พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษฐานครอบครองยาเสพติดโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ฟ้องว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย ศาลลงโทษได้ตามบทลงโทษที่เบากว่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง จึงไม่ใช่ความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ จะบัญญัติความผิดทั้งสองฐานไว้คนละมาตราก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลล่างทั้งสองก็ย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีบุกรุกป่าและการดำเนินคดีอาญาที่ศาลล่างพิพากษาผิดพลาดเรื่องอายุความและบทลงโทษ
การที่จะนำกฎหมายฉบับใดมาใช้เพื่อพิจารณาพิพากษาให้บุคคลได้รับโทษทางอาญานั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คดีนี้จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ต้นปี 2558 และได้กระทำต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 การกระทำความผิดของจำเลยจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุ และยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยช่วงระหว่างต้นปี 2558 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 การยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) และเมื่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับ และขณะที่กฎหมายฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยภายหลังวันที่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 ด้วย คดีนี้จึงชอบที่ต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย กรณีมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด และหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังการกระทำความผิดขึ้นไม่อาจมีผลย้อนหลังไปเอาผิดหรือลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นดังที่จำเลยฎีกาไม่ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ไขเพิ่มเติมโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแก่จำเลยแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ความผิดฐานเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 16 (13) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 27 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มีอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อต้นปี 2558 วันใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวัน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 จึงเกินกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 16 (13) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 27 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มีอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อต้นปี 2558 วันใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวัน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 จึงเกินกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4033/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานสมคบกันก่อการร้าย พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน และสะสมกำลังพล ศาลพิพากษาแก้โทษจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป กระทำความผิดฐานก่อการร้ายโดยใช้กำลังประทุษร้าย พยายามฆ่าเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งกระทำการตามหน้าที่ สะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อก่อการร้าย กระทำการอื่นใดเพื่อก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคลอื่น ก่อให้เกิดหรือน่าจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ อันเป็นการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและความผิดที่จำเลยกับพวกสมคบกันเพื่อกระทำมีกำหนดโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และจำเลยกับพวกร่วมกันสะสมกำลังพล อาวุธและทรัพย์สินเพื่อก่อการร้าย อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ลงโทษจำเลยกับพวกฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร และฐานร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธหรือสมคบกันเพื่อก่อการร้ายในการกระทำคราวเดียวกัน จึงเป็นการกระทำความผิดโดยมีเจตนาเดียวกัน อันถือเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธหรือสมคบกันเพื่อก่อการร้าย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้โจทก์มิได้ขอท้ายฟ้องโดยตรง ศาลพิพากษาได้หากฟ้องอ้างมาตราที่บัญญัติโทษปรับรายวัน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 52 วรรคหก มาตรา 57 หรือมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และวรรคสอง บัญญัติว่า "นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 34 หรือมาตรา 57 ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง" ดังนั้นแม้ว่าโจทก์จะมิได้ระบุคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวัน แต่โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ประกอบมาตรา 65 มาแล้ว และเมื่อฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 21 จึงต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง และลงโทษปรับเป็นรายวันมานั้น จึงไม่เกินคำขอของโจทก์