พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่อนุญาต: ศาลยืนอำนาจโจทก์ (หน่วยงานรัฐ) ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่จำเลยระเบิดและย่อยหินเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสามต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง ทั้งปริมาตรหินที่คำนวณได้ก็เพื่อนำไปคำนวณหาจำนวนเงินที่จำเลยต้องชดใช้หากจำเลยไม่สามารถทำให้พื้นที่ที่ตนระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อันเป็นคำขอบังคับท้ายคำฟ้องในลำดับถัดมา คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำความผิดนั้นกรมที่ดินโจทก์ที่ 1 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จังหวัดเลย โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของรัฐ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยโจทก์ที่ 3 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดเลยย่อมมีอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐตลอดจนมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองเพื่อตนเป็นการส่วนตัว หากแต่เป็นการปฏิบัติราชการภายใต้กรอบอำนาจที่ตนมีอยู่ ส่วนผลประโยชน์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีย่อมตกได้แก่แผ่นดินหรือรัฐ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำความผิดนั้นกรมที่ดินโจทก์ที่ 1 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จังหวัดเลย โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของรัฐ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยโจทก์ที่ 3 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในเขตจังหวัดเลยย่อมมีอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐตลอดจนมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองเพื่อตนเป็นการส่วนตัว หากแต่เป็นการปฏิบัติราชการภายใต้กรอบอำนาจที่ตนมีอยู่ ส่วนผลประโยชน์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินคดีย่อมตกได้แก่แผ่นดินหรือรัฐ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันภัย, โมฆียะสัญญา, และสิทธิทายาทรับมรดกตามกรมธรรม์
ส. ตัวแทนขายประกันของจำเลย สาขานครราชสีมา ติดต่อ อ. ให้ทำสัญญาประกัน และ อ. ตกลงทำสัญญาตามแบบฟอร์มตรวจร่างกายและสัญญาประกันภัยของจำเลย จึงเป็นการเริ่มต้นทำสัญญาประกันภัยที่จังหวัดนครราชสีมาถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดนครราชสีมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีที่ศาลจังหวัดนครราชสีมาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1)
นายแพทย์ พ. ผู้ตรวจสุขภาพและร่างกายของ อ. ก่อนทำสัญญาประกันภัยมีความเห็นว่า อ. ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนนายแพทย์ น. ตรวจร่างกาย อ. หลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วยืนยันว่า อ. เป็นเพียงโรคประสาทเครียดสามารถรักษาให้หายขาดได้ และ ส. ตัวแทนขายประกันของจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อ อ. ทำสัญญาประกันภัยยืนยันว่า อ. สามารถพูดคุยได้รู้เรื่องแบบคนปกติธรรมทั่วไปและได้มีการสั่งงานให้ลูกน้องปฏิบัติงานได้อย่างปกติ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า อ. รู้แล้วว่าตนเจ็บป่วยเป็นโรคประสาทเครียดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและไม่ได้ประกอบอาชีพแล้ว ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นบุตร ง. จึงเป็นทายาทลำดับที่ 1 และมีสิทธิรับมรดกของ ง. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ขณะที่ อ. ตาย ง. ยังมีชีวิตอยู่ง. จึงมีสิทธิได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยครึ่งหนึ่ง และเมื่อ ง. ตาย สิทธิในการเรียกเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยไม่ต้องนำสืบให้เห็นว่าเป็นทายาทของ ง. ลำดับไหน มีทายาทด้วยกันกี่คน โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ง. ผู้รับประโยชน์ได้
นายแพทย์ พ. ผู้ตรวจสุขภาพและร่างกายของ อ. ก่อนทำสัญญาประกันภัยมีความเห็นว่า อ. ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนนายแพทย์ น. ตรวจร่างกาย อ. หลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วยืนยันว่า อ. เป็นเพียงโรคประสาทเครียดสามารถรักษาให้หายขาดได้ และ ส. ตัวแทนขายประกันของจำเลยซึ่งเป็นผู้ติดต่อ อ. ทำสัญญาประกันภัยยืนยันว่า อ. สามารถพูดคุยได้รู้เรื่องแบบคนปกติธรรมทั่วไปและได้มีการสั่งงานให้ลูกน้องปฏิบัติงานได้อย่างปกติ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า อ. รู้แล้วว่าตนเจ็บป่วยเป็นโรคประสาทเครียดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและไม่ได้ประกอบอาชีพแล้ว ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ
โจทก์เป็นบุตร ง. จึงเป็นทายาทลำดับที่ 1 และมีสิทธิรับมรดกของ ง. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ขณะที่ อ. ตาย ง. ยังมีชีวิตอยู่ง. จึงมีสิทธิได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยครึ่งหนึ่ง และเมื่อ ง. ตาย สิทธิในการเรียกเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยไม่ต้องนำสืบให้เห็นว่าเป็นทายาทของ ง. ลำดับไหน มีทายาทด้วยกันกี่คน โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ง. ผู้รับประโยชน์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของบิดาที่ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
ผู้เสียหายอายุ 17 ปีเศษ เป็นบุตรของโจทก์ร่วมกับ ส. แต่โจทก์ร่วมกับ ส. มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เสียหายจึงมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วมเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้จดทะเบียนว่าผู้เสียหายเป็นบุตร โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง และมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและไม่มีฐานะเป็นโจทก์ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องการสมรสโมฆะ: บุตรมีสิทธิร้องขอได้เมื่อกระทบสิทธิรับมรดก
โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนาย ท. กับนาง จ. ต่อมานาง จ. ถึงแก่ความตาย นายท. ได้จดทะเบียนสมรสกับนาง ป. หลังจากนั้นนาย ท.มาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยมิได้หย่าขาดจากนาง ป. จึงเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 เมื่อนาย ท. ถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ทั้งเจ็ดจึงเป็นทายาทโดยธรรมของนาย ท. และมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาย ท. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงอยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้ที่มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างนาย ท. และจำเลยเป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1497 โจทก์ทั้งเจ็ดมีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนการสมรสระหว่างนาย ท. กับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจฟ้องได้เพื่อคุ้มครองสิทธิในมรดก
ท. มีคู่สมรสอยู่แล้ว การที่ ท. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก โดยมิได้หย่าขาดจาก ป. เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ท. กับ จ. ภริยาอีกคนหนึ่งของ ท. แต่ก็เป็นทายาทโดยธรรมของ ท. เมื่อ ท. ตายแล้วโจทก์ย่อมจะมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ท. โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ท. และจำเลยเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1497 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิจากสัญญาเช่าซื้อและการมีอำนาจฟ้องคดีของเจ้าหนี้ที่ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยในฐานะผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์มีหน้าที่ต้องจัดการให้รถยนต์ที่เช่าซื้อตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เช่าซื้อเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วจำเลยไม่จัดการจดทะเบียนโอนสิทธิให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ทั้งตามประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเรื่องการขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ได้ความว่า เฉพาะเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศนี้จะต้องตกลงให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่ฟ้องสถาบันการเงินเป็นจำเลยในคดีแพ่งอันแสดงว่าข้อกำหนดดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นหาตัดสิทธิเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินเช่นโจทก์ที่มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศดังกล่าวที่จะฟ้องคดีแพ่งด้วยไม่ อีกทั้งประกาศดังกล่าวก็หาได้กำหนดให้เจ้าหนี้ทุกคนต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และมิได้ตกลงให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง จึงย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยลูกหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการโดยคณะกรรมการองค์การเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงินเป็นคดีแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5984/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดและอำนาจฟ้อง: บุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องตัวการได้ แต่ไม่อาจฟ้องตัวแทน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดของตัวการที่มีต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่มีข้อความใดที่กำหนดให้บุคคลภายนอกต้องรับผิดหรือมีความผูกพันต่อตัวการเลย บุคคลภายนอกจึงมีอำนาจฟ้องให้ตัวการรับผิดได้แต่บุคคลภายนอกไม่อาจฟ้องตัวแทนได้ และตัวการก็จะฟ้องบุคคลภายนอกให้รับผิดไม่ได้เช่นกัน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลภายนอกจึงหาอาจจะกล่าวอ้างหรือพิสูจน์ว่าโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้จะซื้อในสัญญาที่ทำกับตนนั้นเป็นเพียงตัวแทนเชิดของ ว. ตัวการเพื่อให้จำเลยไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดตามสัญญาได้ไม่ ทั้งการที่จำเลยนำสืบว่าความจริงโจทก์ไม่ใช่ผู้จะซื้อแต่ ว. เป็นผู้จะซื้อนั้น ย่อมเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขาย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การโอนเช็ค, การฉ้อฉล, การสืบพยาน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์การฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ออกเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องคืนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่มีหนี้สินต่อกัน ซึ่งโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้ว จำเลยที่ 3 นำเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ไปฝากไว้กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 กับโจทก์มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง โจทก์ครอบครองเช็คพิพาทแทนจำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 เคยทำหนังสือยอมรับว่าเช็คพิพาท 3 ฉบับ ไม่มี
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีซื้อขายระหว่างประเทศ แม้มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ หากจำเลยยอมรับหนี้บางส่วนและชำระแล้ว
โจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังมิได้ชำระตามสัญญาซื้อขาย จำเลยมีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้และมีหนังสือขอชำระหนี้ นอกจากนี้จำเลยยังได้ชำระหนี้ที่ค้างชำระบางส่วนให้แก่โจทก์ ทั้งยังยอมให้โจทก์เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน ซึ่งธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับสภาพหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์แล้ว แม้สัญญาซื้อขายดังกล่าวมีข้อตกลงว่าบรรดาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการ กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่ามีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งอันเกิดจากหรือเนื่องจากสัญญาซื้อขายตามฟ้องอันโจทก์จะต้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมิได้สั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่โจทก์มิได้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการก่อนจึงชอบแล้ว
การพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่ใช้เงินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 196
การพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่ใช้เงินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี เมื่อมีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการยังไม่สิ้นสุด
การตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทโดยคู่สัญญาไม่จำต้องนำคดีมาสู่ศาลก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 23 และ 30 บัญญัติให้คู่ความนำคดีมาร้องขอต่อศาลในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 โดยอนุญาโตตุลาการ หลังจากมีข้อพิพาทแล้วจำเลยที่ 3 เสนอข้อพิพาทให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอนุญาโตตุลาการ และจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 4 เป็นอนุญาโตตุลาการ แม้โจทก์จะมีข้อโต้แย้งว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการสมบูรณ์หรือไม่ หรืออนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะไปว่ากล่าวเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฎว่าได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการและอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยแล้ว กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง