พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10194/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท - สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ปิดอากรแสตมป์ ไม่กระทบความผิดอาญา
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานไม่ได้ ซึ่งห้ามเฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เมื่อจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดินส่วนที่เหลือ โดยมีสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาแสดง ก็ถือว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อที่ดิน โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีเจตนาออกเช็คพิพาท
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อที่ดิน โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีเจตนาออกเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่ต้องรับผิด
เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้จึงไม่มีหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ผู้สลักหลังอาวัลผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้และฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแก้ไขปี ชำระหนี้เกินอายุความ ศาลยืนตามเดิม
โจทก์ยอมรับว่า จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อปี 2542 แต่ปรากฏว่าเช็คพิพาทมีการแก้ไขตัวเลขปี พ.ศ.2541 เป็น 2544 โดยแก้ไขเลขสุดท้ายของปีจากเลข 1 เป็นเลข 4 ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ใดแก้ไข ทั้งผู้เชี่ยวชาญก็ไม่อาจให้ความเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้แก้ไขและไม่ปรากฏว่าเช็คพิพาทแก้ไขตั้งแต่เมื่อใด การแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ เช็คนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นกับทั้งผู้สลักหลังภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยหรือโจทก์ได้ยินยอมให้มีการแก้ไขดังกล่าว อย่างไรก็ตามการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ประจักษ์ เมื่อเช็คพิพาทตกอยู่ในมือของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 1007 วรรคสอง ซึ่งผู้ทรงจะถือเอาประโยชน์จากเช็คนั้นเสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับใช้เงินตามเช็คนั้นก็ได้เมื่อฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2541 โจทก์นำเช็คพิพาทมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: การแก้ไขวันที่เช็คและการถือเอาประโยชน์จากเช็คเดิม
จำเลยเป็นผู้ออกเช็ค ปรากฏว่ามีการแก้ไขวันที่ออกเช็คของปีพ.ศ.2544 เป็น พ.ศ.2541 แต่ไม่ได้ความว่าถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อใด อาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังจากออกเช็ค คือ ในระหว่างที่เช็คอยู่ในความครอบครองของโจทก์ก็ได้ ทั้งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์และเช็คตกอยู่ในมือของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบกรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคสอง จึงฟังได้ว่าฝ่ายจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโจทก์นำเช็คมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด จึงขาดอายุความตามมาตรา 1002
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยในเช็คพิพาท ศาลฎีกามีอำนาจคำนวณและกำหนดจำนวนเงินต้นที่ชอบได้ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแยก
โจทก์ฎีกาว่า ดอกเบี้ยจำนวน 81,250 บาท ที่โจทก์คิดไว้ล่วงหน้า เป็นดอกเบี้ยที่ชอบ ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในคำฟ้องหรือนำสืบให้เห็นถึงการคิดดอกเบี้ยล่วงหน้าดังกล่าวมาก่อน โดยโจทก์เบิกความเพียงว่าเงินดังกล่าวเป็นค่าเดินทางและค่าตอบแทนในการที่โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ฎีกาของโจทก์เป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะไม่นำสืบให้ได้ความชัดว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทจำนวน 7 ฉบับ ประกอบไปด้วยเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งตกเป็นโมฆะอย่างละเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อเป็นเรื่องของการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องมาจากเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการชำระเงิน ศาลก็ย่อมมีดุลพินิจที่จะกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสำนวนประกอบพฤติการณ์แห่งคดีและทางได้เสียของคู่ความทุกฝ่าย เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเงินต้นตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นที่มาของมูลหนี้ตามเช็ค จำนวนเงินในเช็คพิพาทจำนวน 7 ฉบับ และจำนวนเงินในเช็คที่เหลืออีก 8 ฉบับแล้ว ข้อเท็จจริงได้ความว่าเงินจำนวน 881,250 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงินนั้นแบ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดล่วงหน้าและเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจำนวน 81,250 บาท ซึ่งคิดเป็นต้นเงินจำนวน 800,000 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 90.78 ของจำนวนเงินที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงินจึงสามารถคำนวณต้นเงินของเช็คแต่ละฉบับไว้ว่าเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 90.78 ของยอดเงินตามเช็คฉบับนั้นๆ ตามฟ้อง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทแต่ละฉบับถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
แม้โจทก์จะไม่นำสืบให้ได้ความชัดว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทจำนวน 7 ฉบับ ประกอบไปด้วยเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งตกเป็นโมฆะอย่างละเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อเป็นเรื่องของการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องมาจากเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการชำระเงิน ศาลก็ย่อมมีดุลพินิจที่จะกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสำนวนประกอบพฤติการณ์แห่งคดีและทางได้เสียของคู่ความทุกฝ่าย เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเงินต้นตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นที่มาของมูลหนี้ตามเช็ค จำนวนเงินในเช็คพิพาทจำนวน 7 ฉบับ และจำนวนเงินในเช็คที่เหลืออีก 8 ฉบับแล้ว ข้อเท็จจริงได้ความว่าเงินจำนวน 881,250 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงินนั้นแบ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดล่วงหน้าและเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจำนวน 81,250 บาท ซึ่งคิดเป็นต้นเงินจำนวน 800,000 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 90.78 ของจำนวนเงินที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงินจึงสามารถคำนวณต้นเงินของเช็คแต่ละฉบับไว้ว่าเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 90.78 ของยอดเงินตามเช็คฉบับนั้นๆ ตามฟ้อง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทแต่ละฉบับถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อและผู้สลักหลังเช็ค
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า เช็คพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งมีมูลหนี้ต่อกันหรือไม่ และโจทก์ได้เช็คมาไว้ในครอบครองในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินของโจทก์พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ชำระราคาค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้นำเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือไปมอบให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เสนอขายบ้านพร้อมที่ดินของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทนำไปมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าเช็คพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งมีมูลหนี้ต่อกัน และโจทก์ได้รับเช็คดังกล่าวมาไว้ในครอบครองในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประเด็นข้อพิพาทแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ได้กำหนดประเด็นขึ้นมาวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงมิได้เป็นการหยิบยกประเด็นขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทเพราะเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์หรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 2 เช็คพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จึงมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นและถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถูกฟ้องในมูลเช็ค หาอาจต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ของภริยาจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 2 เช็คพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จึงมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระค่าที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นและถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถูกฟ้องในมูลเช็ค หาอาจต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่ายหรือกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทก่อนสัญญากู้ยืม: ไม่มีหนี้บังคับได้ จึงไม่เข้าความผิด พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการจัดทำหนังสือสัญญากู้เงิน เช็คพิพาทจึงมิได้ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เนื่องจากขณะที่ออกเช็คพิพาทนั้นหนี้ดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหน้งสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาระงับข้อพิพาทจากเช็คพิพาท: ยุติคดีอาญาได้
เมื่อพิเคราะห์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งมีข้อตกลงที่โจทก์ยอมให้แก่จำเลยทั้งสามผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นงวด โดยฝ่ายจำเลยยอมออกเช็คฉบับใหม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้เช็คที่ฝ่ายจำเลยสั่งจ่ายทั้งสามฉบับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้อันเป็นการไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยทั้งสามรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้ได้อีก ถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสามได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5703/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้อง และการหักกลบลบหนี้จากเช็คพิพาท ศาลฎีกาวินิจฉัยการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไม่ชัดเจน และคำนวณหนี้คงเหลือ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับบริษัท ส. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาบริษัท ส. โจทก์และจำเลยได้ทำบันทึกการโอนสิทธิเรียกร้อง โดยบริษัท ส. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์ และจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. สาขาประตูน้ำปทุมวัน ทั้ง 12 ฉบับ เมื่อเช็คถึงกำหนดและโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและใบคืนเช็ค การที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความเป็นประเด็นโดยจำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสองปี ไม่มีรายละเอียดว่าคดีเริ่มนับอายุความเมื่อใด ขาดอายุความเมื่อใด เหตุใดจึงขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5326/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทขาดองค์ประกอบความผิดเนื่องจากหนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสามร่วมกันออกให้แก่โจทก์แลกเปลี่ยนกับเช็คที่จำเลยทั้งสามร่วมกันออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม 3,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กู้ยืมไปจากโจทก์ และโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กู้ยืมเงินโดยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมไว้ ดังนั้น การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น...ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิด..." และ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้ในขณะจำเลยทั้งสามร่วมกันออกเช็ค บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" หนี้เงินกู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีจำนวนเกินกว่าห้าสิบบาท เมื่อไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไว้เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง แต่หนี้นั้นก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4