พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกคำขอ และการพิจารณาอายุความคดีเช่านา
ตัดสินนอกคำขอหรือไม่ฎีกาอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายปัญหาข้อเท็จจริงข้อที่ว่าศาลล่างตัดสินนอกคำขอหรือไม่นั้น ศาลฎีการับวินิจฉัยโดยถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่บรรยายในฟ้อง โดยพิจารณาโทษที่เหมาะสมและไม่เกินคำขอ
ฟ้องผิดฐาน+รรยายฟ้อง ตัดสินไม่เกินคำขอฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา +55 พิจารณาได้ความว่ามีผิดตามมาตรา 120 ตอน 2 +งมีโทษหนักว่า ม.255 ศาลก็ลงโทษจำเลยตามมาตรา 120 ตอน 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเพิ่มโทษทางอาญา: การใช้บทเพิ่มโทษตาม ม.76 เกินคำขอของโจทก์
ฟ้อง, ตัดสิน โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ตาม ม.72-73
เมื่อปรากฎว่าความผิดของจำเลยต้องเพิ่มตาม ม.76 แล้ว ศาลไม่เพิ่มโทษจำเลย
เมื่อปรากฎว่าความผิดของจำเลยต้องเพิ่มตาม ม.76 แล้ว ศาลไม่เพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษคดีฝิ่น: ใช้กฎหมายเฉพาะ (พ.ร.บ.ฝิ่น) แทนกฎหมายอาญา และต้องเป็นไปตามคำขอ
การเพิ่มโทษฐานผิด พ.ร.บ.ฝิ่นต้องใช้กฎหมายฝิ่น ฟ้อง,ตัดสิน ตัดสินไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องเงินสินบน: ศาลบังคับได้หากมีการกล่าวถึงในฟ้อง แม้ไม่มีคำขอเฉพาะเจาะจง
เงินสินบนที่โจทก์ไม่ได้ร้องขอเปนแต่กล่าวมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเข้าออก – การได้มาตามข้อตกลง – สิ้นสุดลงจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์เกิน 10 ปี – การพิพากษาเกินคำขอ
สิทธิที่จะใช้ที่ดินของ ล. เป็นทางเข้าออกอันเป็นการได้มาซึ่งภาระจำยอมตามข้อตกลงแม้จะไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิเฉพาะตัวโดยแท้ เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินจาก ล. ก็มิได้ขัดขวางการใช้ทางพิพาทของ ป. และโจทก์ ถือว่าจำเลยตกลงยอมรับที่จะผูกพันปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่าง ล. กับ ป. โดยปริยาย โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินและสิทธิจาก ป. ย่อมอาศัยข้อตกลงฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้สืบสิทธิและรับโอนที่ดินจาก ล. ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงได้ ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์
ล. สร้างบ้าน ทำคันปูนและปลูกต้นไม้รุกล้ำทางภาระจำยอม ต่อมาจำเลยรื้อต้นไม้และคันปูนออกแล้วต่อเติมเป็นห้องพักให้ ล. โจทก์จึงไม่สามารถใช้ที่ดินส่วนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกได้ โจทก์ไม่ได้ใช้ที่ดินส่วนดังกล่าวถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ภาระจำยอมในที่ดินส่วนนั้นจึงสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอท้ายฟ้องให้พิพากษาว่า ที่ดินของจำเลยกว้าง 1.50 เมตร ยาวตลอดแนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางภาระจำยอมสำหรับที่ดินโจทก์ แผนที่พิพาท ไม่ระบุตำแหน่ง ไม่ระบุความกว้างยาวและเนื้อที่ของทางภาระจำยอมไว้ ถือว่าโจทก์ประสงค์ได้ทางภาระจำยอมมีความกว้างตามคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินด้านทิศตะวันออกของจำเลย กว้าง 1.74 เมตร เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ที่ดินของจำเลยบางส่วนที่เป็นภาระจำยอมสิ้นไปแล้วตกเป็นภาระจำยอมด้วย คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม)
ล. สร้างบ้าน ทำคันปูนและปลูกต้นไม้รุกล้ำทางภาระจำยอม ต่อมาจำเลยรื้อต้นไม้และคันปูนออกแล้วต่อเติมเป็นห้องพักให้ ล. โจทก์จึงไม่สามารถใช้ที่ดินส่วนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกได้ โจทก์ไม่ได้ใช้ที่ดินส่วนดังกล่าวถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ภาระจำยอมในที่ดินส่วนนั้นจึงสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอท้ายฟ้องให้พิพากษาว่า ที่ดินของจำเลยกว้าง 1.50 เมตร ยาวตลอดแนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางภาระจำยอมสำหรับที่ดินโจทก์ แผนที่พิพาท ไม่ระบุตำแหน่ง ไม่ระบุความกว้างยาวและเนื้อที่ของทางภาระจำยอมไว้ ถือว่าโจทก์ประสงค์ได้ทางภาระจำยอมมีความกว้างตามคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินด้านทิศตะวันออกของจำเลย กว้าง 1.74 เมตร เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ที่ดินของจำเลยบางส่วนที่เป็นภาระจำยอมสิ้นไปแล้วตกเป็นภาระจำยอมด้วย คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9477/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ศาลบังคับได้เฉพาะตามคำขอและคำชี้ขาดเดิม, ไม่อาจเพิ่มดอกเบี้ยเกินกว่าที่อนุญาโตตุลาการตัดสิน
แม้หนี้ตามสัญญาซื้อขายที่มีคำชี้ขาดนี้จะเป็นหนี้เงิน ซึ่งกฎหมายให้คิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ผิดนัด แต่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็ต้องเป็นไปตามข้อเรียกร้อง และคำขอที่ให้ชี้ขาดในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งตามข้อเรียกร้องของผู้ร้องมิได้มีคำขอดอกเบี้ยหลังวันชี้ขาดด้วย และอนุญาโตตุลาการก็ชี้ขาดดอกเบี้ยเฉพาะตามที่ขอ เมื่อผู้ร้องมาขอบังคับตามคำชี้ขาด ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้บังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดนั้นได้ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมีคำขอดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันร้องขอเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จมาท้ายคำร้อง ก็เป็นการขอบังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดที่กำหนดสถานะความรับผิดของผู้คัดค้านจากการผิดสัญญาซื้อขายไว้โดยเฉพาะแล้ว และตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 นั้น ศาลไม่อาจมีคำพิพากษาบังคับเกินคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องการครอบครองที่ดิน การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน และขอบเขตคำขอในคดี
แม้จำเลยชนะคดีในศาลชั้นต้น แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งประเด็นส่วนที่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาในคำแก้อุทธรณ์ได้ ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. นั้น จำเลยก็ได้โต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตั้งประเด็นในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. หรือไม่ กับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. จึงชอบแล้ว
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการแย่งการครอบครองที่ดินกันและฝ่ายที่ถูกแย่งการครอบครองประสงค์จะเอาที่ดินคืน จึงต้องฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่คดีนี้จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นมรดกของ ต. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทและจำเลยแย่งการครอบครองมาจากทายาทคนอื่นจนได้สิทธิการครอบครองแล้วแต่อย่างใด หากแต่ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. เพราะ ต. ยกให้ อ. บิดาจำเลยตั้งแต่ ต. ยังมีชีวิตอยู่ เท่ากับอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ. และตกทอดมาเป็นของจำเลย โดย อ. และจำเลยมิได้แย่งการครอบครองมาจากผู้ใด คำให้การของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจแย่งการครอบครองในที่ดินซึ่งตนเองมีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ แม้ อ. เคยมีหนังสือไปถึงโจทก์ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จะต้องนำไปแบ่งปันให้ทายาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. การโต้แย้งตามหนังสือของ อ. ดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาคืนการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว
การขอรังวัดออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทจากเดิมที่เป็นที่ดินมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ย่อมจะทำให้ทราบแนวเขตและเนื้อที่ของที่ดินได้แน่นอนชัดเจน ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นเอง เมื่อการรังวัดถูกจำเลยขัดขวางอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. หรือไม่
โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยไปเพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินและห้ามจำเลยคัดค้านหรือยุ่งเกี่ยวกับการรังวัดออกโฉนดที่ดินเท่านั้น โดยมิได้มีคำขอห้ามจำเลยขัดขวางการแบ่งปันมรดกของโจทก์ในกรณีอื่นด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการแบ่งปันมรดกของโจทก์จึงเกินคำขอ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการแย่งการครอบครองที่ดินกันและฝ่ายที่ถูกแย่งการครอบครองประสงค์จะเอาที่ดินคืน จึงต้องฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่คดีนี้จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นมรดกของ ต. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทและจำเลยแย่งการครอบครองมาจากทายาทคนอื่นจนได้สิทธิการครอบครองแล้วแต่อย่างใด หากแต่ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. เพราะ ต. ยกให้ อ. บิดาจำเลยตั้งแต่ ต. ยังมีชีวิตอยู่ เท่ากับอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ. และตกทอดมาเป็นของจำเลย โดย อ. และจำเลยมิได้แย่งการครอบครองมาจากผู้ใด คำให้การของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจแย่งการครอบครองในที่ดินซึ่งตนเองมีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ แม้ อ. เคยมีหนังสือไปถึงโจทก์ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จะต้องนำไปแบ่งปันให้ทายาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. การโต้แย้งตามหนังสือของ อ. ดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาคืนการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว
การขอรังวัดออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทจากเดิมที่เป็นที่ดินมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ย่อมจะทำให้ทราบแนวเขตและเนื้อที่ของที่ดินได้แน่นอนชัดเจน ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นเอง เมื่อการรังวัดถูกจำเลยขัดขวางอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. หรือไม่
โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยไปเพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินและห้ามจำเลยคัดค้านหรือยุ่งเกี่ยวกับการรังวัดออกโฉนดที่ดินเท่านั้น โดยมิได้มีคำขอห้ามจำเลยขัดขวางการแบ่งปันมรดกของโจทก์ในกรณีอื่นด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการแบ่งปันมรดกของโจทก์จึงเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางต้องเป็นไปตามคำขอ ศาลสั่งริบเกินคำขอเป็นเหตุให้ต้องยกคำพิพากษา
แม้รถยนต์หมายเลขทะเบียน กค 812 ปราจีนบุรี ของกลาง เป็นยานพาหนะที่จำเลยที่ 3 ร่วมกับพวกใช้ในการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ อันเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 บัญญัติให้ริบเสียทั้งสิ้นก็ตาม แต่รถยนต์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 32 ดังนั้น เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบของกลางทั้งหมดที่เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ ดังนี้ เท่ากับโจทก์ขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางเท่านั้น โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบรถยนต์ของกลาง เช่นนี้ศาลย่อมไม่อาจสั่งริบรถยนต์ของกลางได้เพราะจะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12436/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุที่อาจชนะคดี มิได้แค่เหตุขาดนัด
ศาลชั้นต้นไต่สวนและวินิจฉัยคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของโจทก์ว่า คำขอของโจทก์บรรยายเพียงเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา แต่มิได้บรรยายข้อคัดค้านว่า หากศาลพิจารณาคดีใหม่แล้วโจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดี ถือว่าคำขอพิจารณาคดีใหม่ของโจทก์มิได้บรรยายให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 จัตวา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ดังนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีคำพิพากษาเป็นประการใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอีกต่อไป ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246, 142 (5) ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ย่อมไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย