คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายทายาท: ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดก
โจทก์นำหนี้ของผู้ตายมาฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทให้ล้มละลายหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแม้จำเลยทั้งสามจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายที่โดยสภาพไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ด้วยก็ตาม ก็ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่จะตกได้แก่ตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 และตามคำฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นทายาทของผู้ตาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนได้รับมรดกไว้เป็นจำนวนเท่าใด เพียงพอที่จะชำระหนี้แทนผู้ตายหรือไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดก - อำนาจฟ้องล้มละลาย
โจทก์นำหนี้ของผู้ตายมาฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทให้ล้มละลาย หนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแม้จำเลยทั้งสามจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ซึ่งจะต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายที่โดยสภาพไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ด้วยก็ตาม ก็ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่จะตกได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 และตามคำฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นทายาทของผู้ตาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนได้รับมรดกไว้เป็นจำนวนเท่าใดเพียงพอที่จะชำระหนี้แทนผู้ตายหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองทรัพย์มรดก การเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ และผลกระทบของการไม่ฟ้องเรียกคืนภายในกำหนด
ผู้ครอบครองทรัพย์สินแทนผู้อื่นจะแย่งการครอบครองทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375ได้ก็ต่อเมื่อได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 เสียก่อน การที่ ห. ผู้ครอบครองที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของร.แทนทายาทของร.แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้ขอและทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ยังถือไม่ได้ว่า ห. ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทโดยบอกกล่าวไปยังทายาทของร.ว่าตนไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนอีกต่อไป แต่การที่ห.เอาที่ดินและบ้านพิพาททั้งหมดไปจำนองธนาคารในเวลาต่อมา แล้วส.ทายาทของร.ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 และบิดาโจทก์ที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองให้แล้วรับจำนองต่อเสียเองนั้น ถือได้ว่า ห. ได้บอกกล่าวโดยการกระทำต่อ ส.ตั้งแต่วันที่จำนองที่ดินและบ้านพิพาทกับส. แล้วว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากการยึดถือครอบครองแทน ส.เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนเองซึ่งเข้าลักษณะแย่งการครอบครองเมื่อ ส.และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของส. มิได้ฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธานภายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 1375 บ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบก็ย่อมตกเป็นของ ห. ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาคืนที่ดินและบ้านพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองทรัพย์มรดก: ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามกฎหมาย
ผู้ครอบครองทรัพย์สินแทนผู้อื่นจะแย่งการครอบครองทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้ก็ต่อเมื่อได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 เสียก่อน
การที่ ห.ผู้ครอบครองที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของร.แทนทายาทของ ร. แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้ขอและทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ยังถือไม่ได้ว่าห. ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทโดยบอกกล่าวไปยังทายาทของ ร. ว่าตนไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนอีกต่อไป แต่การที่ ห. เอาที่ดินและบ้านพิพาททั้งหมดไปจำนองธนาคารในเวลาต่อมา แล้ว ส.ทายาทของร.ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 และบิดาโจทก์ที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองให้แล้วรับจำนองต่อเสียเองนั้น ถือได้ว่า ห. ได้บอกกล่าวโดยการกระทำต่อ ส.ตั้งแต่วันที่จำนองที่ดินและบ้านพิพาทกับส.แล้วว่า ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากการยึดถือครอบครองแทน ส.เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนเองซึ่งเข้าลักษณะแย่งการครอบครองเมื่อ ส.และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของส. มิได้ฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธานภายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 1375 บ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบก็ย่อมตกเป็นของ ห. ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาคืนที่ดินและบ้านพิพาทได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4539/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกเฉพาะส่วน: ศาลพิพากษาตามสัดส่วนทายาท ไม่ถือว่าเป็นการโอนทรัพย์ให้ทายาทอื่น
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินเฉพาะส่วนของตน การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 18 ส่วน โดยคำนวณจากจำนวนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพื่อกำหนดส่วนแบ่งของโจทก์ตามฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยโอนหรือแบ่งทรัพย์พิพาทให้ทายาทอื่นด้วย ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4315/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านประเด็นชี้สองสถานและการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น กรณีทรัพย์มรดกและการมีอำนาจฟ้อง
จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการชี้สองสถานว่าจำเลยเห็นว่าคดีควรมีประเด็นเพิ่มขึ้นอีกว่าทรัพย์มรดกของ ต. ได้แบ่งแก่ทายาทเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการใช้ สิทธิอุทธรณ์ หรือ ฎีกาคำแถลงของจำเลยดังกล่าวมิใช่กรณีร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยแถลงคัดค้านการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นในการชี้สองสถานว่ายังมีประเด็นเพิ่มอีกอันเป็นการโต้แย้งคำสั่งตามมาตรา 226(2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจำเลยย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ และการละเมิดสิทธิในทรัพย์มรดก
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก & การละเมิดจากทายาท การครอบครองทรัพย์มรดกโดยไม่ยินยอม
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกและการฟ้องแบ่งทรัพย์สินร่วม สิทธิเจ้าของร่วมไม่อยู่ในอายุความมรดก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ให้ยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุอื่น โจทก์แต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า "ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในตอนต้น ว่า คดีไม่ขาดอายุความแล้ววินิจฉัยต่อมาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ์ขอแบ่งที่พิพาทเพราะล่วงเลยอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เป็นการขัดกันเองและขัดเหตุผล" เมื่อจำเลยได้ยื่นคำแก้ อุทธรณ์ในปัญหานี้แล้วปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย โจทก์จะอ้างว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกเอาปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความขึ้นวินิจฉัยทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้อุทธรณ์เป็นการมิชอบนั้นไม่ได้ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์และมารดาจำเลยร่วมกันรับมรดกและร่วมกันครอบครอง ต่อมาโจทก์สมรสแล้วย้ายไปอยู่กับสามีโดยมีมารดาจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงอยู่ในฐานะเดียวกับมารดาของตน คือครอบครองแทนโจทก์เช่นกัน เมื่อโจทก์ยังมิได้สละสิทธิรับมรดก โจทก์จึงยังมีสิทธิในที่พิพาทอันเป็นมรดกรายนี้ การที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่พิพาทจากจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิเจ้าของร่วมขอแบ่งทรัพย์พิพาท หาใช่การฟ้องคดีมรดกไม่ ดังนั้น จึงจะนำอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพนักงานถึงแก่กรรม: สิทธิของทายาท ไม่ใช่ทรัพย์มรดก
สิทธิในเงินบำเหน็จเพื่อสงเคราะห์พนักงานไฟฟ้านครหลวงตกได้แก่ทายาทเนื่องจากการตายของพนักงาน ไม่ใช่ทรัพย์สินที่พนักงานมีอยู่ในระหว่างมีชีวิตหรือมีอยู่ขณะตาย เงินจำนวนนี้จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานระบุให้จ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของพนักงานที่ตาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้การไฟฟ้านครหลวงจ่ายเงินบำเหน็จดังกล่าวให้แก่โจทก์.
of 49