คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบข้อเท็จจริง การไม่ยื่นตามกำหนดทำให้คำร้องไม่ชอบ
คำร้องของจำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง การยื่นคำร้องของจำเลยที่ 1 จึงต้องกระทำก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 179 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2546 โดยให้งดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2067 และ 2068 ไว้เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคา จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำที่ดินโฉนดเลขที่ 2067 และ 2068 ออกขายทอดตลาดในครั้งต่อไปตามประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2546 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ช้ากว่าสิบห้าวัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: คำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดต้องยื่นภายใน 15 วันนับแต่ทราบข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในคำร้องว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้แก่โจทก์ตลอดมา คงเหลือหนี้ที่ต้องชำระพร้อมดอกเบี้ยเพียง 12,000,000 บาท ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินรวมเป็นเงิน 12,010,000 บาท พอจำนวนที่ชำระหนี้แล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียังคงนำทรัพย์สินที่เหลือออกขายทอดตลาด คำร้องดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติกรรมอันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามมาตรา 296 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินร่วมก่อนบังคับคดี เจ้าหนี้บังคับคดีได้เฉพาะส่วนของลูกหนี้
ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยและผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินพิพาทส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลแรงงานต่อกองทุนสหภาพแรงงาน แม้กรรมการผู้เบิกจ่ายเปลี่ยนไป
โจทก์ฟ้องว่าที่ประชุมสมัชชาของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ลงมติให้จ่ายเงินกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งเก้าในฐานะกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินกองทุนดังกล่าวไม่ดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งเก้าให้การว่าที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ไม่ได้ลงมติเสียงข้างมากให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ ประเด็นพิพาทคดีนี้จึงเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องโดยตรงว่า ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ผู้ร้องมีมติเสียงข้างมากให้จ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ผู้ร้องมีมติให้จ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์ จึงได้พิพากษาให้จำเลยทั้งเก้าจ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนดังกล่าวแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาจึงบังคับโดยตรงต่อกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ที่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เพียงแต่ในขณะที่ฟ้องคดีนี้จำเลยทั้งเก้าเป็นกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินจากกองทุนดังกล่าว จึงให้จำเลยทั้งเก้าเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าต่อมาจำเลยบางคนไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายแล้วเช่นนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจสั่งอายัดเงินกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์จากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระตามคำพิพากษาศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 282 จึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดี คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 58 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในชั้นบังคับคดี ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายโดยไม่ต้องวางเงินประกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีอันเป็นกระบวนการในชั้นบังคับคดี แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อมานั้น แม้การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทำขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว แต่การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกกลับ แก้หรือถูกยกไปด้วย อีกทั้งกรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนจากการยื่นอุทธรณ์เพราะหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดียังคงดำเนินการบังคับคดีกับจำเลยได้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคดีนี้จึงไม่จำต้องนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางไว้ต่อศาลและศาลอุทธรณ์อาศัยเหตุที่จำเลยไม่นำเงินส่วนที่ขาดหรือหาประกันมาวางเพิ่มต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นกระบวนพิจารณาและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1763/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้ไม่ถือเป็นการสละสิทธิในการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยได้นับแต่นั้น การที่โจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทันทีแต่ยินยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปอีกมิใช่เป็นการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะบังคับคดีแก่จำเลย ไม่มีผลทำให้หมายบังคับคดีสิ้นผลหรือเสียไป ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามที่โจทก์ให้โอกาส โจทก์ย่อมขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ ไม่จำต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีใหม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับการบังคับคดี ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
การเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (2) ต้องเสนอต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ยื่นคำฟ้องต่อศาลดังกล่าวเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการบังคับคดี: ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีเดิม ไม่ใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแพ่งธนบุรีและคดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฟ้องของโจทก์เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีในคดีหมายเลขแดงที่ 459/2543 ของศาลแพ่ง ซึ่งออกหมายบังคับคดีส่งให้ไปศาลจังหวัดเพชรบุรีบังคับคดีแทน และจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 15 วรรคท้าย และมาตรา 302 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย โจทก์จะต้องเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีคือยื่นต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดี หรืออาจยื่นต่อศาลจังหวัดเพชรบุรีซึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทน ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคดีนี้โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นในคดีเดิมคือศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 459/2543 ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี หาใช่ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น (ศาลแพ่ง) เป็นคดีใหม่ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14800/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อบังคับคดี: สิทธิเจ้าหนี้ vs. สิทธิขอส่วนแบ่ง
เมื่อทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้ร้องคงมีสิทธิขอกันส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเท่านั้น จึงไม่สมควรมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง โดยให้ระงับการขายทอดตลาดทรัพย์ไว้ในระหว่างการอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการอายัดทรัพย์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยสั่งอายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท ส. และบริษัท ส. ได้ส่งเงินตามคำสั่งอายัดต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลสั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลให้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เมื่อโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีและศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2549 อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานศาลหรือเป็นเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีดังที่ผู้ร้องอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลออกหมายบังคับคดี อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังที่ผู้ร้องเข้าใจไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งล่วงพ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ถือว่าบริษัท ส. ส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์
of 270