คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับการจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพและการชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดนัด ตามระเบียบของธนาคาร
เมื่อตามระเบียบปฏิบัติงานของธนาคารจำเลยต้องจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งให้พนักงานเมื่อออกจากงานไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ๆการที่รองผู้จัดการใหญ่ของจำเลยสั่งระงับการจ่ายเงินทุกประเภทที่โจทก์มีสิทธิได้รับเฉพาะคำสั่งที่ให้ระงับการจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายระหว่างผิดนัดคิดเป็นดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่มีคำสั่งจนถึงวันชำระเงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีนอกเหนือคำฟ้อง: สัญญาเช่าผิดนัด vs. สัญญาเช่าหมดอายุ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างเหตุว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเลิกกันแล้วเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาเช่า มิได้อ้างเหตุว่า สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว การที่ศาลล่างพิพากษาขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่ว่าขณะศาลตัดสิน สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอยู่นั้นเป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ยึดรถคืนได้เมื่อผิดนัดแม้เพียงงวดเดียว หากมีข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา
สัญญาเช่าซื้อมีว่าให้ยึดรถคืนได้เมื่อไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อยึดรถคืนได้ ไม่ต้องรอให้ผิดนัด 2 คราว ไม่ขัดต่อ มาตรา 574 วรรคแรก และไม่ใช่กรณีเงินชำระงวดสุดท้ายตาม มาตรา 574 วรรค 2 ผู้ให้เช่าซื้อยึดรถคืนก่อนแล้วบอกเลิกสัญญาภายหลังก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันผิดนัด
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยร้อยละ 2.50 บาท ต่อสัปดาห์เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ ดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยนั้นตั้งแต่วันทำสัญญาแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปจำนวนหนึ่ง ยังไม่ชำระและตามสัญญากู้ได้ระบุวันชำระหนี้ไว้โจทก์ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ แต่ชอบคิดดอกเบี้ยตามวันปฏิทินเมื่อผิดนัด
กำหนดวันชำระคืนเงินกู้ไว้ตามวันปฏิทินการไม่ชำระหนี้เป็นผิดนัดคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ได้ตั้งแต่วันถัดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงเหมืองแร่: การคิดค่าเช่าตามเนื้อที่ใช้จริง และดอกเบี้ยนับจากวันผิดนัด
พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ. 2461 ที่ใช้ในขณะทำสัญญามิได้ห้ามการให้เช่าช่วงเหมืองแร่ต่อมา พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 ห้ามรับช่วงทำเหมือง แต่มิได้ห้ามเด็ดขาด อาจรับอนุญาตจากรัฐมนตรีได้ จึงอาจบังคับตามสัญญาได้ ไม่ตกเป็นโมฆะและพ้นวิสัย
ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้ทำสัญญาให้เช่าช่วงทำเหมืองฟ้องคู่สัญญาได้ไม่ต้องรับอนุญาตจากหุ้นส่วนอื่น
สัญญาซึ่งผู้ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่จ้างจำเลยรับเหมาให้จำเลยผลิตแร่ได้โดยจำเลยผู้รับจ้างจะชำระผลประโยชน์แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างเป็นรายเดือน ดังนี้ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ แต่เป็นสัญญาเช่าช่วงเหมืองแร่
ผู้ให้เช่าทำเหมืองเนื้อที่ 71 ไร่ แต่ส่งมอบเหมืองจริงเพียง 37 ไร่ ผู้ให้เช่าเรียกค่าเช่าได้เพียงเท่าเนื้อที่ที่ให้เช่าผลิตแร่ได้จริงเท่านั้น ศาลลดค่าเช่าลงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ตกลงกัน
กำหนดชำระค่าเช่าเหมืองแร่ไว้ แต่เมื่อล่วงเลยไปแล้วผู้ให้เช่า ก็ไม่ทักท้วง แต่ให้ผู้เช่าผ่อนเวลาชำระค่าเช่า
ผู้ให้เช่าคิดดอกเบี้ยในค่าเช่าที่ค้างฐานผิดนัดแต่ละเดือนไม่ได้ ศาลคิดให้ตั้งแต่วันบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่าภายหลัง
ทำสัญญาเช่าไว้แล้ว จำเลยนำสืบลดค่าเช่าเป็นข้อตกลงกันใหม่แก้ไขข้อสัญญาเดิม จำเลยนำสืบด้วยพยานบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ซื้อขายมีเงื่อนไข: การโอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระเงินครบถ้วน และสิทธิในการยึดคืนเมื่อผิดนัด
ผู้ร้องซื้อรถยนต์โดยธนาคารชำระราคาแทน กรรมสิทธิ์โอนโดยไม่ต้องจดทะเบียน ผู้ร้องขายรถต่อไปโดยมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์โอนเมื่อชำระราคาเป็นเงินสดครบถ้วน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าจะชำระราคาเสร็จ ถ้าผิดนัดชำระราคา ผู้ร้องกลับเข้าครอบครองรถได้ ผู้ร้องร้องขอรับรถของกลางที่ถูกริบคืนได้ตาม มาตรา36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมและผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
ประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมโอนโรงสีกับที่ดิน โจทก์ยอมชำระค่าเช่าซื้อโดยกำหนดชำระเป็นงวดถ้าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้บังคับคดีตามฟ้องแย้ง ขับไล่และริบเงินได้ทันที จำเลยรับเงินที่วางศาลได้ต่อเมื่อนำ น.ส.3 กับใบมอบอำนาจมาวางศาลก่อนศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ โจทก์ออกเช็คชำระหนี้แต่ลงวันออกเช็คหลังวันที่กำหนดเป็นผิดนัด จำเลยริบเงินและขับไล่ตามฟ้องแย้งได้ข้อที่ให้นำ น.ส.3 กับใบมอบอำนาจมาวางศาลแต่เงื่อนไขในการรับเงินไปจากศาลไม่ทำให้โจทก์ชำระหนี้ล่วงเวลานัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาท ก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่า ๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาทก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องคดีล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาทให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่าๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป
of 41