนหุ้น แม้ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
จำเลยทั้งสามให้การร่วมกันว่า ที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2, 3 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิดข้อบังคับของห้างหุ้นส่วน เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ถอนเอาที่ดินคืนออกจากห้างหุ้นส่วนเลย โจทก์ก็ทราบแล้วและไม่คัดค้าน ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยทั้ง 3 เป็นการยอมรับว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่ แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2, 3 ถือกรรมสิทธิ์ จำเลยก็หาได้โต้เถียงไม่ว่าที่ดินนั้นเป็นของจำเลย ไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วน จำเลยจะมาโต้เถียงภายหลังว่าที่ดินไม่ใช่ของห้างหุ้นส่วนย่อมไม่ได้
ที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชีกัน ผู้ชำระบัญชีก็มีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้
จำเลยให้การรับว่า ที่ดินยังเป็นของห้างหุ้นส่วนอยู่ เมื่อคู่ความตกลงกันให้ตั้งผู้ชำระบัญชี และให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยตกลงยอมให้ขายที่ดินซึ่งเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วย จำเลยมาอ้างภายหลังว่าขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ชำระบัญชีจะเอาที่ดินเป็นของห้างหุ้นส่วนด้วยหรือไม่ ย่อมฟังไม่ขึ้นและเมื่อจำเลยตกลงยอมให้ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแล้ว ก็ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธิที่จะถอนหุ้นเอาที่ดินของตนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841-1845/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าและค่าเสียหายหลังสัญญาเช่าช่วงระงับ การวินิจฉัยนอกประเด็น และผลของการสละสิทธิ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่โจทก์ได้เช่ามาจากเจ้าของเดิมและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้. พร้อมทั้งเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายที่จำเลยยังคงอยู่ต่อมาภายหลังที่ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว. จำเลยต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมระงับแล้ว และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบด้วยว่า. จำเลยไม่มีข้อผูกพันชำระค่าเช่ากับโจทก์ต่อไป. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง. ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นความจริงหรือไม่. หากเป็นความจริง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายจากจำเลยได้เพียงไรหรือไม่. ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิม. ก็เพื่อนำมาซึ่งการวินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้นั่นเอง. จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. และในการวินิจฉัยก็ฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น. ที่คู่ความตกลงอ้างร่วมกัน แม้จะเป็นคดีที่พิพาทกันเฉพาะห้องเลขที่ 21-23 ที่ใช้เป็นโรงแรมไทยอารีย์. ไม่รวมถึงห้องพิพาท. ศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงรวมไปถึงห้องชั้นล่างที่ให้เช่าช่วงคือห้องที่พิพาทกันในคดีนี้ด้วย.จึงไม่เป็นการวินิจฉัยโดยขาดพยานหลักฐาน.
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมได้ระงับไปตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2503 และจำเลยได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์แล้ว. สัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันระงับไป. แต่ค่าเช่าก่อนที่สัญญาเช่าช่วงระงับ จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์. เพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ส่วนภายหลังต่อมาจากที่สัญญาเช่าช่วงระงับแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 เป็นต้นไปนั้น.จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนห้องพิพาทที่เช่าช่วงให้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 แต่จำเลยยังคงอยู่.ไม่ออกจากห้องพิพาท. และโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเดิม คดีแดงที่ 192/2504 เดือนละ 360 บาท. เช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราเท่าค่าเช่าต่อไปจนถึงวันฟ้อง. ส่วนค่าเสียหายต่อจากวันฟ้องซึ่งคู่ความตกลงกันเดือนละ 25 บาทนั้น. จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์. เพราะโจทก์ได้แถลงไว้ว่า ถ้าคดีแดงที่192/2504 ถึงที่สุด ศาลพิพากษาขับไล่โจทก์. โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้บังคับขับไล่จำเลยในคดีนี้ คงขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่า. โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายได้หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า. ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์. โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่ภายหลังวันฟ้องนั้น. ไม่ใช่เป็นการอยู่โดยไม่ส่งมอบห้องพิพาทแก่โจทก์. โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายภายหลังจากวันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า และประเด็นอายุความที่จำเลยสละสิทธิ
จำเลยรับว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่เหมือนกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละเครื่องหมาย ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนกับคดีนี้จึงแตกต่างกัน มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคำวินิจฉัยในคดีนี้จึงไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาฎีกาในคดีเรื่องก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ (ด้านที่มีสีแดง) มีลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่รูปสมอตรงกลางของวงกลม ส่วนอักษรโรมันและตัวเลขที่ล้อมรอบรูปสมอในวงกลมชั้นนอกและอักษรโรมันและตัวเลขในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอ เป็นเพียงส่วนประกอบรูปสมออันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะเท่านั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด ตามด้ายหลอดหมาย จ.2 (ด้านที่มีสีแดง) ก็มีรูปสมออยู่ตรงกลางของวงกลมสองชั้นเหมือนกันในวงกลมชั้นนอกมีอักษรโรมันและตัวเลขล้อมรอบรูปสมอและในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอก็มีอักษรโรมันและตัวเลขคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้วางรูปไว้คล้ายคลึงกับของโจทก์มาก สิ่งที่ผิดกันก็คือตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกไม่เหมือนกันตัวเลขเล็กๆ ในวงกลมชั้นในแตกต่างกันบ้าง และในวงกลมชั้นในของเครื่องหมายที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 มีดาวเก้าดวงล้อมสมอเพิ่มขึ้นเฉพาะที่ตัวสมอแตกต่างกันในส่วนสำคัญเล็กน้อย คือ ที่เครื่องหมายในด้ายหลอดหมาย จ.2 ตรงปลายสมอมีเส้นเล็กๆเพิ่มขึ้น 2 เส้นที่โคนของด้ามสมอ แทนที่จะเป็นรูปห่วงกลมเช่นของโจทก์ แต่เปลี่ยนเป็นรูปเปลวไฟซึ่งเกือบเป็นรูปกลม ดังนี้ เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 ก็มุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะบ่งเฉพาะที่รูปสมอเหมือนกัน ดาวเก้าดวงล้อมสมอที่ทำเพิ่มขึ้นเลือนลางมาก ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ ส่วนความแตกต่างกันของตัวสมอก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยในส่วนสำคัญดังกล่าวมาแล้ว เส้นเล็กๆ สองเส้นที่ปลายสมอ ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นเช่นเดียวกัน ส่วนเปลวไฟที่โคนด้ามสมอ ถ้าไม่สังเกตก็อาจเห็นเป็นรูปกลมเช่นเดียวกับของโจทก์ ตัวเลขภายในวงกลมชั้นในที่ผิดกันเกือบมองไม่เห็น ตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกแม้จะไม่เหมือนกันเลยแต่สำหรับผู้ที่อ่านภาษาโรมันไม่ออกและได้เห็นด้ายหลอดตามวัตถุพยานหมาย จ.1 และ จ.2 คนละครั้ง อาจสับสนกันได้ว่า ด้ายหลอดหมาย จ.2 คือด้ายหลอดหมาย จ.1. ยิ่งให้สีเหมือนกัน ก็ยิ่งคล้ายคลึงกันมากขึ้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นดังที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้าตามด้ายหลอดหมาย จ.2คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามด้ายหลอดหมาย จ.1จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงชอบที่จะต้องแสดงมาด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด แต่จำเลยหาได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไม่ และศาลชั้นต้นไม่ได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์จำเลยกล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า เมื่อประเด็นสำคัญที่กล่าวมาในอุทธรณ์ข้อ 2, 3โจทก์ไม่ทางชนะคดีแล้ว จำเลยก็ขอให้ผ่านประเด็นเรื่องอายุความไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัย ที่จำเลยกล่าวเช่นนี้มีความหมายว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความเสียแล้วในชั้นอุทธรณ์ เพราะจำเลยเชื่อว่าประเด็นสำคัญที่กล่าวในอุทธรณ์ข้อ 2, 3 เพียงพอที่จำเลยจะชนะคดีได้ หาได้มีความหมายดังที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ถ้าโจทก์ไม่มีทางชนะคดีจำเลยโดยอาศัยประเด็นข้ออื่นก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องอายุความ แต่ถ้าโจทก์มีทางชนะคดีจำเลย ก็ให้ยกอายุความขึ้นวินิจฉัย ดังนี้ไม่ เพราะจำเลยย่อมไม่มีสิทธิกำหนดให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนหลัง หรือให้วินิจฉัยประเด็นข้อใด และไม่วินิจฉัยประเด็นข้อใดในเมื่อจำเลยไม่ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นที่จะไม่ให้วินิจฉัยนั้น
จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 และย่อมถือได้ว่าประเด็นข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์.ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
of 39