พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4522/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดีเป็นของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจเป็นคู่ความและฎีกาคัดค้านคำพิพากษาได้
ป.วิ.พ. มาตรา 296 และมาตรา 302 ให้อำนาจเกี่ยวกับการบังคับคดีเป็นของศาล ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นตามมาตรา 1 (14) เป็นเจ้าพนักงานที่ต้องปฏิบัติในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลเท่านั้นไม่มีอำนาจเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4522/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ใช่คู่ความ ไม่มีสิทธิฎีกา และไม่ต้องรับผิดชอบค่าฤชาธรรมเนียม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 และมาตรา 302 บัญญัติกำหนดให้อำนาจเกี่ยวกับการบังคับคดีเป็นของศาล ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 1 (14) บัญญัติว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี หมายความว่า เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่นผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน" เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นเจ้าพนักงานที่ต้องปฏิบัติในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลเท่านั้น ไม่มีอำนาจเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายใหม่ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะผู้คัดค้านไม่ใช่คู่ความในคดี ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีจากการขายทอดตลาดทรัพย์บังคับคดี: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนภาษีที่ทดรองจ่ายได้
ในการรับจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ ประมวลรัษฎากร มาตรา 50 (5) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ให้หักภาษีเงินได้ไว้และมาตรา 52 วรรคสอง ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้รับเงินภาษีที่นำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้จ่ายเงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมาจากจำเลย จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ดังกล่าวซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) และ 50 (5) ก่อนที่จะจ่ายให้โจทก์รับไปเมื่อผู้ซื้อทรัพย์ไปขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาด แต่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าว ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะเรียกคืนเงินภาษีที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4483/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเรียกค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 154 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีเงินพอที่จะเสียค่าใช้จ่ายนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินไม่เกินร้อยบาทได้โดยพลัน
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ชอบที่จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้วางเงินอีกตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าการวางเงินอีกนั้นไม่จำเป็นหรือมากไป ก็อาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดสองวันนับตั้งแต่ได้รับบอกกล่าว ขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินที่จะวางอีก หรือส่วนของจำนวนเงินซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมเสียแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นได้
ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกแห่งมาตรานี้โดยพลัน หรือไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวแล้วจนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดี แม้ในวรรคแรกของมาตราดังกล่าวจะกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินไม่เกินร้อยบาทแต่ในวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป ทั้งเงินที่วางดังกล่าวก็เป็นเพียงการทดรองค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีไว้ก่อน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ยึดไว้แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยคืนเงินทดรองค่าใช้จ่ายให้โจทก์ก่อนหักชำระหนี้อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่ต้องรับภาระเองอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้โจทก์ให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์จำนวน 1,500 บาท แล้วจึงจะดำเนินการสั่งในคำขอยึดทรัพย์ต่อไป โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควรเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคสาม กรณีจึงมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ตกอยู่ในความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ชอบที่จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้วางเงินอีกตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าการวางเงินอีกนั้นไม่จำเป็นหรือมากไป ก็อาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดสองวันนับตั้งแต่ได้รับบอกกล่าว ขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินที่จะวางอีก หรือส่วนของจำนวนเงินซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมเสียแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นได้
ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกแห่งมาตรานี้โดยพลัน หรือไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวแล้วจนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดี แม้ในวรรคแรกของมาตราดังกล่าวจะกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินไม่เกินร้อยบาทแต่ในวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป ทั้งเงินที่วางดังกล่าวก็เป็นเพียงการทดรองค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีไว้ก่อน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ยึดไว้แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยคืนเงินทดรองค่าใช้จ่ายให้โจทก์ก่อนหักชำระหนี้อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่ต้องรับภาระเองอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้โจทก์ให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์จำนวน 1,500 บาท แล้วจึงจะดำเนินการสั่งในคำขอยึดทรัพย์ต่อไป โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควรเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคสาม กรณีจึงมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ตกอยู่ในความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4483/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการเรียกค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์ และผลของการไม่วางเงินค่าใช้จ่ายตามที่กำหนด
ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคแรก กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดีไม่เกินร้อยบาท แต่ในวรรคสองให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในขณะยื่นฟ้องหากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป เมื่อโจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควร เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามมาตรา 154 วรรคสาม กรณีมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตามมาตรา 283
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลชั้นต้นเพิกถอนการขายทอดตลาดที่มิชอบ แม้ศาลแพ่งเป็นผู้มีคำสั่งบังคับคดี
ศาลแพ่งได้ออกหมายบังคับคดีส่งไปให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีแทน เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้เมื่อจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ชอบเพราะราคาที่ขายได้ต่ำเกินสมควร เพราะเกิดจากการคบคิดฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นไปให้ศาลแพ่งได้และหากศาลชั้นต้นพบว่ามีความไม่ถูกต้องของการบังคับคดีจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง ย่อมมีอำนาจสั่งไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง หาขัดต่อมาตรา 302 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนภาระจำยอม แม้ดัดแปลงสภาพก็ยังต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เปิดถนนภาระจำยอม และทำให้อยู่ในสภาพใช้ได้สะดวก เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาสร้างเสาไฟฟ้าพิพาทขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้ถนนภาระจำยอมมาตั้งแต่แรก แต่มีสภาพเป็นเสารองรับน้ำหนักโครงหลังคาซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกอยู่บนถนนภาระจำยอมและจำเลยที่ 2 ต้องรื้อถอนออกไปทั้งหมดตามคำพิพากษา การที่จำเลยที่ 2 รื้อถอนเฉพาะโครงหลังคา ส่วนเสารองรับน้ำหนักมิได้รื้อถอนออกไปด้วยจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำบังคับของศาลให้ถูกต้องครบถ้วน แม้จำเลยที่ 2 จะดัดแปลงเสาดังกล่าวให้มีสภาพเป็นเสาไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการใช้ถนนภาระจำยอม และที่ตั้งของเสามิได้กีดขวางการใช้ถนนภาระจำยอม หรือไม่ทำให้เสื่อมความสะดวกในการใช้ถนนภาระจำยอมก็หาทำให้เสาดังกล่าวพ้นจากการถูกบังคับคดีไม่ โจทก์จึงขอให้บังคดีโดยให้รื้อถอนเสาไฟฟ้าพิพาทออกไปจากถนนภาระจำยอมตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบอาคารพิพาทและขอบเขตการบังคับคดีค่าเสียหาย รวมถึงข้อยกเว้นภาษีเงินได้จากค่าสินไหมทดแทน
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองพร้อมบริวารออกจากอาคารพิพาทของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ในสภาพซ่อมแซมดีแล้วและใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะส่งมอบเสร็จแก่โจทก์ ชั้นบังคับคดีปรากฏว่า ต. เช่าอาคารพิพาทบางส่วนจากจำเลยทั้งสอง ต. จึงเป็นบริวารของจำเลยทั้งสองและถือได้ว่า ต. ได้ครอบครองอาคารพิพาทแทนจำเลยทั้งสองตลอดมาถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น ต่อมา ต. ได้นำกุญแจห้องในอาคารพิพาทมอบให้แก่โจทก์ต่อหน้าศาล จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นในวันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้จนถึงวันดังกล่าว
เงินหรือประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สินเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก) ที่จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้ แต่เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับตามคำพิพากษาถือเป็นเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิดที่จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา มาตรา 42 (13) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีแทนโจทก์และไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ดังกล่าวจากโจทก์ได้
เงินหรือประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สินเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก) ที่จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้ แต่เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับตามคำพิพากษาถือเป็นเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิดที่จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา มาตรา 42 (13) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีแทนโจทก์และไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ดังกล่าวจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาทรัสต์รีซีท: อัตราดอกเบี้ย, การชำระหนี้, และการบังคับคดี
ตามสัญญาค้ำประกันหน้าแรกมีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน และระบุว่า "วงเงินค้ำประกัน 50,000,000 บาท" นอกจากนี้ในสัญญาข้อ 1 ระบุว่า "เนื่องจากคำขอของผู้ค้ำประกัน ธนาคารได้ให้เครดิตแก่จำเลยที่ 1 เพื่อรับสินค้าไปก่อนชำระเงินต่อธนาคาร ม. ตามวิธีการในวงเงิน 50,000,000 บาท" ข้อ 2 ระบุว่า "ถ้าผู้ค้ำประกันและหรือจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ได้ประพฤติผิดสัญญาที่ให้ไว้ หรือได้กระทำการอย่างใดๆ เป็นเหตุให้ธนาคารต้องชดใช้เงินหรือได้รับความเสียหายอย่างใดๆ แล้ว ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้ให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนเต็มตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้แก่ธนาคารและอย่างลูกหนี้ร่วม" จากข้อสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2 มีเจตนายอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เพียงตามมูลหนี้การให้เครดิตในวงเงิน 50,000,000 บาท เท่านั้น ดังนั้น หากธนาคาร ม. ให้เครดิตแก่จำเลยที่ 1 เกินวงเงินดังกล่าวย่อมอยู่นอกเหนือเจตนาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อธนาคารดังกล่าวรวมทั้งโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในต้นเงินเกินกว่าวงเงินค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคาร ม. และดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้ต้นเงินตามวงเงินค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จากต้นเงินที่คิดตามวงเงินค้ำประกัน 50,000,000 บาท นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ด้วย มิใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเฉพาะดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกันรวม 28 ฉบับ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ต้องผูกพันต่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย โดยการชำระหนี้ซึ่งหากชำระโดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินทุกรายได้หมดสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ในการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 2 ก็ดี หรือการบังคับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เอาจากจำเลยที่ 2 ก็ดี จะถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีฉบับใด รวมทั้งค่าไปรษณีย์ ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์เพียงใดบ้างนั้นย่อมต้องบังคับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 328 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้วแต่กรณี
จำเลยที่ 2 ตกลงจำนองที่ดิน 3 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 2 และหรือจำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่ธนาคาร ม. เป็นจำนวนเงิน 25,000,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้ประธานตามวงเงินจำนองดังกล่าว ย่อมมีผลให้ทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เป็นประกันการชำระหนี้ในต้นเงินตามจำนวนหนี้ประธานเป็นเงิน 25,000,000 บาท และดอกเบี้ยของต้นเงิน 25,00,000 บาท อีกต่างหาก โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้ได้รวมถึงดอกเบี้ยด้วย
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ข้อ 3 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่จะใช้เรียกเก็บจากลูกค้าไว้ 4 อัตรา ส่วนในการเรียกดอกเบี้ยนั้น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยและส่วนลดจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยและส่วนลดได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนี้ ในการเรียกดอกเบี้ยของธนาคาร ม. และโจทก์จะเรียกได้สูงสุดเพียงใดนั้น จะต้องแยกเป็นอัตราสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ กับอัตราสำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้แล้ว และโดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวหากมีข้อสัญญาให้ธนาคาร ม. เรียกได้ก็จะเป็นข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายในการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามควรไว้ล่วงหน้า อันจะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383
ธนาคาร ม. มีเจตนาทำสัญญาทรัสต์รีซีท 10 ฉบับกับจำเลยที่ 1 เพื่อคิดดอกเบี้ยอัตราสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติ จึงเป็นข้อสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อสัญญาการคิดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท 10 ฉบับนี้ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ด้วย และศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศย่อมยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ส่วนเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคาร ม. และดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้ต้นเงินตามวงเงินค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จากต้นเงินที่คิดตามวงเงินค้ำประกัน 50,000,000 บาท นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ด้วย มิใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเฉพาะดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกันรวม 28 ฉบับ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ต้องผูกพันต่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย โดยการชำระหนี้ซึ่งหากชำระโดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินทุกรายได้หมดสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ในการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 2 ก็ดี หรือการบังคับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เอาจากจำเลยที่ 2 ก็ดี จะถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีฉบับใด รวมทั้งค่าไปรษณีย์ ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์เพียงใดบ้างนั้นย่อมต้องบังคับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 328 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้วแต่กรณี
จำเลยที่ 2 ตกลงจำนองที่ดิน 3 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 2 และหรือจำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่ธนาคาร ม. เป็นจำนวนเงิน 25,000,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้ประธานตามวงเงินจำนองดังกล่าว ย่อมมีผลให้ทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เป็นประกันการชำระหนี้ในต้นเงินตามจำนวนหนี้ประธานเป็นเงิน 25,000,000 บาท และดอกเบี้ยของต้นเงิน 25,00,000 บาท อีกต่างหาก โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้ได้รวมถึงดอกเบี้ยด้วย
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ข้อ 3 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่จะใช้เรียกเก็บจากลูกค้าไว้ 4 อัตรา ส่วนในการเรียกดอกเบี้ยนั้น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยและส่วนลดจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยและส่วนลดได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนี้ ในการเรียกดอกเบี้ยของธนาคาร ม. และโจทก์จะเรียกได้สูงสุดเพียงใดนั้น จะต้องแยกเป็นอัตราสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ กับอัตราสำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้แล้ว และโดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวหากมีข้อสัญญาให้ธนาคาร ม. เรียกได้ก็จะเป็นข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายในการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามควรไว้ล่วงหน้า อันจะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383
ธนาคาร ม. มีเจตนาทำสัญญาทรัสต์รีซีท 10 ฉบับกับจำเลยที่ 1 เพื่อคิดดอกเบี้ยอัตราสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติ จึงเป็นข้อสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อสัญญาการคิดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท 10 ฉบับนี้ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ด้วย และศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศย่อมยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ส่วนเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: ผลของพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547
ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "คำสั่งศาลตามวรรคสองให้เป็นที่สุด" ซึ่งแก้ไขใหม่โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547 นั้น มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปโดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่ามิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัตินี้จึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความทันที
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า การขายทอดตลาดมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตามมาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามวรรคสองของมาตรานี้เป็นที่สุด
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันกันในการประมูลราคา แม้จะมีผู้ซื้อทรัพย์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้โดยชอบ ไม่จำต้องรอให้มีผู้ประมูลราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบก็ได้
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า การขายทอดตลาดมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตามมาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามวรรคสองของมาตรานี้เป็นที่สุด
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันกันในการประมูลราคา แม้จะมีผู้ซื้อทรัพย์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้โดยชอบ ไม่จำต้องรอให้มีผู้ประมูลราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบก็ได้