พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9194/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยการเสียสิทธิการครอบครองเดิม
ตามคำขอให้การของจำเลยระบุไว้ชัดว่าจำเลยไม่เคยรู้จักโจทก์มาก่อนและไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเข้าครอบครองยึดถือเพื่อตนด้วยความสงบเปิดเผย และได้ทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยไม่เคยขออาศัยที่ดินของโจทก์ แม้จะไม่ระบุตรง ๆ ว่าจำเลยเข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่เมื่ออ่านโดยรวมแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยต่อสู้ว่าได้เข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์แล้ว จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์เสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้วได้หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้องนอกคำให้การไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9160/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ: ค่าตอบแทนผู้บริหารแผนและโอกาสสำเร็จ
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนของศาลนั้น จะต้องพิจารณาด้วยว่าต้องบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 หรือไม่ และตามมาตรา 90/58 (1) ให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า แผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 โดยมาตรา 90/42 (7) ในแผนนั้นจะต้องมีรายการ ชื่อ คุณสมบัติ หนังสือยินยอมของผู้บริหารแผน และค่าตอบแทนของผู้บริหารแผน เช่นนี้ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน ศาลจึงต้องพิจารณาถึงค่าตอบแทนของผู้บริหารแผนด้วยว่าค่าตอบแทนของผู้บริหารแผนนั้นเหมาะสมกับสภาพการงานที่ทำหรือไม่และจำนวนดังกล่าวสูงเกินสมควรหรือไม่
แผนมีโอกาสดำเนินการสำเร็จหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายมิได้มีบัญญัติเงื่อนไขส่วนนี้ไว้โดยตรง แต่การที่กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ว่าหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบัญญัติในส่วนที่ 8 เรื่อง การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบให้เป็นดุลพินิจว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาถึงโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนนั้นด้วย เพราะว่ากรณีไม่มีประโยชน์อันใดที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อเป็นไปได้ว่าแผนนั้นไม่มีโอกาสดำเนินการสำเร็จได้หรือหากดำเนินการไปแล้วลูกหนี้ต้องประสบกับภาวะล้มละลายในที่สุด
ในการที่จะพิจารณาว่าค่าตอบแทนนั้นสมควรหรือไม่ เมื่อยังไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องพิจารณาถึงขนาดของกิจการ ความยุ่งยากในการดำเนินการ ปริมาณของบุคลากรที่จะต้องใช้ วิธีการในการฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนชื่อเสียง ผลงาน ประสบการณ์ของผู้บริหารแผนนั้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกันตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แต่ละรายไป
แผนมีโอกาสดำเนินการสำเร็จหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายมิได้มีบัญญัติเงื่อนไขส่วนนี้ไว้โดยตรง แต่การที่กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ว่าหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบัญญัติในส่วนที่ 8 เรื่อง การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบให้เป็นดุลพินิจว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาถึงโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนนั้นด้วย เพราะว่ากรณีไม่มีประโยชน์อันใดที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อเป็นไปได้ว่าแผนนั้นไม่มีโอกาสดำเนินการสำเร็จได้หรือหากดำเนินการไปแล้วลูกหนี้ต้องประสบกับภาวะล้มละลายในที่สุด
ในการที่จะพิจารณาว่าค่าตอบแทนนั้นสมควรหรือไม่ เมื่อยังไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องพิจารณาถึงขนาดของกิจการ ความยุ่งยากในการดำเนินการ ปริมาณของบุคลากรที่จะต้องใช้ วิธีการในการฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนชื่อเสียง ผลงาน ประสบการณ์ของผู้บริหารแผนนั้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกันตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แต่ละรายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วมไม่ใช่คำคู่ความ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
คำร้องขอของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อเป็นจำเลยร่วมไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความ ไม่เหมือนกรณีที่บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ว่าโดยความสมัครใจ หรือถูกหมายเรียกของศาลให้เข้ามา เนื่องจากคำร้องสอดของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อศาลเป็นการตั้งประเด็นโต้แย้งกับคู่ความในคดีจึงมีลักษณะเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) และ (5) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการกำหนดค่าทนายความ
ตามบันทึกข้อความเอกสารที่พิพาทมีข้อความว่า วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เรื่อง ขอยืมเงิน และมีข้อความต่อไปว่า ข้าพเจ้านายสวาท ภิรมย์เอี่ยม (จำเลย) ขอยืมเงินป้าเกศินีฯ (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) และจำเลยได้ลงลายมือในบันทึกดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานด้วย เมื่อฟังประกอบข้อเท็จจริงที่เป็นยุติว่า โจทก์ได้ถอนเงินจากธนาคารและมอบเงินจำนวน 20,000 บาท ให้แก่จำเลย จำเลยจึงมอบบันทึกข้อความดังกล่าวแก่โจทก์ที่ธนาคาร ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์จำนวน 20,000 บาท จำเลยผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อความดังกล่าวไว้เป็นสำคัญ บันทึกข้อความย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานแห่งการกู้ยืมมิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวมกันต่ำกว่าอัตราที่กำหนดตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
หลักฐานแห่งการกู้ยืมมิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวมกันต่ำกว่าอัตราที่กำหนดตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเลิกแล้ว ศาลไม่สามารถใช้ลงโทษจำเลยได้ แม้โจทก์อ้าง
ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกรรมโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 11 มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 21 จึงถือว่าความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับสาขาเวชกรรมถูกยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 การที่โจทก์อ้างกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาขอให้ลงโทษจำเลย มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างบทกฎหมายผิด ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8647/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อทรัพย์มรดกเกี่ยวข้องกับหลายศาล
อ. ก. และ ป. เจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือที่ดินน.ส. 3 ที่จังหวัดมหาสารคาม ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ อ. และ ก. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมหาสารคามในขณะที่ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 4 จัตวา และขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ซึ่งไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามมาในคำร้องเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8623/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดทั้งยื่นคำให้การและมาศาลตามนัดสืบพยาน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง (เดิม) ที่บัญญัติว่า คำขอให้พิจารณาใหม่ให้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความได้ขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ความหมายก็คือ ต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งทั้งสองประการ คือ ทั้งเหตุที่ได้ขาดนัดพิจารณาและทั้งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาด คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย กล่าวเพียงเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นแต่จำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดพิจารณาเป็นเหตุที่จำเลยจะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง จึงไม่มีเหตุที่จะให้มีการพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์เกินกำหนด แม้ศาลอนุญาตให้ขยายเวลาแล้ว การยื่นหลังกำหนดถือเป็นเหตุไม่รับอุทธรณ์
วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ และยังมีข้อความอีกว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว"พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้เช่นกัน ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้มีคำสั่งในวันเดียวกันนั้น หากแต่ได้มีคำสั่งในวันที่ 13 มีนาคมก็ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้ว ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ว่าอย่างไร เพราะสำนวนความเสนอศาลอยู่และยังคัดถ่ายสำเนาคำสั่งศาลไม่ได้ก็มิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์ถึงวันที่ 22 มีนาคม การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องในวันที่ 23 มีนาคม จึงเกินกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายไว้ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์และไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8320/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสืบเสาะฯ ไม่ใช่พยานหลักฐานโจทก์ ศาลไม่อาจนำลงโทษจำเลยได้
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในสำนวนคดีอาญาไม่ใช่เป็นพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174 วรรคหนึ่ง ทั้งเป็นเอกสารลับในสำนวนคดีอื่น จำเลยไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน ศาลไม่อาจนำมารับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8149/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะ และผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ว. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะ โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลอุทธรณ์จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ต่อเมื่อมีบุคคลเข้าแทนที่ผู้มรณะก่อน และจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 , 44 การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งเรื่องการขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่และพิพากษาคดีไปจึงไม่ชอบ แต่เนื่องจากคดีนี้ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องขอเข้าเป็นผู้แทนจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง