พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์และการดำเนินการตามขั้นตอนการฟ้องร้องกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรากตรำทำงานในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารและพนักงานขับรถอันเป็นงานหนักให้จำเลย ได้กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งสหภาพแรงงานฯ ที่โจทก์ เป็นสมาชิกได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิด อันเป็นการอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำ อันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา121 นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำ อันไม่เป็นธรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหาย และสิทธิในการรับเงินโบนัส
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายไม่ว่าการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนั้นจะต้องด้วยระเบียบว่าด้วยวินัยส่วนใดและมีโทษเป็นประการใด จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยมีระเบียบการจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างที่มีความดีความชอบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นประโยชน์แก่จำเลยไม่เป็น ผู้ได้รับการลงโทษจากจำเลยไม่ว่าสถานใดสถานหนึ่ง เมื่อโจทก์ปฏิบัติ หน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยสูญหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับโบนัสตามระเบียบ และการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวในระหว่างวันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ 2529 แต่จำเลยเพิ่งออกคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530 เพราะต้องใช้เวลาสอบสวนความจริง ก็ถือได้ว่าโจทก์ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยระหว่างวันที่ 21-25 กุมภาพันธ์ 2529 โจทก์จึงเป็นผู้ได้รับโทษจากจำเลยตามระเบียบการจ่ายโบนัสดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์กระทำผิด นับแต่นั้นมาจำเลยย่อมไม่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปี เกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13 ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือสั่งจ่ายค่าเสียหาย กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์เสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้ใช้ค่าเสียหาย โบนัสเงินเดือน เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและเงินเดือนที่ไม่น้อยกว่าที่โจทก์ได้รับในขณะถูกเลิกจ้างเมื่อศาลเห็นว่าโจทก์กับจำเลยสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้และใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งไม่ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามฟ้องให้โจทก์อีกตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ซึ่งให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร ไม่เป็นการพิพากษาไม่ครบตามข้อหาในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: เหตุผลเลิกจ้างสำคัญกว่ากระบวนการสอบสวนที่ไม่ถูกต้อง
แม้การสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกำหนดเวลา ตัวคณะกรรมการหรือกรณีอื่นใดก็ตาม จะถือเป็นเหตุว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างที่แท้จริงว่าได้มีได้เกิดขึ้นหรือไม่ และการกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและมีเหตุผลเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลเลิกจ้าง ไม่ใช่แค่การจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้นจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นสาเหตุที่สมควรหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลเลิกจ้างเป็นสำคัญ ไม่ใช่การจ่ายค่าชดเชย
มีผู้โดยสารแอบขึ้นรถทางด้าน หลังคันที่โจทก์ขับรับส่งผู้โดยสารและมีเงินค่าโดยสารไม่พอ โจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคา โดยที่ผู้โดยสารเป็นหญิงอายุยังน้อยและมาเพียงคนเดียว ในฐานะที่โจทก์เป็นพนักงานขับรถและเป็นผู้ใหญ่ย่อมมีความเมตตาสงสาร จึงให้ความช่วยเหลือด้วยมนุษยธรรม โจทก์ไม่เจตนาทุจริตหรือกระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นเหตุที่สมควรหรือไม่เพียงไรมิได้อยู่ที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาสาเหตุ ไม่ใช่แค่การจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้นจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นสาเหตุที่สมควรหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง โดยต้องให้สหภาพแรงงานเข้าร่วมสอบสวนวินัย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ มีว่าเมื่อจะมีการแต่ง ตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนพนักงานของจำเลยกรณีที่มีการกล่าวหาว่าพนักงานของจำเลยถูกกล่าวหาหรือมีความผิดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค จำเลยต้องให้ผู้แทนของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค เข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนด้วยโดยให้สหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค เป็นผู้เสนอชื่อ ผู้แทนไม่น้อยกว่า 1 คน ดังนั้น การออกคำสั่งของจำเลยหรือทำการสอบสวนพนักงาน จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเคร่งครัด การที่จำเลยแต่ง ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์ทางวินัยโดยไม่มีผู้แทนของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาคเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนและจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานนั้น เป็นคำสั่งที่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและกรณีต้องถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีการสอบสวนที่ไม่ชอบอันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามสัญญาจ้างที่มีเงื่อนไขอายุ ลูกจ้างต้องพ้นหน้าที่เมื่ออายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ ศาลฎีกายืนตามสัญญา
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่า ศาลฎีกาพิพากษายืน เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กำหนดว่าลูกจ้างจะต้องพ้นหน้าที่เมื่อมีอายุ30 ปีบริบูรณ์ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับตามความในข้อ 3 ของสัญญาจ้างดังกล่าวอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2529 โจทก์มีอายุครบ 30ปีบริบูรณ์วันที่ 23 เมษายน 2529 ในชั้นบังคับคดี ขณะนั้นโจทก์มีอายุเกิน 30 ปีแล้ว จำเลยได้มีคำสั่งที่ 08/2530 ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2529 ถึงวันที่โจทก์มีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ กับได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยนำมาวางศาลดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาครบถ้วนและถูกต้องแล้ว การบังคับคดีเป็นอันสิ้นสุด ที่โจทก์จำเลยได้ทำข้อตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 เป็นเรื่องนอกเหนือจากคำพิพากษา ไม่อาจนำมาบังคับในคดีนี้ได้.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่397/2524)