พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมยกให้บุตรต้องทำหนังสือจดทะเบียน มิฉะนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์เดิมของผู้ยก
บ้านพิพาทผู้ร้องเอาเงินที่ได้จากการขายบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นสินเดิมของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(เดิม)ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้สินเดิมดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว บ้านพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2ว่า ทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นมีว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าว เพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์ บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2ว่า ทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นมีว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าว เพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์ บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองโดยสุจริตและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น: การคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอก
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนอง จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินที่จำนองเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ที่ดินที่โจทก์นำยึดดังกล่าวผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่ง โดยผู้ร้องได้ครอบครองโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10ปีแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จึงขอให้ปล่อยการยึดที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโจทก์ให้การว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนข้ออ้างของผู้ร้องจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ ดังนี้ตามข้ออ้างของผู้ร้องเป็นเพียงการได้มาซึ่งสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นอันมิใช่เป็นการได้มาโดยทางนิติกรรม แต่ผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนสิทธิของตนไว้ จึงไม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ทั้งต้องห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ส่วนปัญหาว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ ผู้ร้องก็ไม่ได้กล่าวอ้างหรือยกเป็นประเด็นเพื่อการนำสืบไว้ในคำร้องทั้ง ๆ ที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายตนที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่โจทก์ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 คดีจึงไม่มีประเด็น ข้อพิพาทว่าโจทก์รับจำนองโดยสุจริตหรือไม่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องและคำให้การของโจทก์แล้วว่าโจทก์รับจำนองที่พิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกประเด็นที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกประเด็นที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีกรรมสิทธิ์ต้องชัดเจน หากยื่นคำให้การอ้างกรรมสิทธิ์เป็นของผู้อื่น ศาลถือว่าไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ของตนเอง
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าซึ่งมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาทจำเลยต่อสู้คดีว่าที่พิพาทเป็นของภริยาจำเลยมิได้ต่อสู้ว่าอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทนั้นเป็นของจำเลยจำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายกับการบังคับคดี: สิทธิของเจ้าหนี้ในการบังคับคดีแม้มีสัญญาจะซื้อจะขาย
ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านของโจทก์ ระหว่างบังคับคดีโจทก์ตกลงจะขายบ้านพิพาทให้จำเลย และได้รับเงินค่าบ้านไปบางส่วนดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นแต่เพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทยังคงเป็นของโจทก์อยู่ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอยู่ในบ้านพิพาทต่อไปเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลบังคับคดีต่อไปได้ ถ้าจำเลยเห็นว่าโจทก์ผิดสัญญา ก็ชอบที่จะว่ากล่าวเอากับโจทก์เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาถือเป็นเหตุให้งดบังคับคดีไว้ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการประกอบวิชาชีพทนายความ ไม่ถือเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 307 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 (4) มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ศาลมีอำนาจจะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควร กรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 307 ดังนี้ แม้จะไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องขอก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอนั้นได้ จึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรม ในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรม ในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแทนการขายทอดตลาด ต้องพิจารณาว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบพาณิชยกรรมหรือไม่
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ศาลมีอำนาจจะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควร กรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่า คำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 307 ดังนี้ แม้จะไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องขอก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอนั้นได้ จึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยนิติกรรมต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน การครอบครองโดยไม่จดทะเบียนไม่ทำให้เป็นเจ้าของ
การได้ที่พิพาทมาโดยนิติกรรม เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงยังไม่โอนมา
แม้ผู้ร้องจะได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาเป็นเวลา5 ปีเศษแล้วแต่ก็ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
แม้ผู้ร้องจะได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมาเป็นเวลา5 ปีเศษแล้วแต่ก็ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา แสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้มีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ แม้มีหมายค้นแต่การกระทำเกินกว่าเหตุ
ศ. และจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองฟ้องร้องกันเรื่องเครื่องหมายการค้า จำเลยแจ้งนำกำลังตำรวจมาตรวจค้นบ้านศ. แล้วจำเลยรื้อค้นของภายในบ้านโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจค้นมิได้มอบหมายให้ช่วยเหลือ การกระทำของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ศ. ออกปากไล่จำเลยก็ไม่ยอมออกไป ถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ ศ. โดยปกติสุข จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา365 ไม่ต้องอ้าง มาตรา362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้ไม่อาจเรียกร้องค่าเช่าหรือค่าเสียหายได้
เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ค่าเช่าตึกแถวอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของลูกหนี้ผู้เช่า ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 หาได้ไม่ และจะอ้างว่าขอรับชำระหนี้เป็นค่าเสียหายก็ไม่ได้เพราะลูกหนี้มิได้เข้าไปอยู่หรือใช้ประโยชน์ในตึกแถวของเจ้าหนี้โดยการทำละเมิดต่อเจ้าหนี้ ลูกหนี้จึงไม่จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างได
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจดทะเบียนภารจำยอมมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้จดทะเบียน เพราะเป็นการตกลงเพื่อให้ได้มาซึ่งภารจำยอม
การที่จำเลยตกลงจะจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่โจทก์นั้นก็เป็นการตกลงเพื่อให้ได้มาซึ่งภารจำยอมนั่นเอง จำเลยจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้น และโจทก์สามารถบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงได้