พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการบริษัทและการลงนามในเอกสารตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริสัทชข้อ 42 ไห้อำนาดกัมการตั้งกัมการคนเดียวเปนผู้จัดการได้ แม้ข้อ 44 จะมีความว่าเอกสารที่ทำไนนามของบริสัทต้องลงชื่อกัมการสองคนก็ตาม ผู้จัดการก็ลงชื่อไนเอกสารคนเดียวได้ตาม ข้อ 42 ส่วนข้อ 44 ไช้ได้ฉเพาะกรนีที่กัมการเปนผู้ทำ
การตั้งผู้จัดการจะเปนการถูกต้องหรือไม่นั้น ถ้าคู่ความไม่โต้เถียงสาลก็ไม่ต้องวินิฉัย เพราะนอกประเด็น.
การตั้งผู้จัดการจะเปนการถูกต้องหรือไม่นั้น ถ้าคู่ความไม่โต้เถียงสาลก็ไม่ต้องวินิฉัย เพราะนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการและข้อยกเว้นลายมือชื่อกรรมการในเอกสารบริษัท
ข้อบังคับของบริษัท ข้อ 42 ให้อำนาจกรรมการตั้งกรรมการคนเดียวเป็นผู้จัดการได้ แม้ข้อ 44 จะมีความว่าเอกสารที่ทำในนามของบริษัทต้องลงชื่อกรรมการสองคนก็ตาม ผู้จัดการก็ลงชื่อในเอกสารคนเดียวได้ตามข้อ 42 ส่วนข้อ44 ใช้ได้เฉพาะกรณีที่กรรมการเป็นผู้ทำ การตั้งผู้จัดการจะเป็นการถูกต้องหรือไม่นั้น ถ้าคู่ความไม่โต้เถียงศาลก็ไม่ต้องวินิจฉัย เพราะนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการค่าเสียหายไม่ได้ หากความเสียหายเกิดกับบริษัท ไม่ได้ฟ้องแทนบริษัท
ภาษีเงินได้
ในกรณีที่กรรมการบริษัททำความเสียหายแก่บริษัทผู้ถือหุ้นจะมาฟ้องกรรมการให้ใช้ค่าเสียหายแก่ตนไม่ได้
ในกรณีที่กรรมการบริษัททำความเสียหายแก่บริษัทผู้ถือหุ้นจะมาฟ้องกรรมการให้ใช้ค่าเสียหายแก่ตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: ผู้จัดการแผนกสินค้ามีอำนาจแทนบริษัท
ผู้จัดการแผนกสินค้าของบริษัทมีอำนาจร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงที่เกี่ยวกับทรัพย์ในแผนกนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9958/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ: จำเป็นต้องระบุประเภทบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการขายสินค้าอาหารทะเลสำเร็จรูปรายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองท้ายฟ้องเท่านั้น โดยไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 5 เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ตามความหมายของคำว่า "บริษัท" ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 89/1 อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 89/2 (1) ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการชำระบัญชีบริษัทที่อยู่ระหว่างล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
บริษัท ธ. ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นกรรมการของบริษัท ธ. แต่เมื่อบริษัท ธ. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของบริษัทดังกล่าวย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 ไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 หรือบุคคลกลางอื่น เช่น เจ้าพนักงานบังคับคดี จะเข้าจัดการทรัพย์สินของบริษัทเพื่อชำระบัญชีได้อีกต่อไป อันเป็นกรณีที่กรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ จึงเห็นสมควรตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นนี้ว่าบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทซึ่งล้มละลายที่การชำระบัญชีจะต้องจัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายตามมาตรา 1247 วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องยกคำร้องขอของผู้ร้องเพื่อบังคับคดีไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายตามที่ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8491/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการบริษัท (ค่าอาหาร/กระดาษทิชชู) ไม่ถือเป็นค่าจ้าง แม้จ่ายเป็นตัวเงิน
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในหมวดสวัสดิการกำหนดว่า นายจ้างจะให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารแก่พนักงานทุกคนที่เป็นพนักงานประจำตามสภาพการจ้าง ยกเว้นพนักงานทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าอาหารนั้น เดิมนายจ้างเคยมอบคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ 1 ใบ ต่อวัน เป็นมูลค่าวันละ 5 บาท และปี 2535 นายจ้างมอบกระดาษทิชชูให้แก่ลูกจ้างคนละ 2 ม้วน ต่อเดือน แสดงให้เห็นว่านายจ้างมีเจตนาแต่แรกที่จะให้ค่าอาหารเป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานประจำยกเว้นพนักงานทดลองงานและพนักงานระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป จึงกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวดสวัสดิการ และเห็นเจตนาชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อระยะแรกนายจ้างจ่ายค่าอาหารในรูปคูปองและจ่ายกระดาษทิชชูให้ลูกจ้าง แม้ต่อมานายจ้างเปลี่ยนการจ่ายค่าอาหารในรูปคูปองและการจ่ายกระดาษทิชชูมาเป็นตัวเงิน โดยจ่ายให้พนักงานที่มีสิทธิได้รับทุกคนเป็นประจำทุกเดือนและไม่มีเงื่อนไขว่าพนักงานจะขาดลามาสายหรือไม่ ก็เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติของบริษัทนายจ้างเท่านั้น มิได้แสดงว่าเมื่อนายจ้างเปลี่ยนการให้สวัสดิการจากรูปแบบอื่นมาเป็นตัวเงินแล้วจะทำให้สวัสดิการดังกล่าวกลายเป็นค่าจ้าง สวัสดิการจึงเป็นตัวเงินได้ ไม่จำต้องเป็นแต่สิ่งของหรือบริการที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้าง ดังนั้นเงินค่าอาหารและค่ากระดาษทิชชูที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำทุกเดือนจึงเป็นสวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะบริษัทที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจช่วง การฟ้องจำเลยนอกเหนือจากที่ระบุเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า บริษัท น. โดย ร. ผู้จัดการทั่วไป ผู้รับมอบอำนาจ ขอมอบอำนาจช่วงให้ ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจ เพื่อดำเนินคดีใด ๆ ต่อบริษัท ช. โดยให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้ง หรือเป็นจำเลยเข้าต่อสู้คดีในการดำเนินคดีแพ่ง ฯลฯ ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการ ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจดำเนินคดีเฉพาะกับบริษัท ช. เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการมอบอำนาจทั่วไป และไม่ได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองด้วย การที่ ก. แต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยทั้งสองจึงเป็นการฟ้องบุคคลนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วง ทั้งข้อความที่ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับบริษัท ช. ตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจนั้นเท่านั้น ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ทราบมาตั้งแต่ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้วว่า ช. และบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นคนละบริษัทกัน ทั้งไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาแต่ต้น แม้โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจช่วงซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวไว้และได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน อันเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 หนังสือมอบอำนาจช่วง ดังกล่าวจึงต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทราบมาตั้งแต่ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้วว่า ช. และบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นคนละบริษัทกัน ทั้งไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาแต่ต้น แม้โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจช่วงซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวไว้และได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน อันเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 หนังสือมอบอำนาจช่วง ดังกล่าวจึงต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13810/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทเรียกร้องค่าใช้จ่ายจากบริษัท กรณีจัดสรรที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ ธ. พ. จำเลยที่ 1 ก. จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงร่วมลงทุนซื้อที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรขาย โดยมีหลักการและข้อตกลงว่า ที่ดินที่ร่วมจัดสรรทั้งหมดมีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ การค้าที่ดินต้องขออนุญาตจัดสรรจากราชการให้ถูกต้อง โดยต้องจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินการ... หลังจากนั้นได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท อ. และบริษัท ม. ขึ้น และโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า โจทก์ จำเลยที่ 1 ก. จำเลยที่ 3 และที่ 4 ธ. กับ พ. ร่วมลงทุนจัดสรรที่ดินจำหน่าย โดยโจทก์ ธ. และ พ. ลงทุนด้วยเงิน ส่วนจำเลยที่ 1 และ ก. ลงทุนด้วยที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ก. เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ที่ดินที่ ก. ทำสัญญาจะซื้อจะขายจาก ป. และ ท. เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ กับที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ อ. กับ ว. บุตรชายถือกรรมสิทธิ์แทน สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ลงหุ้นด้วยที่ดิน ในการนี้ผู้ถือหุ้นทุกคนเห็นว่าการดำเนินการต้องทำในรูปนิติบุคคลตามระเบียบราชการ จึงจะจัดตั้งบริษัทขึ้น 2 บริษัท เพื่อดำเนินกิจการจัดสรรที่ดิน แบ่งเป็นบริษัทละไม่เกิน 500 แปลง จากคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า การตกลงกันระหว่างโจทก์กับผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ ในการจัดสรรที่ดินจำหน่ายตามฟ้องนี้ มีลักษณะเป็นการตกลงกันของผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท หาใช่มีเจตนาร่วมกันประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไม่ เพราะผู้ถือหุ้นทุกคนมีเจตนามาแต่แรกที่จะจัดตั้งบริษัทขึ้นเพื่อดำเนินกิจการจัดสรรที่ดิน การทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จะนำมาจัดสรรแปลงต่างๆ จึงเป็นไปเพื่อกิจการของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นมา ดังนั้นเมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทในเวลาต่อมาตามที่ผู้เริ่มก่อการตกลงกันแล้ว บรรดานิติกรรมสัญญาต่างๆ ที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ออกไปในการเริ่มก่อตั้งบริษัท เมื่อได้ให้สัตยาบันในการประชุมตั้งบริษัทแล้วย่อมผูกพันบริษัท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1108 (2) ผู้เริ่มก่อการคนใดออกค่าใช้จ่ายไปย่อมต้องไปว่ากล่าวเอาจากบริษัทที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามที่ตกลงกัน
ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนตั้งบริษัท อ. และบริษัท ม. โจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทได้จ่ายเงินเป็นค่าที่ดิน ทั้งปรากฏต่อมาว่า บริษัท ม. ขออนุญาตค้าที่ดินแปลงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย จึงน่าเชื่อว่ามีการให้สัตยาบันในเรื่องนี้ในที่ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ดังนี้ บรรดาค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ผู้เริ่มก่อการทำไว้ เมื่อบริษัทถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ผู้ที่ออกเงินค่าใช้จ่ายย่อมต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บริษัททั้งสองเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการด้วยคนหนึ่งให้คืนเงินแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนตั้งบริษัท อ. และบริษัท ม. โจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทได้จ่ายเงินเป็นค่าที่ดิน ทั้งปรากฏต่อมาว่า บริษัท ม. ขออนุญาตค้าที่ดินแปลงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย จึงน่าเชื่อว่ามีการให้สัตยาบันในเรื่องนี้ในที่ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ดังนี้ บรรดาค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ผู้เริ่มก่อการทำไว้ เมื่อบริษัทถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ผู้ที่ออกเงินค่าใช้จ่ายย่อมต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บริษัททั้งสองเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการด้วยคนหนึ่งให้คืนเงินแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7926/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัทจากมติประชุมเท็จ กรณีผู้ถือหุ้นต่างด้าวใช้ชื่อคนไทยถือหุ้น
การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม มิได้ประชุมกันจริง และเป็นการทำรายงานการประชุมเท็จที่ไม่มีผลตามกฎหมาย จึงชอบที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นมีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนที่อาศัยการประชุมใหญ่เท็จดังกล่าวเสียได้ ทั้งกรณีของการทำรายงานการประชุมใหญ่เท็จเพื่อนำไปจดทะเบียน ย่อมจะมิใช่การประชุมใหญ่ผิดระเบียบเพราะฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทอันจะอยู่ในบังคับที่ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือน นับแต่วันลงมติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195