คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลายมือชื่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้และค้ำประกัน, การเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความ, และการพิสูจน์ลายมือชื่อ
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารและจำเลยได้ลงชื่อในสัญญานั้นด้วย เมื่อศาลได้พิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกับลายเซ็นตัวอย่างที่จำเลยมอบให้ธนาคารไว้และกับลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายแล้ว เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ประกอบกับมีพยานบุคคลมายืนยันด้วย สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงไม่ใช่สัญญาปลอม
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 50,000 บาท ต่อมาจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีผลักใช้หนี้เป็นคราวๆ แสดงถึงฐานะของจำเลยว่ามีทางจะชำระหนี้ได้ ธนาคารจึงยอมให้เบิกเงินเกินกว่าสัญญากู้อันเป็นประเพณีของธนาคาร การเบิกเงินเกินบัญชีนี้ถือว่าเป็นเรื่องของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยเบิกเงินไปมากกว่าวงเงินที่ทำสัญญากู้ไว้ ต้องรับผิดในยอดเงินที่เกินนั้น ส่วนผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดในวงเงินเท่าที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้เท่านั้น
อายุความใช้สิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้ เรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ธนาคารจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปี ทั้งนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้เฉพาะที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ต่อแต่นั้นไปเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา(ฎีกาที่ 658-659/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้, สัญญาค้ำประกัน, เบิกเกินบัญชี, อายุความดอกเบี้ย, การพิสูจน์ลายมือชื่อ
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคาร. และจำเลยได้ลงชื่อในสัญญานั้นด้วย. เมื่อศาลได้พิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกับลายเซ็นตัวอย่างที่จำเลยมอบให้ธนาคารไว้และกับลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายแล้ว. เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ประกอบกับมีพยานบุคคลมายืนยันด้วย. สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงไม่ใช่สัญญาปลอม.
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 50,000 บาท. ต่อมาจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีผลักใช้หนี้เป็นคราวๆ แสดงถึงฐานะของจำเลยว่ามีทางจะชำระหนี้ได้. ธนาคารจึงยอมให้เบิกเงินเกินกว่าสัญญากู้อันเป็นประเพณีของธนาคาร. การเบิกเงินเกินบัญชีนี้ถือว่าเป็นเรื่องของบัญชีเดินสะพัด.ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ. จำเลยเบิกเงินไปมากกว่าวงเงินที่ทำสัญญากู้ไว้ ต้องรับผิดในยอดเงินที่เกินนั้น. ส่วนผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดในวงเงินเท่าที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้เท่านั้น.
อายุความใช้สิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง. เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้.เรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน. ธนาคารจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปี. ทั้งนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้เฉพาะที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัด. เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ต่อแต่นั้นไปเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้. คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา(ฎีกาที่ 658-659/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องมีลายมือชื่อคู่สัญญาครบถ้วน หากไม่สมบูรณ์เป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันก็เป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ถ้าหากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวย่อมเป็นโมฆะ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อจะฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งสัญญาเป็นโมฆะผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด เพราะการค้ำประกันจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องมีลายมือชื่อคู่สัญญาครบถ้วน หากไม่สมบูรณ์เป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันก็เป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ถ้าหากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวย่อมเป็นโมฆะ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อจะฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งสัญญาเป็นโมฆะ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด เพราะการค้ำประกันจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นคำท้าสืบพยานพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การวินิจฉัยพยานหลักฐานต้องพิจารณาความแท้จริงของลายมือชื่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ ไว้ หากจำเลยจะมีพินัยกรรมของเจ้ามรดก พินัยกรรมก็ปลอม เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ ได้เสนอสำเนาพินัยกรรมมาท้ายคำให้การ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำเลยส่งต้นฉบับต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานเพื่อโจทก์จะได้ตรวจดู โจทก์แถลงว่า ต้องสอบลายมือในพินัยกรรมจากผู้รู้ลายมือของผู้ทำพินัยกรรม แล้วคู่ความเลื่อนวันชี้สองสถานไป พอถึงวันชี้สองสถานครั้งที่ 2 คู่ความแถลงต่อศาลว่า คู่ความตกลงกันสืบประเด็นเดียวว่า พินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ที่ว่า "พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่" ตามที่คู่ความตกลงกันหรือท้ากันสืบนี้ หมายความถึงประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันก่อนว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมหรือไม่นั่นเอง ถ้านายอ่อนได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้จริงโจทก์ก็แพ้คดีตามคำท้า แต่ถ้านายอ่อนไม่ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ จำเลยก็แพ้คดีตามคำท้า ดังนั้นที่คู่ความนำสืบพยานหลักฐานในประเด็นที่ว่า นายอ่อนเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหมายล.1หรือไม่ จึงอยู่ในประเด็นคำท้าที่คู่ความพิพาทโต้เถียงกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็นคำท้าไม่ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นคำท้า มิใช่นอกประเด็นคำท้าเช่นเดียวกันการที่คู่ความแถลงท้ากันศาลจดประเด็นคำท้า ใช้คำว่า"พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่" นั้น ไม่ทำให้ประเด็นคำท้าที่คู่ความพิพาทโต้เถียงกันมาก่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น เพราะคำว่า "ชอบด้วยกฎหมาย"นี้ มีความหมายกว้างมาก การใดที่กฎหมายห้ามมิให้กระทำแต่ผู้ใดฝ่าฝืนไปกระทำการนั้นเข้า ต้องถือว่าการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1656 ได้บัญญัติถึงแบบของพินัยกรรมธรรมดาไว้ว่าผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ถ้าผู้อื่นปลอมลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมลงในพินัยกรรม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย พินัยกรรมถือว่าทำขึ้นผิดแบบ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่พิเคราะห์ดูแต่ตัวพินัยกรรมอย่างเดียว โดยไม่ฟังคำพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ จะไม่มีทางทราบได้เลยว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: หลักฐานลายมือชื่อฝ่ายจำเลยเพียงพอ แม้โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อร่วม
สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำตามแบบ เพียงแต่บัญญัติว่า ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่แยกลงลายมือชื่อในเอกสารคนละฉบับ โจทก์ย่อมอาศัยเอกสารที่จำเลยลงลายมือชื่อฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ แม้โจทก์จะมิได้ลงลายมือชื่อร่วมในเอกสารนั้นด้วย
ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: หลักฐานลายมือชื่อฝ่ายรับผิดเพียงพอต่อการบังคับคดี แม้ผู้ฟ้องไม่ลงชื่อ
สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำตามแบบ เพียงแต่บัญญัติว่า ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่แยกลงลายมือชื่อในเอกสารคนละฉบับ โจทก์ย่อมอาศัยเอกสารที่จำเลยลงลายมือชื่อฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ แม้โจทก์จะมิได้ลงลายมือชื่อร่วมในเอกสารนั้นด้วย
ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: หลักฐานลายมือชื่อฝ่ายรับผิดเพียงพอฟ้องบังคับได้ แม้คู่สัญญามิได้ลงลายมือชื่อร่วมกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำตามแบบ. เพียงแต่บัญญัติว่า ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ. จะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้.
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่แยกลงลายมือชื่อในเอกสารคนละฉบับ. โจทก์ย่อมอาศัยเอกสารที่จำเลยลงลายมือชื่อฟ้องร้องบังคับจำเลยได้. แม้โจทก์จะมิได้ลงลายมือชื่อร่วมในเอกสารนั้นด้วย.
ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์. ทั้งไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.ต้องห้ามมิให้ฎีกา. แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา.ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการท้าพิสูจน์ลายมือชื่อและการยอมแพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้จะเป็นฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยาน และจำเลยมิได้โต้แย้งไว้. แต่โดยที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและพิพากษาในวันเดียวกัน. ไม่มีโอกาสที่จำเลยจะโต้แย้งได้ก่อน. จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้.
ถ้ามีปัญหาข้อใดในคดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย. หากคู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ. ย่อมเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบในข้อเท็จจริงตามประเด็นข้อพิพาทนั้นได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183,184,185และ 85. แต่ถ้าปัญหาข้อใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว. ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท. เพราะเป็นอันฟังได้ตามที่รับกันนั้นโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานใดๆ ในปัญหาข้อนั้นอีก. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84.
การที่คู่ความท้ากันในคดี ถือได้ว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84 นั้นเอง. แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน. ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นสมความประสงค์ของคู่ความฝ่ายใดตามที่ท้ากัน อีกฝ่ายหนึ่งก็ยอมรับตามข้ออ้างของฝ่ายที่สมประสงค์นั้นทั้งหมด.
คู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในที่ต่างๆ. หากผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2. จำเลยทั้ง4 คนยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โจทก์ยอมแพ้. ผลจึงเป็นดังที่กล่าวข้างต้น กล่าวคือ โจทก์จำเลยต่างจะยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง. ถ้าผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งสมความประสงค์ของฝ่ายใด.ฉะนั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์แล้วและมีความเห็นว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2 กับลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ในใบแต่งทนาย ใบรับหมายและตัวอย่างที่เขียนต่อหน้าศาลน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน.ซึ่งหมายความว่า ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2น่าจะเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 นั้นเอง. จึงเป็นการสมความประสงค์ของโจทก์และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าตรงตามคำท้าแล้ว ก็มีผลตามความเห็นนั้นว่า. จำเลยยอมรับตามข้ออ้างของโจทก์ทั้งหมดและยอมแพ้คดี คู่ความจึงไม่มีภาระการพิสูจน์ตามข้ออ้างนั้นอีก. เมื่อเป็นดังนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานของทั้งสองฝ่าย จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอย่างใด.
ข้อที่ฎีกาว่า ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญไม่ตรงตามคำท้า.ในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจะแปลความหมายแห่งถ้อยคำในรายงานกระบวนพิจารณา. จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย.
ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ก็ด้วยการแสดงความเห็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130จะยืนยันข้อเท็จจริงไม่ได้. เพราะไม่ได้เห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรง.
คู่ความท้ากันในรายงานกระบวนพิจารณาว่า หากผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาหมาย จ.2 น่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว. จำเลยทั้งสี่คนยอมแพ้คดี. แต่ถ้าไม่ใช่โจทก์ยอมแพ้คดี. การท้ากันในคดีนี้จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าเป็นการท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นหาใช่ให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันข้อเท็จจริงไม่. ฉะนั้น แม้ผู้เชี่ยวชาญจะแสดงเหตุผลในการแสดงความเห็นอย่างใดก็ตามแต่ในที่สุดเห็นว่าลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.2 น่าจะเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 แล้ว.ก็ย่อมเป็นการแสดงความเห็นที่สมประสงค์ของโจทก์ตรงตามคำท้าจำเลยจึงต้องแพ้คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเช็ค: ผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อโดยมิได้ระบุ 'ในนาม' ย่อมเป็นผู้รับผิด แม้จะอ้างว่าสั่งจ่ายแทนผู้อื่น
เช็ครายพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย โดยมิได้เขียนว่ากระทำแทนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลแสงอุทัย จำเลยจึงต้องเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900, 901 การที่จำเลยขอสืบว่า จำเลยเซ็นสั่งจ่ายในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลแสงอุทัยนั้น แม้จำเลยจะสืบได้ จำเลยก็หาหลุดพ้นความรับผิดตามเช็คนั้นไม่
เช็ครายพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และโจทก์มีเช็ครายพิพาทไว้ในความครอบครอง นอกจากนี้เช็ครายพิพาทมีคำจดแจ้งว่าหรือให้ใช้เงินแก่ผู้ถือและฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือ ฉะนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คทั้งในฐานะผู้มีชื่อเป็นผู้รับเงินและในฐานะเป็นผู้ถือเช็ครายพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ข้อความในเช็ครายพิพาทมิได้ระบุว่าโจทก์รับเงินในฐานะเป็นตัวแทนผู้ใด ฉะนั้น แม้จำเลยจะนำสืบได้ว่าโจทก์รับเงินในฐานะเป็นตัวแทนบุคคลอื่น จำเลยก็หาพ้นความรับผิดไม่
of 39