พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้โอนที่ดินเพื่อชำระหนี้โดยไม่คำนึงถึงราคาตลาดเป็นโมฆะ เพราะเอารัดเอาเปรียบผู้กู้
ข้อตกลงที่กำหนดว่า หากโจทก์ผู้กู้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ ส. ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ก็ให้สิทธิ ส. โอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ได้ทันทีตามหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้โดยไม่กรอกข้อความให้ ส. ยึดถือไว้เป็นประกันโดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดินพิพาทว่าจะเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบคือเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง ย่อมตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 656 วรรคสาม ส. หามีสิทธิบังคับให้โจทก์ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทไม่ การที่จำเลยบุตรของ ส. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยขัดต่อ มาตรา 656 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้งเพื่อป้องกันมิให้ผู้กู้ยืมถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ยืม ปัญหานี้จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่มีข้อตกลงให้โอนที่ดินเพื่อชำระหนี้โดยไม่คำนึงถึงราคาตลาด เป็นโมฆะ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ระบุว่า "เพื่อเป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าฯได้นำโฉนดที่ดินพร้อมหลักฐานต่างๆ มอบอำนาจในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อข้าฯ ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมดเมื่อครบสัญญาโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาลใดๆ" ตามข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์หากไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ ส. บิดาจำเลย เมื่อครบกำหนดตามสัญญาก็ให้สิทธิ ส. โอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ได้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงราคาที่ดินพิพาทว่าจะเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบคือเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ส. ไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์กำหนดการโอนที่ดินพิพาท
การที่จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยขัดต่อประมวบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงลเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์มีคำขอให้ใส่ชื่อโจทกืเป็นเจ้าของที่ดินตามเดิมและหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมกลับมามีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามเดิม จึงไม่จำเป็นต้องพิพากษาบังคับตามคำขอดังกล่าวของโจทก์อีก
การที่จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยขัดต่อประมวบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงลเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์มีคำขอให้ใส่ชื่อโจทกืเป็นเจ้าของที่ดินตามเดิมและหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมกลับมามีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามเดิม จึงไม่จำเป็นต้องพิพากษาบังคับตามคำขอดังกล่าวของโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและการฟ้องล้มละลาย: ความรับผิดชอบหนี้สินที่ยังไม่ชำระ
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์แยกเป็นต้นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 187,093 บาท และโจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระรวม 10 งวด หากจำเลยทั้งสองผิดนัดยอมให้คิดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม การที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว กรณีจึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งโจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์จึงนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังมีคำพิพากษา และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ การวางเงินค่าธรรมเนียมก่อนอุทธรณ์
จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10264/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนมัดจำจากสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: กำหนดเวลาชำระหนี้ที่แน่นอนและการดำเนินการขอความยินยอม
หนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า นัดโอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน เมื่อปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวทำขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2534 กำหนดโอนสิทธิการเช่าซึ่งต้องกระทำภายใน 3 เดือนนั้นก็จะครบกำหนดภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 การที่คู่สัญญากำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอนตามวันแห่งปฏิทินเช่นนี้ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามมิได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อันเป็นกรณีที่ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วคือตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 อันเป็นวันที่จำเลยทั้งสามผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
แม้การโอนสิทธิการเช่าในกรณีนี้จะต้องได้รบความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนก็ตาม แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการโอนสิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตามสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้
แม้การโอนสิทธิการเช่าในกรณีนี้จะต้องได้รบความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนก็ตาม แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการโอนสิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตามสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10264/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนมัดจำจากสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: กำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า นัดโอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของผู้ให้เช่าจะได้ระบุว่า การโอนสิทธิการเช่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการใช้สิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการติดต่อขอให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยทั้งสามโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำจากการผิดสัญญาดังกล่าวได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของผู้ให้เช่าจะได้ระบุว่า การโอนสิทธิการเช่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการใช้สิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการติดต่อขอให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยทั้งสามโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำจากการผิดสัญญาดังกล่าวได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8337/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหลักประกันหลังการฟื้นฟูกิจการ: เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนจากการฟื้นฟูกิจการ จำเลยมีสิทธิขอคืนหลักประกันได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับผิดคืนเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ได้รับไปจนกว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดห้องชุดเลขที่ 1095/161 ของจำเลยที่ 3 และที่ดิน 4 แปลงในจังหวัดภูเก็ต ของจำเลยที่ 1 ไว้ แต่ระหว่างที่มีการอุทธรณ์คำพิพากษา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีสำหรับห้องชุดของจำเลยที่ 3 และที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้เป็นการชั่วคราว ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนหลักประกันที่โจทก์ได้นำยึดไว้ โดยขอให้ถอนการยึดที่ดิน 4 แปลง และจำเลยที่ 1 ยินยอมทำหนังสือค้ำประกันในคดีแพ่ง โดยนำห้องชุดเลขที่ 252/252 และเลขที่ 252/11 รวม 2 ห้อง มาวางเป็นหลักประกันแทนโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3 แพ้คดี และไม่ชำระเงินตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 ยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินที่นำมาวางไว้เป็นหลักประกันต่อศาลทันที ต่อมาศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งอายัดกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสองห้องไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อให้ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนห้องชุดทั้งสองห้อง จึงถือได้ว่า ห้องชุดเลขที่ 252/252 และเลขที่ 252/11 รวม 2 ห้อง ของจำเลยที่ 1 เป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 1 วางต่อศาลสำหรับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อให้ศาลงดการบังคับคดี หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง โจทก์จะต้องไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ก็ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ และได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ตามแผนฟื้นฟูกิจการจนครบถ้วน เมื่อศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงส่งผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ อันรวมถึงหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/75 โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อันรวมถึงทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาวางเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ได้อีก จึงต้องคืนหลักประกันที่วางประกันให้แก่จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: การออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง & เจตนาออกเช็คเพื่อใช้หนี้
การออกเช็คที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นองค์ประกอบการกระทำความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
เช็คมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย ทั้งจำนวนเงินและวันที่ลงในเช็คตรงตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินตามปกติแสดงว่าจำเลยออกเช็คไว้ล่วงหน้าให้เป็นการชำระหนี้ มิใช่เพียงเพื่อประกันหนี้ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คมอบให้โจทก์เป็นผู้กรอกวันเดือนปีในเช็คต่อหน้าจำเลยด้วยความยินยอมเห็นชอบของจำเลย ถือว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็คดังกล่าว
เช็คมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย ทั้งจำนวนเงินและวันที่ลงในเช็คตรงตามหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินตามปกติแสดงว่าจำเลยออกเช็คไว้ล่วงหน้าให้เป็นการชำระหนี้ มิใช่เพียงเพื่อประกันหนี้ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คมอบให้โจทก์เป็นผู้กรอกวันเดือนปีในเช็คต่อหน้าจำเลยด้วยความยินยอมเห็นชอบของจำเลย ถือว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็คดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอม, การฉ้อโกง, และสิทธิในการบังคับคดี: ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้หากยังไม่ได้รับชำระหนี้
พ. ปลอมหนังสือมอบอำนาจ แล้วนำไปใช้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความลดยอดหนี้และรับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ทั้งห้า และแม้ว่าโจทก์ทั้งห้าจะได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้แก่ พ. ไป แต่ พ. เป็นทนายความของโจทก์ทั้งห้าย่อมถือเป็นผู้มีวิชาชีพและมีจรรยาบรรณเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนว่าจะกระทำการใด ๆ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของตนเพื่อจรรโลงความยุติธรรมในสังคม ทั้งจะต้องรักษาผลประโยชน์แห่งลูกความของตนไม่ให้เป็นที่เสื่อมเสีย เช่นนี้ การที่ พ. นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ทั้งห้าลงลายมือชื่อไปปลอมเอกสาร ย่อมถือไม่ได้ว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ทั้งห้า เมื่อ พ. นำหนังสือมอบอำนาจปลอมของโจทก์ทั้งห้าไปใช้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความลดยอดหนี้และรับเงินจากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่า โจทก์ทั้งห้าร่วมรู้เห็นกับการกระทำของ พ. ดังกล่าว การทำสัญญาระหว่าง พ. กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งห้า พ. จึงไม่มีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ทั้งห้า ไม่มีอำนาจรับเงินหรือเช็คจากจำเลยที่ 2 ไว้แทนโจทก์ทั้งห้า และมิใช่กรณีตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจในอันที่ตัวการจะให้สัตยาบัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ได้ ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จะได้ฟ้อง พ. ให้คืนเงินที่รับไว้จากจำเลยที่ 2 แก่โจทก์ที่ 3 และที่ 4 หรือร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาต่อ พ. กับพวกก็ตาม ก็เป็นเพียงการเรียกร้องค่าเสียหายและการดำเนินคดีเนื่องจากโจทก์ที่ 3 และที่ 4 ถูก พ. กระทำละเมิด ฉ้อโกง และยักยอกไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ พ.
ภายหลังจากที่ พ. รับเงินและเช็คจากจำเลยที่ 2 แล้ว พ. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและรับเงินตามเช็คเป็นของตน มิได้นำเงินที่ได้รับมาไปมอบให้แก่โจทก์ทั้งห้า ทั้งยังนำเช็คส่วนที่เหลืออีก 29 ฉบับ รวมเป็นเงิน 3,050,000 บาท ไปขายลดคืนให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคาเพียง 900,000 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินตามเช็คจำนวนมาก ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่ พ. จะต้องนำเช็คมาขายลดคืนแก่จำเลยที่ 2 ในราคาดังกล่าวและไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ทั้งห้าที่เป็นลูกความ การที่จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 900,000 บาท แก่ พ. เพื่อแลกกับเช็คจำนวน 3,050,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งห้า ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่สมคบกับ พ. เพื่อที่จะไม่ชำระเงินแก่โจทก์ทั้งห้าตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต เช่นนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างว่าตนได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งห้าครบถ้วนแล้วขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ เมื่อโจทก์ทั้งห้ายังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จึงยังคงมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้
ภายหลังจากที่ พ. รับเงินและเช็คจากจำเลยที่ 2 แล้ว พ. นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและรับเงินตามเช็คเป็นของตน มิได้นำเงินที่ได้รับมาไปมอบให้แก่โจทก์ทั้งห้า ทั้งยังนำเช็คส่วนที่เหลืออีก 29 ฉบับ รวมเป็นเงิน 3,050,000 บาท ไปขายลดคืนให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคาเพียง 900,000 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินตามเช็คจำนวนมาก ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่ พ. จะต้องนำเช็คมาขายลดคืนแก่จำเลยที่ 2 ในราคาดังกล่าวและไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ทั้งห้าที่เป็นลูกความ การที่จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 900,000 บาท แก่ พ. เพื่อแลกกับเช็คจำนวน 3,050,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งห้า ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่สมคบกับ พ. เพื่อที่จะไม่ชำระเงินแก่โจทก์ทั้งห้าตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต เช่นนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างว่าตนได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งห้าครบถ้วนแล้วขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ เมื่อโจทก์ทั้งห้ายังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จึงยังคงมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิในการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามแผน, ดอกเบี้ย, และค่าหุ้น
ในการพื้นฟูกิจการนั้น จำนวนหนี้และวิธีการชำระหนี้ เป็นสาระสำคัญที่ผู้ทำแผนต้องระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (3) (ข) เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการนั้น และผู้บริหารแผน ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบ หากแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มิได้กำหนดวิธีการชำระหนี้ของเจ้าหนี้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร กรณีจึงต้องปฏิบัติตามวิธีการชำระหนี้ที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. การที่ผู้บริหารแผนออกประกาศกำหนดวิธีการชำระหนี้ในภายหลัง ด้วยวิธีการที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผน และไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. โดยที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่ยินยอม จึงเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนและโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการได้
แม้หนี้ที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำขอรับชำระหนี้ศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ร้องทั้งสองได้รับชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องทั้งสองจะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ก็จะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ
แม้หนี้ที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำขอรับชำระหนี้ศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ร้องทั้งสองได้รับชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องทั้งสองจะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ก็จะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ