พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,589 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่จำเลยถึงแก่ความตาย ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานใหม่
การพิพากษาคดีในส่วนแพ่งที่ให้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้น เมื่อศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีส่วนอาญาของจำเลยจากสารบบความ เนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แล้ว ศาลฎีกาจะพิพากษาคดีในส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยต่อไปอีกไม่ได้ จึงถือว่าคดีในส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุดและจะนำข้อเท็จจริงในคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดมารับฟังในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นย่อมไม่ได้ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 คดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวน
จำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โดยมี จ. เข้ามาเป็นคู่ความแทน ก็เพียงเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทนจำเลยเท่านั้น ศาลจึงต้องพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยแก่ผู้ร้อง และชั้นบังคับคดีก็บังคับเอาจากกองมรดกของจำเลย
จำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โดยมี จ. เข้ามาเป็นคู่ความแทน ก็เพียงเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทนจำเลยเท่านั้น ศาลจึงต้องพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยแก่ผู้ร้อง และชั้นบังคับคดีก็บังคับเอาจากกองมรดกของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาและแพ่งควบคู่กัน การรับฟังพยานหลักฐาน และการวินิจฉัยของผู้เสียหาย
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสามารถพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังยุติว่า จำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัส การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมและจำเลยนำสืบกันในคดีส่วนแพ่งขึ้นมาวินิจฉัยว่า เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์ร่วมจึงไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และพิพากษายกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้ศาลสามารถนำพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันในคดีส่วนแพ่งมาวินิจฉัยในคดีส่วนอาญาได้ ทั้งปัญหาดังกล่าวมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในสถานหนักและไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย และเพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในส่วนที่โจทก์ร่วมเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา เมื่อคดีอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งจึงไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์ร่วมจึงไม่ต้องขออนุญาตฎีกาคดีส่วนแพ่ง
ในคดีส่วนอาญาจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง การพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 แม้คู่ความจะนำสืบกันในคดีส่วนแพ่ง การรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันในคดีส่วนแพ่งเพื่อกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 และมาตรา 223 นั้น หากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังได้ว่าโจทก์ร่วมมีส่วนประมาทด้วย ศาลก็เพียงแต่นำมาฟังประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าโจทก์ร่วมควรจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียงใดเท่านั้น แต่ไม่อาจด่วนพิพากษาให้ความรับผิดค่าสินไหมทดแทนระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยเป็นพับและยกคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้ เพราะต้องถือว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญายุติตามคำรับสารภาพของจำเลยแล้วว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ซึ่งพฤติการณ์การกระทำผิดตามฟ้องก็บ่งชี้อยู่ว่าจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งกว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยคดีส่วนแพ่ง โดยมิได้วินิจฉัยเนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยตามพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมและจำเลยนำสืบกันในคดีส่วนแพ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 252
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในสถานหนักและไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย และเพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในส่วนที่โจทก์ร่วมเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา เมื่อคดีอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งจึงไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์ร่วมจึงไม่ต้องขออนุญาตฎีกาคดีส่วนแพ่ง
ในคดีส่วนอาญาจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง การพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 แม้คู่ความจะนำสืบกันในคดีส่วนแพ่ง การรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันในคดีส่วนแพ่งเพื่อกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 และมาตรา 223 นั้น หากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังได้ว่าโจทก์ร่วมมีส่วนประมาทด้วย ศาลก็เพียงแต่นำมาฟังประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าโจทก์ร่วมควรจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียงใดเท่านั้น แต่ไม่อาจด่วนพิพากษาให้ความรับผิดค่าสินไหมทดแทนระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยเป็นพับและยกคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้ เพราะต้องถือว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญายุติตามคำรับสารภาพของจำเลยแล้วว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ซึ่งพฤติการณ์การกระทำผิดตามฟ้องก็บ่งชี้อยู่ว่าจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งกว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยคดีส่วนแพ่ง โดยมิได้วินิจฉัยเนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยตามพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมและจำเลยนำสืบกันในคดีส่วนแพ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพ, พ.ร.บ.คุมประพฤติ, การรับฟังพยานหลักฐาน, ดุลพินิจศาล, การรอการลงโทษ
ตาม พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ.2559 มาตรา 31 ศาลมีอำนาจรับฟังรายงานและความเห็นของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 30 โดยไม่ต้องมีพยานหลักฐานประกอบ แต่ก็เป็นเพียงการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจและความเห็นของพนักงานคุมประพฤติมารับฟังเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้น มิใช่นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย นอกจากนี้เมื่อศาลชั้นต้นอ่านรายงานการสืบเสาะและพินิจให้จำเลยฟัง จำเลยก็ขอสละถ้อยคำในเชิงปฏิเสธไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงในรายงานการสืบเสาะและพินิจมารับฟังลบล้างคำรับสารภาพของจำเลยในข้อหาตามที่ถูกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเจ้าหน้าที่รัฐกีดกันการเสนอราคาโดยมิชอบ ต้องพิสูจน์เจตนาเอื้อประโยชน์ผู้เสนอราคารายอื่นและมีพยานหลักฐานเพียงพอ
ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐกระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคาใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้น นอกจากผู้กระทำต้องมีเจตนาไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมแล้วยังต้องมีเจตนาเพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอีกด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นชัดว่า จำเลยมีเจตนาเพื่อเอื้ออำนวยให้แก่ผู้เข้าเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ มิฉะนั้นไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ คำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ฎีกา และคำแก้ฎีกา จำเลยไม่คัดค้าน แต่คดีนี้มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป โจทก์จึงยังคงมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลย และการถอนคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์มีผลเท่ากับเป็นการขอถอนฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 ซึ่งโจทก์ร่วมจะขอถอนฟ้องได้ต่อเมื่อก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา อีกทั้งศาลฎีกาทำคำพิพากษาเสร็จแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้ถอนฎีกาและคำแก้ฎีกา จึงยกคำร้องของโจทก์ร่วมในส่วนขอถอนคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ฎีกา และคำแก้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงานสอบสวน จากการออกหมายจับโดยไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ
การขอให้ออกหมายจับบุคคลใดย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกออกหมายจับ พนักงานสอบสวนจึงมีหน้าที่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าโจทก์กระทำผิดจริงซึ่งต้องกระทำด้วยความรอบคอบรัดกุม มิให้เกิดความผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นที่แน่ใจว่าโจทก์เป็นบุคคลเดียวกับคนร้ายที่ได้มาจากการรวบรวมพยานหลักฐาน แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่าโจทก์เป็นบุคคลเดียวกับคนร้ายหรือไม่ก่อนที่จะขอให้ออกหมายจับ ต่อมาพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าจ้างทนายความและค่าเช่าหลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราวซึ่งเป็นการกระทำเพื่อปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์จากการถูกดำเนินคดีโดยมิชอบจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่พนักงานสอบสวนทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและการกระทำอนาจาร ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
แม้ผู้เสียหายไม่ได้เบิกความถึงการกระทำชำเราของจำเลยอีกกระทงหนึ่ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายซึ่งพนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคสี่ ให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือสื่อภาพและเสียงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคสาม เมื่อสื่อภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำชำเราอีกกระทงหนึ่งนั้น ต้องถือว่าผู้เสียหายเบิกความถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวในชั้นพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: การเชื่อมโยงพยานหลักฐานกับประเด็นแห่งคดีและการวินิจฉัยเหตุผลที่ชัดเจน
การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานใดย่อมจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับประเด็นในคดีหรือไม่ หากพยานหลักฐานใดไม่เกี่ยวกับประเด็นหรือนอกประเด็น แม้คู่ความจะนำสืบกล่าวอ้างพยานหลักฐานนั้นต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจเลือดผู้ต้องหาในคดีขับรถเมา การยินยอม และการรับฟังพยานหลักฐาน
การตรวจพิสูจน์ที่ต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือดจากร่างกายของผู้ต้องหาในความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหานั้น ป.วิ.อ. มาตรา 131/1 วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติว่า การให้ความยินยอมต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น การให้ความยินยอมจึงอาจทำโดยวิธีอื่นได้
การที่ร้อยตำรวจเอก ส. ร้องขอให้เจาะเลือดของจำเลยจนแพทย์เวรมีคำสั่งให้เจาะเลือดของจำเลยแล้ว ณ. เข้าไปสอบถามจำเลยก่อนเจาะเลือด ซึ่งมาตรฐานในการตรวจเลือดของคนไข้จะต้องสอบถามและได้รับความยินยอมจากคนไข้ก่อนทุกครั้ง เมื่อ ณ. สามารถสอบถามและเจาะเลือดของจำเลยได้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยให้ความยินยอมในการเจาะเลือดแล้ว รายงานการตรวจวิเคราะห์จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้
การที่ร้อยตำรวจเอก ส. ร้องขอให้เจาะเลือดของจำเลยจนแพทย์เวรมีคำสั่งให้เจาะเลือดของจำเลยแล้ว ณ. เข้าไปสอบถามจำเลยก่อนเจาะเลือด ซึ่งมาตรฐานในการตรวจเลือดของคนไข้จะต้องสอบถามและได้รับความยินยอมจากคนไข้ก่อนทุกครั้ง เมื่อ ณ. สามารถสอบถามและเจาะเลือดของจำเลยได้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยให้ความยินยอมในการเจาะเลือดแล้ว รายงานการตรวจวิเคราะห์จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าเงินเชื่อ: ศาลฎีกาพิพากษายืนยกฟ้องโจทก์ เหตุพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ
แม้จําเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย โดยวินิจฉัยประเด็นอื่นและพิพากษาให้จําเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้คดี จําเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่วินิจฉัยประเด็นฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาด้วยนั้น ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คดีไม่มีประเด็นฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ปัญหาการวินิจฉัยนอกประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ไม่ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คดีก่อนจําเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกรวม 9 คน เป็นจําเลย เรียกเงินตามสัญญาซื้อขายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกเงินที่ได้ชําระแก่จําเลยที่ 1 ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายฉบับที่มี การฟ้องร้องกันในคดีก่อน ทั้งจําเลยทั้งสองให้การในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจําเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกรวม 9 คน เป็นจําเลย เรียกเงินตามสัญญาซื้อขายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจําเลยทั้งสองเรียกเงินที่ได้ชําระแก่จําเลยที่ 1 ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายฉบับที่มี การฟ้องร้องกันในคดีก่อน ทั้งจําเลยทั้งสองให้การในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่จ่ายเงินตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ