พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8245/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้การจดทะเบียนจะล่าช้ากว่า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ตามคำขอ ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67เพราะมาตรานี้เป็นเรื่องฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว
โจทก์และจำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แต่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 18 ก่อนโจทก์ประมาณ 1 ปีโดยโจทก์ไม่ทราบมาก่อน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกันนี้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 25ไว้แล้วในปี 2532 ไม่ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติตามมาตรา 24 กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55
จำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้จะส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลังจากโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยแล้ว ก็ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของจำเลยในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าโจทก์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าที่แท้จริงมาก่อนโจทก์ และการที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนไม่มีที่ติ พฤติการณ์จึงไม่เชื่อว่าโจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทขึ้นมาเองโดยไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์และจำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า แต่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 18 ก่อนโจทก์ประมาณ 1 ปีโดยโจทก์ไม่ทราบมาก่อน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกันนี้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 25ไว้แล้วในปี 2532 ไม่ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติตามมาตรา 24 กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55
จำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้จะส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลังจากโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยแล้ว ก็ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของจำเลยในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าโจทก์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าที่แท้จริงมาก่อนโจทก์ และการที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนไม่มีที่ติ พฤติการณ์จึงไม่เชื่อว่าโจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทขึ้นมาเองโดยไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล และการชำระหนี้สินสมรสเพื่อยกเลิกการบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้ร้องเพียงกึ่งหนึ่งและยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ดังนี้ แม้ก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่คำร้องนี้เป็นคำร้องคนละอย่างกับคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์การที่คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องถึงที่สุดก็ไม่มีผลต่อสิทธิของผู้ร้องที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องนี้ เมื่อคำสั่งคำร้องนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงย่อมอุทธรณ์ได้
การขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลให้ตัวทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้หลุดพ้นจากการบังคับคดี และมิใช่เป็นเพียงขอรับการคุ้มครองจากการได้รับผลกระทบกระทั่งจากการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แต่เป็นการดำเนินการที่มีผลอย่างเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้ว
การขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลให้ตัวทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้หลุดพ้นจากการบังคับคดี และมิใช่เป็นเพียงขอรับการคุ้มครองจากการได้รับผลกระทบกระทั่งจากการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แต่เป็นการดำเนินการที่มีผลอย่างเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 นั่นเอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถร้องขอให้ศาลบังคับคดีลูกหนี้อีกฝ่ายได้
ตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นเป็นผลให้โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่มีหนี้ต้องชำระต่างตอบแทนกัน ในส่วนจำเลยจะต้องโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ และโจทก์จะต้องชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยเช่นกัน อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 272 จำเลยย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับเพื่อดำเนินการบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและเกณฑ์การฟ้องล้มละลาย: การพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะนั้น
สิทธิในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นสิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นที่จะร้องขอให้บังคับคดี จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพราะสามารถเข้าสวมสิทธิแทนจำเลยในการบังคับคดีเอาจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีอื่นไม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่อาจนำ หลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาเปรียบเทียบในคดีนี้ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่อาจนำ หลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาเปรียบเทียบในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนถอนฟ้อง ทำให้สิทธิอุทธรณ์สิ้นสุด
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ในครั้งแรก ก็แสดงว่าศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการเสมือนโจทก์ร่วมฟ้องเองการที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมโดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดนั่นเอง เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในครั้งหลังจึงไม่ชอบ และเมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ได้แล้ว โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม: ศาลคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเมื่อถูกปิดกั้นทางเข้าออก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนกำแพงพิพาทซึ่งจำเลยได้ก่อสร้างปิดทางภารจำยอมอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ในการใช้ทางภารจำยอมเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยรื้อถอนกำแพงพิพาทออกไปก่อน เพื่อโจทก์จะได้ใช้ทางภารจำยอมได้นั้น จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) กรณีตามคำร้องมีเหตุที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ได้ และเมื่อคดีปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ได้ก่อสร้างกำแพงปิดทางภารจำยอม ทำให้โจทก์ไม่สามารถผ่านเข้าออกที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ได้โดยสะดวก เช่นนี้กรณีมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองที่โจทก์ขอมาใช้บังคับตามมาตรา 255เฉพาะบริเวณที่ติดกับที่ดินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขอปล่อยตัวจากการคุมขังมิชอบระงับเมื่อมีหมายขังจากศาล
สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจค้น จับกุมและคุมขังผู้ร้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดที่ผู้ร้องอ้างว่าการค้น จับกุมและคุมขังโดยมิชอบ เมื่อการคุมขังเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดไปตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับ
การตรวจค้น จับกุมและการคุมขังของเจ้าพนักงานตำรวจชั้นแรกเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน ทั้งการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อผู้ร้องถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลและศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 58 (4), 71 และ 88 ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้แล้ว การคุมขังผู้ร้องจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240
ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจค้น จับกุมและคุมขังผู้ร้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดที่ผู้ร้องอ้างว่าการค้น จับกุมและคุมขังโดยมิชอบ เมื่อการคุมขังเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดไปตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับ
การตรวจค้น จับกุมและการคุมขังของเจ้าพนักงานตำรวจชั้นแรกเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน ทั้งการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อผู้ร้องถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลและศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 58 (4), 71 และ 88 ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้แล้ว การคุมขังผู้ร้องจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภายใต้ พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
โจทก์เป็นสถาบันการเงินจึงต้องใช้ พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 มาใช้บังคับ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวให้สิทธิสถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ แต่ไม่ให้เกินกว่าอัตราสูงสุดที่รัฐมนตรีกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ หาเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ย- เกินอัตรา พ.ศ. 2475 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6915/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี เป็นกระบวนการที่ศาลต้องปฏิบัติถูกต้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองบัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก... ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาล จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายความหรือไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสอบถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอระงับการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นเจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือมีสิทธิจดทะเบียน/ยื่นคำร้องตาม กม.
โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาการที่ผู้ร้องจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสร้างขึ้นและผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในอีก คดีหนึ่งนั้น ผู้ร้องต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สิน ที่มีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 เมื่อผู้ร้องเป็นเพียงได้ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งหกเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นและคดี ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดี อันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อน