พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีค้ากำไรเกินควร การทราบประกาศเป็นองค์ประกอบที่ต้องพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า คณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรประจำจังหวัดนครพนม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร 2490 ได้ประกาศระบุให้น้ำมันก๊าสเป็นสิ่งของต้องห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควร โดยได้กำหนดราคาสูงสุดไว้แล้วตามสำเนาประกาศท้ายฟ้อง จำเลยบังอาจค้ากำไรเกินควรโดยขายน้ำมันก๊าสให้นายทองไป 1 ลิตร ราคา 2 บาท เกินราคาสูงสุดที่กำหนดไว้ 50 สตางค์ ดังนี้ตามข้อความในฟ้อง พอเข้าใจได้แล้วว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยบังอาจกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศ แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยได้ทราบประกาศนั้นแล้ว ฟ้องของโจทก์ก็สมบูรณ์ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมฤดกยังคงมีอยู่ แม้มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และสามารถร้องขอเป็นโจทก์ร่วมได้ระหว่างพิจารณา
ศาลได้อนุญาตให้ผู้ร้อง ร้องขอแบ่งมฤดกในฐานทายาท ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยกับโจทก์นั้น หาใช่เป็นการสละมฤดกตาม ก.ม.หรือต้องด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ที่จะทำให้สิทธิในการรับมฤดกของผู้ร้องต้องเสียไปไม่.
ในระหว่างพิจารณาทายาทมีสิทธิที่จะร้องขอส่วนแบ่งมฤดกในคดีที่ทายาทคนอื่นได้ฟ้องไว้แล้ว.
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6-7/2492
ในระหว่างพิจารณาทายาทมีสิทธิที่จะร้องขอส่วนแบ่งมฤดกในคดีที่ทายาทคนอื่นได้ฟ้องไว้แล้ว.
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6-7/2492
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาหลักฐานใหม่หลังมีคำพิพากษา ศาลมีอำนาจจำกัดเพื่อป้องกันการพิจารณาไม่มีที่สิ้นสุด
โจทก์ฟ้องเรียกคืนเรือยนต์หรือให้ใช้ราคาเรือยนต์ที่ไปจ้างจำเลยซ่อม แล้วเครื่องยนต์หายไป ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาเรือ ระหว่างอุทธรณ์จำเลยอ้างว่า ตำรวจจับคนร้ายและเครื่องยนต์ได้ โจทก์ได้ปราณีประนอมกับคนร้าย รับเครื่องยนต์คืนไปแล้ว ขอให้ศาลอุทธรณ์เรียกหลักฐานมาพิจารณา ดังนี้ ถือว่าเป็นเรื่องศาลพิพากษาแล้ว ศาลไม่อนุญาต หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะว่ากล่าวต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของข้อเท็จจริงในฟ้องกับข้อเท็จจริงตามการพิจารณาในคดีทำร้ายร่างกาย
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายบาดเจ็บฝ่ายเดียว แม้ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทำร้ายบาดเจ็บเนื่องจากวิวาทกัน ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับที่กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกาย ตาม ม.254 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคำฟ้องและทางพิจารณาต่างกัน ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อคืนวันที่ 29 มิถุนายน แต่ทางพิจารณาได้ความตามจำเลยนำสืบว่า เกิดเหตุเมื่อคืนวันที่ 28 มิถุนายน ดังนี้ถือว่า ข้อเท็จจริงทางพิจารณาต่างกับฟ้อง จะลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงทางพิจารณาต่างจากฟ้อง ทำให้ลงโทษจำเลยไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อคืนวันที่ 29 มิถุนายน แต่ทางพิจารณาได้ความตามจำเลยนำสืบว่า เกิดเหตุเมื่อคืนวันที่ 28 มิถุนายน ดังนี้ถือว่า ข้อเท็จจริงทางพิจารณาต่างกับฟ้อง จะลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าธรรมเนียมหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์ ทำให้ศาลไม่รับพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เมื่อพ้นกำหนดอายุอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์พิเศษ แม้ศาลชั้นต้นจะรับอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ขัดต่อมาตรา 229 จะรับอุทธรณ์ไว้วินิจฉัยมิได้ (อ้างฎีกาที่ 51/2489)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: ความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงที่ฟ้องกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักกระบือ 3 ตัวของ ซ.หรือรับกระบือนั้นไว้ โดยรู้ว่าเป็นของร้าย แต่ทางพิจารณาได้ความว่า กระบือที่ถูกคนร้ายลักไปเป็นกระบือของ ซ. 1 ตัว อีก 2 ตัวเป็นของผู้อื่นฝาก ซ.เลี้ยงไว้และกระบือ 2 ตัวที่จับได้จากจำเลยเป็นกระบือของผู้อื่นที่ฝากซ.ไว้ ดังนี้จะว่าทางพิจารณาต่างกับฟ้องหาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 62/2486)
(อ้างฎีกาที่ 62/2486)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความต่างของข้อเท็จจริงในฟ้องกับทางพิจารณา: การลักกระบือ และการรับของโจร
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักกระบือ 3 ตัวของซ. หรือรับกระบือนั้นไว้ โดยรู้ว่าเป็นของร้าย แต่ทางพิจารณาได้ความว่า กระบือที่ถูกคนร้ายลักไปเป็นกระบือของ ซ.1ตัวอีก2ตัวเป็นของผู้อื่นฝากซ.เลี้ยงไว้ และกระบือ 2 ตัวที่จับได้จากจำเลยเป็นกระบือของผู้อื่นที่ฝาก ซ. ไว้ ดังนี้ จะว่าทางพิจารณาต่างกับฟ้องหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 62/2486)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า พิจารณาเจตนาใช้สิทธิในสัญญาเช่าเพื่อพิจารณาว่าเป็น 'เคหะ' หรือไม่
โจทก์บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยในระหว่างใช้พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2489 และโจทก์มาฟ้องคดีก่อนใช้ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2490 คดีจึงตกอยู่ในบังคับมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2490 ต้องใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับ
การที่จะวินิจฉัยว่าเป็น'เคหะ'ตามความหมายใน พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2490 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีในเวลาทำสัญญากัน ประกอบกับเหตุผลแวดล้อมอื่นๆ รวมกันว่า การเช่าสิ่งปลูกสร้างนั้น เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือมิใช่ การที่ผู้เช่าอยู่ในที่เช่าจะต้องพิจารณาด้วยว่า การอยู่อยู่ในฐานะอย่างใด (อ้างฎีกาที่ 1099,1147/2491)
การที่จะวินิจฉัยว่าเป็น'เคหะ'ตามความหมายใน พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2490 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีในเวลาทำสัญญากัน ประกอบกับเหตุผลแวดล้อมอื่นๆ รวมกันว่า การเช่าสิ่งปลูกสร้างนั้น เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือมิใช่ การที่ผู้เช่าอยู่ในที่เช่าจะต้องพิจารณาด้วยว่า การอยู่อยู่ในฐานะอย่างใด (อ้างฎีกาที่ 1099,1147/2491)