คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเปลี่ยนแปลงจากฟ้องไม่ถือว่าแตกต่างไปจากฟ้อง หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ และยังคงมีหน้าที่รับผิดตามสัญญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปรับเงินไปตามสัญญาและได้ทำหนังสือกู้ให้โจทก์ไว้ตามสำเนาสัญญาท้ายฟ้อง แม้ได้ความตามทางพิจารณาว่า การกู้ยืมรายนี้มีมูลกรณีมาจากการที่จำเลยยืมเงินโจทก์ซื้อข้าวสารหรือเชื่อข้าวสารของโจทก์แล้วสัญญาว่าจะใช้ด้วยข้าวเปลือกดังโจทก์จำเลยนำสืบก็ดี แต่ภายหลังจำเลยไม่เอาข้าวเปลือกใช้หนี้แต่มาทำสัญญากู้ให้แก่โจทก์ไว้ในภายหลังตามสัญญากู้ฉบับที่โจทก์นำมาฟ้องและจำเลยยังไม่ได้ใช้หนี้ กรณีเช่นนี้เป็นแต่เพียงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงว่ามูลกรณีแห่งการกู้ยืมรายนี้เป็นมาอย่างไรไม่ใช่เรื่องได้ความแตกต่างผิดไปจากฟ้องทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้เพราะจำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ว่ามีหนี้สินเดิมกับโจทก์มาจริงเนื่องจากการซื้อเชื่อข้าวสารโจทก์และจำเลยก็ได้เอาข้าวเปลือกชำระไปจนหมดหนี้สินแล้วไม่มีพันธะต่อกัน ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ลายมือของจำเลย หากแต่จำเลยนำสืบไม่สม จำเลยต้องใช้หนี้ตามโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเขตจังหวัดชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่มีกฎหมายเฉพาะ แต่กระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจข้าหลวงตรวจการดำเนินการได้
ในปี พ.ศ.2498 ยังไม่มีบทกฎหมายหรือกฎข้อบังคับใดที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะถึงวิธีปฏิบัติในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด เมื่อไม่แน่ว่าท้องที่หมู่บ้านหนึ่งอยู่ในเขตของจังหวัดใดในระหว่าง 2 จังหวัด ทีมีเขตติดต่อกัน กระทรวงมหาดไทยมอบให้ข้าหลวงตรวจการมหาดไทยภาคเป็นประธานของคณะกรรมการ ให้มีอำนาจกำหนดเขตระหว่าง 2 จังหวัดนี้ให้แน่นอน แล้วว่าการกำหนดเขตระหว่างจังหวัดนี้ไม่จำต้องทำเป็นประกาศกำหนดเขตตำบล โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457เพียงแต่ทำเป็นบันทึกข้อตกลงระหว่างจังหวัดทั้งสองพร้อมทั้งทำแผนที่แสดงแนวเขตให้ชัดแจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐานทั้งทำแผนที่แนวเขตให้ชัดแจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐานก็พอแล้ว ข้อหลวงตรวจการ ฯ ภาคจึงปฏิบัติการตามคำสั่งดังนี้ การกำหนดเขตจังหวัดทั้งสองจึงเป็นการชอบแล้ว
ในปี พ.ศ.2498 นั้น ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลได้ถูกยุบเลิกไปก่อนแล้ว ไม่มีสมุหเทศาภิบาลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะขออนุมัติในการที่จะเปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้านและตำบลตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 6 แต่เมื่ออำนาจหน้าที่ในการบริหารตรวจการของสมุหเทศาภิบาลย่อมตกไปอยู่กับกระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทยสั่งการและมอบให้ข้าหลวงตรวจการ ฯ ภาค เป็นผู้ดำเนินการกำหนดเขตจังหวัดให้แน่นอน การที่ข้าหลวงตรวจการ ภาคกำหนดเขตจังหวัดจึงเป็นการชอบ แม้จะมีผลเป็น+เปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้านและตำบลด้วย ในปี พ.ศ.2497 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ออกใช้แล้ว การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดหรือเขตอำเภอจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 32 และ 39 ผู้ว่าราชการภาคไม่มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดได้ ถ้าผู้ว่าราชการภาคกำหนดแนวเขตจังหวัดใหม่ ทำให้ที่พิพาทซึ่งเคยอยู่ในเขตจังหวัดจะต้องไปอยู่ในเขตจังหวัด บ.ก็ยังต้องถือว่าที่พิพาทยังขึ้นอยู่กับจังหวัด จ. ศาลจังหวัด จ. มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการยอมความและการเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของทางเดินสาธารณะหลังศาลพิพากษา
โจทก์จำเลยทำยอมความกันว่า ให้ถือตรอกทางเดินที่พิพาทเป็นทางสาธารณะ และจำเลยยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยปฏิบัติตามยอมแล้วต่อมาโจทก์กลับปลูกสร้างขึ้นบนทางเดินนั้นดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอในคดีเดิมให้บังคับโจทก์รื้อไม่ได้เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่กรณีตามยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องคดีละเมิดและการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับ
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้จำเลยชดใช้เงินของโจทก์ที่จำเลยยักยอกเอาไปตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2494 อันเป็นมูลความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและมีอายุความฟ้องร้อง 20 ปี ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 78(1) แต่ต่อมากฎหมายลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิก และมีประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทน มูลความผิดของจำเลย ต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งใช้ในภายหลังและมีอัตราโทษก่อนแก้ไขเบากว่าอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 131 อันเป็นกฎหมายซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งมีอายุความฟ้องร้อง 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(2) อายุความฐานละเมิดในทางแพ่งจึงต้องถืออายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(2) ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง แม้จำเลยผู้ยักยอกจะยังมิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอมยอมความกับการเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วย เช่นนี้ ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตรเป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉันกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรค 2 คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ " ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละ เป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้ กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้ จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วย ซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมา เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะส่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596 นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ (เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู) ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากปล้นทรัพย์เป็นบุกรุก และผลกระทบต่อการพิพากษา
ฟ้องว่าปล้นทรัพย์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าบุกรุก ลงโทษจำเลยไม่ได้ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญา: ความสมบูรณ์ของฟ้องที่บรรยายลักษณะการกระทำผิดที่เปลี่ยนแปลงไป
ฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายว่าได้มีผู้บังอาจปลอมใบเสร็จรับเงินและฟ้องตอนหลังกล่าวว่า จำเลยบังอาจสมคบกันปลอมใบเสร็จรับเงินนั้นเป็นการกล่าวว่ามีผู้ปลอมใบเสร็จรับเงินซึ่งหมายรวมถึงตัวจำเลยเป็นผู้ปลอมด้วย ข้อเท็จจริงในฟ้องจึงหาขัดกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันเพื่อป้องกันการยึดทรัพย์และการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายอาญา
จำเลยถูกฟ้องว่าสมคบกันทำผิด กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา308,309 แต่ปรากฏว่าขณะรับฟ้องแล้วกฎหมายลักษณะอาญาถูกยกเลิกไปตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499แต่ถ้าหากการกระทำที่จำเลยถูกฟ้องอาจเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา(มาตรา350)แล้วศาลก็ชอบที่จะดำเนินการพิจารณาไปแล้วสั่งหรือพิพากษาไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์การเช่าเดิมเพื่อค้า แม้เปลี่ยนการใช้งานเล็กน้อย ยังไม่ถือเปลี่ยนสัญญา
ห้องเช่าอยู่ในทำเลการค้าพฤติการณ์แต่เดิมมาฟังได้ว่าวัตถุประสงค์ของการเช่านั้นเพื่อการค้า แม้ต่อมาผู้เช่าจะเลิกประกอบการค้า แต่ไม่มีเหตุพอที่จะแสดงว่าคู่สัญญาได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์การเช่าใหม่ ผู้เช่าจะอ้างความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ ไม่ได้(การเช่าไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951-952/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยเรื่องพินัยกรรมฉบับพิพาท ความถูกต้องของลายมือชื่อ และการเปลี่ยนแปลงเจตนาเดิมของผู้ทำพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องขอทำลายพินัยกรรม อ้างว่าปลอมหรือทำโดยสำคัญผิดจำเลยให้การว่า เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ โจทก์ขอแก้ฟ้องยืนยันว่าเป็นพินัยกรรมปลอมอย่างเดียว จำเลยไม่ให้การอย่างไรอีก ดังนี้จะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่ถนัด เพราะจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้ไว้ในชั้นแรกแล้ว
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดใน 15 วัน ศาลไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ได้
ฟ้องบรรยายข้อเท็จจริงมาโดยละเอียด แล้วลงท้ายว่าผู้ตายไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือในพินัยกรรมหรือจำเลยแอบกดลายนิ้วมือผู้ตายลงโดยผู้ตายไม่รู้ตัวขอให้แสดงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะเป็นที่เข้าใจว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ทายาทโดยธรรม ฟ้องขอให้ทำลายพินัยกรรมได้แม้จะมีพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งซึ่งโจทก์ไม่มีส่วนได้รับมรดกเลยก็ตาม
of 40