พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทมารดาและการประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หมิ่นประมาทตามมาตรา 531(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาจำต้องถึงกับเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาไม่ เพียงแต่ได้ความว่ากระทำการโดยเจตนาดูหมิ่นก็ถือว่าประพฤติเนรคุณแล้ว การที่จำเลยด่าโจทก์ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยด้วยถ้อยคำว่า 'อีโคตรพ่อ อีโคตรแม่มึง อีหน้าด้านอีหน้าหมา อีไม่มีศีลธรรม' และด้วยถ้อยคำหยาบอื่นๆ อีกในทำนองว่าโจทก์เป็นคนโกงหักหลังได้แม้กระทั่งลูกของตนเป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ผู้เป็นมารดา ขาดการเคารพยำเกรงตามวิสัยของบุตร จึงนับว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามมาตรา 531(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งตัวแทนซื้อที่ดินโดยไม่ทำเป็นหนังสือ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หากพิพาทระหว่างตัวการ-ตัวแทน
โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนซื้อที่ดิน โดยให้จำเลยออกเงินไปก่อน และลงชื่อในโฉนดแทน แม้การตั้งตัวแทนนั้นจะมิได้ทำเป็นหนังสือ โจทก์ก็มีอำนาจบังคับให้จำเลยโอนใส่ชื่อโจทก์ในที่ดินดังกล่าวได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 493/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดหลุมส้วมใกล้เขตที่ดินผู้อื่น: สิทธิในการฟ้องร้องให้กลบหลุมและการใช้สิทธิโดยสุจริต
จำเลยขุดหลุมส้วมห่างเขตที่ดินโจทก์ 15 เซนติเมตร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1342 ไม่ว่าจะใช้ความระวังอย่างใด โจทก์ก็ขอให้กลบได้ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่เกิดจากหนี้ค่าแชร์ การพิสูจน์การใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นนายวงแชร์ จำเลยเป็นผู้เข้าเล่นด้วยและเป็นผู้ประมูลได้ จำเลยจึงทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ระบุจำนวนเงินกู้เท่ากับเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องส่งเป็นรายเดือนต่อไปจนครบ โดยยอมเสียดอกเบี้ยตามกฎหมาย ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์จำเลยตกลงกันให้หนี้ค่าแชร์ระหว่างกันผูกพันกันในรูปหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้โดยมีหนี้ค่าแชร์กันจริงสัญญากู้จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในลักษณะกู้ยืม จำเลยจะพ้นความรับผิดต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของการเช่านาตาม พรบ.ควบคุมการเช่านา กับการเช่าทรัพย์สินทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่ง
การเช่านานั้นพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 4 บัญญัติให้ความหมายไว้เป็นพิเศษแตกต่างไปจากการเช่าทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อมีบทกฎหมายว่าด้วยการเช่านาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้วจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยการเช่าทรัพย์สินในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงในสัญญาสัญญาประนีประนอมและการตีความตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 132
จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีอาญาในข้อหาว่ายักยอกเงินโจทก์ไป214,878 บาท 8 สตางค์ ระหว่างพิจารณาคดีอาญาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ตามสัญญาข้อ 1 จำเลยยอมรับผิดใช้เงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อเป็นการชดเชยยอดเงินที่ขาดบัญชี จ่ายซ้ำสองครั้ง ส่วนตามสัญญาข้อ 2 ยอดเงินที่ใช้จ่ายไปโดยไม่มีใบสำคัญจำนวน 130,045 บาท 75 สตางค์ โจทก์ยอมให้จำเลยไปจัดหาใบสำคัญมาหักล้าง หรือหลักฐานอื่นอันแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปมาแสดงให้เป็นที่พอใจคณะกรรมการบริษัทโจทก์ภายใน 120 วัน และข้อ 3 ฝ่ายโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปอีก ดังนี้เมื่อจำเลยไม่จัดหาใบสำคัญมาหักล้างหรือหลักฐานอื่นอันแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปมาแสดงภายใน 120 วัน ปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินที่ใช้จ่ายไปจำนวน 130,045 บาท 75 สตางค์ ให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 2 หรือไม่ เป็นเรื่องการตีความแสดงเจตนาซึ่งต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 132 และความประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญาต้องแปลจากสัญญาทั้งฉบับไม่ใช่ยกเอาเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปล สัญญาประนีประนอมดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความว่าถ้าจำเลยหามาไม่ได้ภายในกำหนดจำเลยจะต้องชดใช้เงินให้โจทก์ แต่ก็เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยได้ว่าต้องการระงับคดีอาญาโดยจำเลยต้องใช้เงินในสัญญาข้อ 1 ให้โจทก์ ส่วนตามข้อ 2 นั้น ยังมีปัญหาว่าจำเลยได้ใช้จ่ายไปจริงหรือไม่ โจทก์จึงให้โอกาสจำเลยไปหาใบสำคัญมาแสดงอันเป็นการแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า ถ้าจำเลยหาใบสำคัญหรือหลักฐานการใช้เงินมาแสดงได้ โจทก์ยอมหักเงินให้จำเลย ถ้าจำเลยหามาไม่ได้ก็ต้องรับผิดในเงินยอดนั้นเมื่อจำเลยหามาไม่ได้ภายใน 120 วัน ตามสัญญาข้อ 2 ก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับผิด และไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11(ประชุมใหญ่ครั้งที่19/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญา, การคืนสู่ฐานะเดิม, และการชดใช้ค่าก่อสร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
โจทก์ทำสัญญาตกลงกับจำเลย ให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์และตึกแถวลงในที่ดินของโจทก์ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองโดยโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่ามีกำหนด 20 ปี จำเลยผิดสัญญาในการก่อสร้างตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยชอบแล้ว ดังนี้ สัญญาและข้อผูกพันต่าง ๆ ในสัญญาก่อสร้างต้องสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเช่าหรือครอบครองโรงภาพยนตร์และตึกแถวตามสัญญานั้นอีกต้องคืนที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้โจทก์ส่วนโจทก์ก็ต้องชดใช้ค่าก่อสร้างอันเป็นผลงานที่จำเลยสร้างลงไปให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินจากเช็คและจดหมายรับสภาพหนี้ เพียงพอตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา ๖๕๓
จำเลยยืมเงินของโจทก์แล้วออกเช็คสั่งจ่ายเงินเท่าจำนวนที่จำเลยยืมไปให้โจทก์ไว้ เมื่อโจทก์นำเช็คไปรับเงินจากธนาคารไม่ได้และทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำเลยได้มีจดหมายถึงโจทก์ขอความเห็นใจมิให้โจทก์นำเช็คไปแจ้งความและรับรองว่าจะชำระเงินที่จำเลยยืมไปจนครบ ดังนี้ ข้อความตามเอกสารเหล่านั้นเมื่อประกอบเข้าด้วยกันย่อมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินรายนี้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1312 ผู้สร้างเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตน
การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น หมายความว่าผู้สร้างโรงเรือนต้องรู้ในขณะสร้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของคนอื่น จึงจะเรียกได้ว่าไม่สุจริต ถ้าผู้สร้างเข้าใจว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของตนจึงสร้างโรงเรือนรุกล้ำไป ครั้นต่อมาจึงทราบว่าที่ตรงรุกล้ำนั้นไม่ใช่ของตน ต้องถือว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นจะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อสวนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยกมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นจะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อสวนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยกมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเอกสารโดยรู้ว่าเป็นของผู้ซื้อรายอื่น ทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ห้างโจทก์มิใช่ผู้สั่งซื้อสินค้ารายพิพาทและทราบอยู่แล้วว่าบริษัทผู้ขายส่งของมาโดยลงชื่อผู้รับผิดเป็นห้างโจทก์ แท้จริงเจ้าของสินค้าคือจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ก็ยังรับใบอินวอยส์ ตั๋วแลกเงิน และใบตราส่งจากธนาคาร ถือได้ว่าโจทก์รับเอกสารต่างๆ ดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองหรือรับประโยชน์จากบทกฎหมายมาตรา 614,615 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์