คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์: พิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น ณ เวลาที่ยื่นคำร้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ศาลจะอนุญาตให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นผู้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นนั้นไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงจากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ในขณะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายังมีทรัพย์สินอย่างอื่นอยู่อีกถึง 40 ล้านบาทเศษ แม้ต่อมาภายหลังจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยได้ส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปหมดแล้วก็ตาม กรณียังถือไม่ได้ว่าในขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์นั้น ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงจากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีเดิม: โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอเพิกถอนนิติกรรมหากจำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นลูกหนี้
คดีเดิมซึ่งโจทก์ฟ้อง ร. เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 1คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันคู่ความในคดีเดิม จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ดังนั้นในช่วงเวลาที่คดีเดิมอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2นำไปจดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ 3 ย่อมไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มาใช้บังคับได้เพราะยังไม่มีหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนอง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นลูกหนี้โจทก์ และคำพิพากษาคดีก่อนผูกพัน
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่า จำเลยที่ 1รับโอนที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันคู่ความจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสีย ดังนั้นในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 นำไปจำนองกับจำเลยที่ 3 ย่อมมิอาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มาใช้บังคับ โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทของจำเลยที่ 1 และการจำนองที่พิพาทของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้: ผลของการผ่อนชำระหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม และการนับอายุความใหม่
การผ่อนชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันและอาวัลตั๋วเงินกระทำภายในกำหนด 1 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ถึงแก่กรรมจึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความกันใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่ามีอายุความเท่าไรจึงถือตามกำหนดอายุความทั่วไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 คือมีกำหนด 10 ปี อายุความที่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินจะฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนดสามปีนับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดจ่ายเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001ประกอบด้วยมาตรา 940 และมาตรา 985 จำเลยที่ 3 ได้ผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 8มิถุนายน 2527 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2530 จึงเป็นการฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี และฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินในฐานะเป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินภายในกำหนด 3 ปีนับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์และการบุกรุก: สิทธิเจ้าหนี้ในการเข้ายึดทรัพย์ในบ้านเช่าของผู้เช่าและลูกหนี้ร่วม
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของสามีโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในหนี้สินที่สามีโจทก์ต่อจำเลยที่ 1ไปตามช่างกุญแจมาไขประตูบ้านที่โจทก์เช่าเพื่อยึดทรัพย์ของสามีโจทก์ โดยความรู้เห็นยินยอมของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 279 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกระทำการตามสมควรเพื่อเปิดสถานที่หรือบ้านที่อยู่ของลูกหนี้หรือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ปกครองอยู่ได้ ดังนี้แม้สามีโจทก์จะไม่ได้เป็นผู้เช่า แต่เมื่ออยู่ในบ้านที่เช่าด้วยก็เท่ากับปกครองบ้านหลังดังกล่าวร่วมกับโจทก์ด้วย จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ของสามีโจทก์ในบ้านดังกล่าวได้ ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้รักษาทรัพย์ที่ถูกยึดนำลูกกุญแจลูกใหม่มาใช่ประตูบ้าน หลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์ไว้แล้วทำให้โจทก์เข้าบ้านไม่ได้นั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้อยู่บ้านถึง 7 เดือนแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์ที่ถูกยึดสูญหาย จึงไม่เป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้ vs. สิทธิลูกหนี้ในการประนอมหนี้และทรัพย์สินที่มีเงื่อนไข
เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสิ้นเชิง ที่จำเลยขอประนอมหนี้ โดยขอลดหย่อนจำนวนหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์นั้น ย่อมเป็นสิทธิโดยชอบของโจทก์ที่จะพิจารณา การที่โจทก์ไม่รับพิจารณาหาอาจให้ถือว่าเป็นการบีบคั้น กลั่นแกล้งจำเลย โดยไม่เป็นธรรมและถือเป็นเหตุไม่ควรให้จำเลยล้มละลายไม่ ส่วนที่อ้างว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด เพราะจำเลยมีสิทธิในการรับมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าจำนวนหนี้สินสิทธิที่จำเลยอ้างจะเกิดเป็นผลต่อเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเสียก่อนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม จึงเป็นสิทธิที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน ยังไม่เป็นผลที่จะถือว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้แน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและการยกข้อต่อสู้ระหว่างลูกหนี้ ผู้โอน และผู้รับโอน
โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้จาก ฉ.โดยทำเป็นหนังสือและได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนได้นั้นจะต้องเป็นข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้มีต่อผู้โอน หาใช่ข้อต่อสู้ระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนไม่ ดังนั้น กรณีที่ผู้โอนจะเป็นหนี้ผู้รับโอนหรือไม่ จึงเป็นเรื่องระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนมิใช่ระหว่างผู้โอนกับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยจึงหามีสิทธิยกเอาข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ไม่การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ฉ. กับโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: ลูกหนี้ยกข้อต่อสู้ได้เฉพาะกับผู้โอน ไม่สามารถยกข้อต่อสู้ระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนได้
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีการบอกกล่าวลูกหนี้โดยชอบแล้วนั้นลูกหนี้สามารถยกข้อต่อสู้ที่ตนมีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้แต่หาอาจยกข้อต่อสู้ระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เกิดจากเจตนาช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายล้มละลาย
ลูกหนี้เป็นบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ การที่ลูกหนี้ประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตแล้วเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินถึงขนาดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีหน้าที่คอย ควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของลูกหนี้และสมาคมไทยเงินทุนและหลักทรัพย์ต้องขอร้องให้เจ้าหนี้ทั้งสามรายเข้าไปช่วยเหลือย่อมแสดงว่าในขณะนั้นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และขาดความเชื่อถือจากสถาบันการเงินอื่น จึงไม่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอื่น ๆ โดยลำพังตนเองเพื่อมาพยุงฐานะของตนได้ การที่เจ้าหนี้ทั้งสามให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินแม้จะเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามที่ได้รับการขอร้อง แต่ก็เป็นการยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาที่ว่าหนี้รายใดจะต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในคดี ล้มละลายหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเจ้าหนี้ผู้โต้แย้งก็ชอบที่จะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการรับสภาพหนี้: ผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้แต่ละราย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว ดังนี้โจทก์เป็นพ่อค้าฟ้องเรียกเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสอง จึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) การที่ก่อนครบกำหนดอายุความ 2 ปี จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอผัดผ่อนค่าสินค้าย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172(เดิม) และต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ แต่หลังจากอายุความ 2 ปี ที่เริ่มนับใหม่ได้ครบบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือว่าจะนำเงินค่าสินค้าที่ค้างชำระให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนและลงลายมือชื่อเพียงผู้เดียว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ลบล้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในอันที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192(เดิม) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 2 ปีนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความและข้อต่อสู้เรื่องอายุความของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความแล้ว
of 83