พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินมรดกไม่ถูกต้องเมื่อทายาทไม่ได้ยื่นคำขอรับมรดก และการฟ้องแย้งสิทธิในที่ดินของทายาทที่ไม่ได้ประโยชน์จากคำพิพากษา
คดีมีปัญหาว่า การลงชื่อทายาทตามฟ้องลงในแบบ น.ส.3 ชอบหรือไม่เท่านั้น ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ที่พิพาทให้แน่ชัดว่าครอบครองจำนวนเท่าใดก็ตาม โจทก์ก็ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา โดยบรรยายข้อเท็จจริงและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนระบุไว้ชัดแจ้งว่า "ให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็น 9 ส่วน ให้โจทก์ทั้ง 3 ได้คนละ 1 ส่วน "คำพิพากษาดังกล่าวที่ให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ก็เพื่อจะกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์แต่ละคนที่ฟ้องว่าควรจะได้รับส่วนแบ่งมากน้อยเพียงใดเท่านั้น คำพิพากษาย่อมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือโจทก์ทั้งสามในคดีนั้น ส่วนทายาทอื่นไม่ได้เป็นโจทก์หรือร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่อาจจะถือเอาประโยชน์จากคำพิพากษานี้ได้
ทายาทอื่นมิได้ยื่นคำขอรับมรดกในที่ดินแปลงพิพาทซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินว่าด้วยการได้ซึ่งที่ดินกองมรดก การที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทนั้นลงไว้ในแบบ น.ส.3 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและมีส่วนได้ในที่ดินแปลงพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนระบุไว้ชัดแจ้งว่า "ให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็น 9 ส่วน ให้โจทก์ทั้ง 3 ได้คนละ 1 ส่วน "คำพิพากษาดังกล่าวที่ให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ก็เพื่อจะกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์แต่ละคนที่ฟ้องว่าควรจะได้รับส่วนแบ่งมากน้อยเพียงใดเท่านั้น คำพิพากษาย่อมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือโจทก์ทั้งสามในคดีนั้น ส่วนทายาทอื่นไม่ได้เป็นโจทก์หรือร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่อาจจะถือเอาประโยชน์จากคำพิพากษานี้ได้
ทายาทอื่นมิได้ยื่นคำขอรับมรดกในที่ดินแปลงพิพาทซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินว่าด้วยการได้ซึ่งที่ดินกองมรดก การที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทนั้นลงไว้ในแบบ น.ส.3 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและมีส่วนได้ในที่ดินแปลงพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: ผลผูกพันจากคำพิพากษาเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และความยินยอมในการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกอันจะกล่าวอ้างพิสูจน์สิทธิใหม่ และพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การอุทธรณ์คำสั่งนี้และฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ข้อ 2ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยาคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยาคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899-2900/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีที่จำเลยขาดนัด และการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน
คดีสองสำนวนศาลพิจารณาพิพากษารวมกัน สำนวนหลังจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบอยู่แล้ว ที่ศาลสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทั้งสองสำนวนนั้นเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้ร้อง แม้มีคำพิพากษาค้างอยู่ ผู้ร้องยังมีสิทธิคัดค้านการอายัดได้ หากสิทธิถูกโต้แย้ง
ปัญหาที่ว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจคัดค้านขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ชอบที่จะยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้
ที่ดินมีโฉนดมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อายัดแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าที่ดินนี้ยังคงเป็นของ ป. ตามผลของคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอยู่ก็ตาม ตราบใดยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนั้นผู้ร้องก็ยังมีสิทธิในที่ดินนั้นอยู่เมื่อสิทธิเช่นว่านี้ถูกโต้แย้งโดยการที่โจทก์ขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
กรณีที่ศาลพิพากษาให้ ป. โอนขายที่ดินให้จำเลยนั้นจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยยังไม่ได้ เพราะ ป. จะชำระหนี้ส่วนของตนคือโอนที่ดินให้จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้ตอบแทนคือชำระราคาที่ดินให้ ป. ด้วย ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยยังมิได้เสนอที่จะชำระราคาที่ดินและกำหนดเวลาให้ ป. โอนที่ดินนั้นให้ตนแล้ว จะถือว่าหนี้ที่ ป. จะต้องโอนที่ดินให้จำเลยถึงกำหนดชำระยังมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(1)
ที่ดินมีโฉนดมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อายัดแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าที่ดินนี้ยังคงเป็นของ ป. ตามผลของคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอยู่ก็ตาม ตราบใดยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนั้นผู้ร้องก็ยังมีสิทธิในที่ดินนั้นอยู่เมื่อสิทธิเช่นว่านี้ถูกโต้แย้งโดยการที่โจทก์ขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
กรณีที่ศาลพิพากษาให้ ป. โอนขายที่ดินให้จำเลยนั้นจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยยังไม่ได้ เพราะ ป. จะชำระหนี้ส่วนของตนคือโอนที่ดินให้จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้ตอบแทนคือชำระราคาที่ดินให้ ป. ด้วย ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยยังมิได้เสนอที่จะชำระราคาที่ดินและกำหนดเวลาให้ ป. โอนที่ดินนั้นให้ตนแล้ว จะถือว่าหนี้ที่ ป. จะต้องโอนที่ดินให้จำเลยถึงกำหนดชำระยังมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินวัดและภารจำยอม: วัดมิอาจเสียสิทธิในที่ดินโดยอายุความ แม้เป็นวัดร้าง
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใคร ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 60 ปีเศษได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้างวัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามเมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้างวัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามเมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับบุคคลภายนอกคดีและการแสดงสิทธิในที่ดิน กรณีประทานบัตรทับซ้อน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยกันที่ดินของโจทก์ออกจากเขตประทานบัตร โดยให้ทรัพยากรธรณีจังหวัดตะกั่วป่าเป็นผู้ทำการรังวัดเช่นนี้เป็นการขอให้บังคับบุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่คู่ความในคดีศาลไม่อาจบังคับให้ได้ แต่ที่โจทก์ขอมาเช่นนั้นก็เพื่อขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และแสดงว่าจำเลยไม่มีสิทธิในประทานบัตรในส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ ศาลจึงพิพากษาคดีไปดังนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายหลักเขตต้องแสดงสิทธิในที่ดินชัดเจน การรังวัดชั่วคราวไม่ผิดฐานทำลายหลักเขต
การยักย้ายหรือทำลายหลักเขตจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 363 ก็ต่อเมื่อหลักหรือเครื่องหมายเขตนั้นเป็นหลักหรือเครื่องหมายเขตที่แสดงสิทธิแห่งอสังหาริมทรัพย์โดยแท้จริง การถอนหลักไม้ที่จ่าศาลปักไว้ในการรังวัดอันเป็นหลักหรือเครื่องหมายเขตที่ทำขึ้นเป็นสังเขปเพื่อประโยชน์ในการทำแผนที่พิพาท ไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761-2764/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงทำเหมืองและสิทธิในที่ดิน: สัญญาเช่าประทานบัตร มิใช่การโอนประทานบัตร แต่เป็นการรับช่วงที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้ทำกันไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2509 สรุปความได้ว่า ที่ดินตามสัญญาที่ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1 คงเป็นผู้ถือประทานบัตรอยู่ ที่ดินที่ยังไม่ได้รับประทานบัตร เป็นหน้าที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ประทานบัตร แต่เงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะต้องเสีย โจทก์เป็นคนออก และโจทก์เป็นผู้ทำเหมืองแร่ในที่ดินที่ได้ประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1จะได้รับผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่าค่าเช่าร้อยละสามของแร่ที่ทำได้สัญญามีผลบังคับตลอดไปจนกว่าโจทก์จะขุดแร่หมดเนื้อที่ข้อสัญญาดังนี้ ไม่ใช่การโอนประทานบัตรตามความในมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461. เพราะจำเลยที่ 1ยังเป็นผู้ถือประทานบัตร มีนิติสัมพันธ์กับทางราชการอยู่ โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าทำเหมืองแร่โดยอาศัยประทานบัตรของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หากแต่เป็นการรับช่วงเข้ามาทำเหมือง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญากัน แต่พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 นี้ ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งมีมาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตร ยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายและให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาต ก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้น การชำระหนี้ตามสัญญารายนี้ จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาท เว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเองฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาท เว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเองฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การถอนอุทธรณ์ทำให้ข้อต่อสู้ยุติ การฎีกาต้องประเด็นที่เคยต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งเป็นของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของสามีโจทก์ซึ่งตกทอดไปยังทายาทซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 7 คน คือ ตัวโจทก์เองและบุตรโจทก์อีก 6 คน(รวมทั้งสามีจำเลยด้วย) การที่สามีจำเลยเอาที่พิพาทไปขายฝากก. ได้นั้น ก็เพราะสามีจำเลยขอยืมที่พิพาทไปจากโจทก์โจทก์มิได้ยกที่พิพาทให้แก่สามีจำเลยจริงๆ กรณีเป็นดังนี้ จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ที่พิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามีจำเลยหาได้ร่วมกันมาดังที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนอุทธรณ์เสียแล้ว ข้อต่อสู้ของจำเลยจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ศาลชั้นต้น คงฎีกาแต่เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นฎีกาในประเด็นที่คู่ความได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อพิพาทสิทธิในที่ดิน ต้องอาศัยพยานหลักฐานจากคู่ความอย่างครบถ้วน การงดสืบพยานไม่ชอบ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องคำให้การว่า จำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ หรือโจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ย ในการวินิจฉัยคดีนั้น ศาลจะเชื่อประการใดก็โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความซึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ลำพังแต่คำเบิกความของโจทก์ผู้เดียว ซึ่งเบิกความตอบทนายโจทก์และตอบทนายจำเลยไม่ตรงกัน จะฟังเป็นความจริงเป็นดังที่ตอบทนายโจทก์หรือทนายจำเลยประการหนึ่งประการใดย่อมไม่ได้ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย โดยฟังคำเบิกความของโจทก์คนเดียวซึ่งเบิกความตอบทนายโจทก์และตอบทนายจำเลยไม่ตรงกัน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้องจำเลย และพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียนั้น จึงเป็นการมิชอบด้วยวิธีพิจารณาความศาลสูงย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี