คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สละสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การลวงสาธารณชน และการสละสิทธิในการต่อสู้คดีอายุความ
จำเลยรับว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่เหมือนกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละเครื่องหมาย ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนกับคดีนี้จึงแตกต่างกัน มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคำวินิจฉัยในคดีนี้จึงไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาฎีกาในคดีเรื่องก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ (ด้านที่มีสีแดง) มีลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่รูปสมอตรงกลางของวงกลม ส่วนอักษรโรมันและตัวเลขที่ล้อมรอบรูปสมอในวงกลมชั้นนอกและอักษรโรมันและตัวเลขในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอ เป็นเพียงส่วนประกอบรูปสมออันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะเท่านั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด ตามด้ายหลอดหมาย จ.2(ด้านที่มีสีแดง) ก็มีรูปสมออยู่ตรงกลางของวงกลมสองชั้นเหมือนกันในวงกลมชั้นนอกมีอักษรโรมันและตัวเลขล้อมรอบรูปสมอและในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอก็มีอักษรโรมันและตัวเลขคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้วางรูปไว้คล้ายคลึงกับของโจทก์มาก สิ่งที่ผิดกันก็คือตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกไม่เหมือนกันตัวเลขเล็กๆ ในวงกลมชั้นในแตกต่างกันบ้าง และในวงกลมชั้นในของเครื่องหมายที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 มีดาวเก้าดวงล้อมสมอเพิ่มขึ้นเฉพาะที่ตัวสมอแตกต่างกันในส่วนสำคัญเล็กน้อย คือ ที่เครื่องหมายในด้ายหลอดหมาย จ.2 ตรงปลายสมอมีเส้นเล็กๆเพิ่มขึ้น 2 เส้นที่โคนของด้ามสมอ แทนที่จะเป็นรูปห่วงกลมเช่นของโจทก์ แต่เปลี่ยนเป็นรูปเปลวไฟซึ่งเกือบเป็นรูปกลม ดังนี้ เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 ก็มุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะบ่งเฉพาะที่รูปสมอเหมือนกัน ดาวเก้าดวงล้อมสมอที่ทำเพิ่มขึ้นเลือนลางมาก ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ ส่วนความแตกต่างกันของตัวสมอก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยในส่วนสำคัญดังกล่าวมาแล้ว เส้นเล็กๆ สองเส้นที่ปลายสมอ ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นเช่นเดียวกัน ส่วนเปลวไฟที่โคนด้ามสมอ ถ้าไม่สังเกตก็อาจเห็นเป็นรูปกลมเช่นเดียวกับของโจทก์ ตัวเลขภายในวงกลมชั้นในที่ผิดกันเกือบมองไม่เห็น ตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกแม้จะไม่เหมือนกันเลยแต่สำหรับผู้ที่อ่านภาษาโรมันไม่ออก และได้เห็นด้ายหลอดตามวัตถุพยานหมาย จ.1 และ จ.2 คนละครั้ง อาจสับสนกันได้ว่า ด้ายหลอดหมาย จ.2 คือด้ายหลอดหมาย จ.1 ยิ่งให้สีเหมือนกัน ก็ยิ่งคล้ายคลึงกันมากขึ้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นดังที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้าตามด้ายหลอดหมาย จ.2 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามด้ายหลอดหมาย จ.1 จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงชอบที่จะต้องแสดงมาด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด แต่จำเลยหาได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไม่ และศาลชั้นต้นไม่ได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัย ชั้นอุทธรณ์จำเลยกล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า เมื่อประเด็นสำคัญที่กล่าวมาในอุทธรณ์ข้อ 2,3โจทก์ไม่ทางชนะคดีแล้ว จำเลยก็ขอให้ผ่านประเด็นเรื่องอายุความไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัย ที่จำเลยกล่าวเช่นนี้มีความหมายว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความเสียแล้วในชั้นอุทธรณ์ เพราะจำเลยเชื่อว่าประเด็นสำคัญที่กล่าวในอุทธรณ์ข้อ 2,3 เพียงพอที่จำเลยจะชนะคดีได้ หาได้มีความหมายดังที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ถ้าโจทก์ไม่มีทางชนะคดีจำเลยโดยอาศัยประเด็นข้ออื่นก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องอายุความ แต่ถ้าโจทก์มีทางชนะคดีจำเลย ก็ให้ยกอายุความขึ้นวินิจฉัย ดังนี้ไม่ เพราะจำเลยย่อมไม่มีสิทธิกำหนดให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนหลัง หรือให้วินิจฉัยประเด็นข้อใด และไม่วินิจฉัยประเด็นข้อใด ในเมื่อจำเลยไม่ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นที่จะไม่ให้วินิจฉัยนั้น
จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 และย่อมถือได้ว่าประเด็นข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ลวงสาธารณชน และประเด็นอายุความที่จำเลยสละสิทธิ
จำเลยรับว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่เหมือนกัน. จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละเครื่องหมาย. ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนกับคดีนี้จึงแตกต่างกัน. มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคำวินิจฉัยในคดีนี้จึงไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาฎีกาในคดีเรื่องก่อน.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ (ด้านที่มีสีแดง) มีลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่รูปสมอตรงกลางของวงกลม. ส่วนอักษรโรมันและตัวเลขที่ล้อมรอบรูปสมอในวงกลมชั้นนอกและอักษรโรมันและตัวเลขในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอ เป็นเพียงส่วนประกอบรูปสมออันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะเท่านั้น. ส่วนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด ตามด้ายหลอดหมาย จ.2(ด้านที่มีสีแดง) ก็มีรูปสมออยู่ตรงกลางของวงกลมสองชั้นเหมือนกัน.ในวงกลมชั้นนอกมีอักษรโรมันและตัวเลขล้อมรอบรูปสมอและในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอก็มีอักษรโรมันและตัวเลขคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์. ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้วางรูปไว้คล้ายคลึงกับของโจทก์มาก. สิ่งที่ผิดกันก็คือตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกไม่เหมือนกันตัวเลขเล็กๆ ในวงกลมชั้นในแตกต่างกันบ้าง. และในวงกลมชั้นในของเครื่องหมายที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 มีดาวเก้าดวงล้อมสมอเพิ่มขึ้น.เฉพาะที่ตัวสมอแตกต่างกันในส่วนสำคัญเล็กน้อย. คือ ที่เครื่องหมายในด้ายหลอดหมาย จ.2 ตรงปลายสมอมีเส้นเล็กๆเพิ่มขึ้น 2 เส้นที่โคนของด้ามสมอ แทนที่จะเป็นรูปห่วงกลมเช่นของโจทก์. แต่เปลี่ยนเป็นรูปเปลวไฟซึ่งเกือบเป็นรูปกลม. ดังนี้ เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 ก็มุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะบ่งเฉพาะที่รูปสมอเหมือนกัน. ดาวเก้าดวงล้อมสมอที่ทำเพิ่มขึ้นเลือนลางมาก. ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้. ส่วนความแตกต่างกันของตัวสมอก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยในส่วนสำคัญดังกล่าวมาแล้ว. เส้นเล็กๆ สองเส้นที่ปลายสมอ ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นเช่นเดียวกัน ส่วนเปลวไฟที่โคนด้ามสมอ ถ้าไม่สังเกตก็อาจเห็นเป็นรูปกลมเช่นเดียวกับของโจทก์. ตัวเลขภายในวงกลมชั้นในที่ผิดกันเกือบมองไม่เห็น. ตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกแม้จะไม่เหมือนกันเลยแต่สำหรับผู้ที่อ่านภาษาโรมันไม่ออก.และได้เห็นด้ายหลอดตามวัตถุพยานหมาย จ.1 และ จ.2 คนละครั้ง อาจสับสนกันได้ว่า. ด้ายหลอดหมาย จ.2 คือด้ายหลอดหมาย จ.1. ยิ่งให้สีเหมือนกัน ก็ยิ่งคล้ายคลึงกันมากขึ้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นดังที่กล่าวมานี้.จึงเห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้าตามด้ายหลอดหมาย จ.2คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามด้ายหลอดหมาย จ.1จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ. จำเลยจึงชอบที่จะต้องแสดงมาด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด. แต่จำเลยหาได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไม่. และศาลชั้นต้นไม่ได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัย.ชั้นอุทธรณ์จำเลยกล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า. เมื่อประเด็นสำคัญที่กล่าวมาในอุทธรณ์ข้อ 2,3โจทก์ไม่ทางชนะคดีแล้ว. จำเลยก็ขอให้ผ่านประเด็นเรื่องอายุความไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัย. ที่จำเลยกล่าวเช่นนี้มีความหมายว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความเสียแล้วในชั้นอุทธรณ์. เพราะจำเลยเชื่อว่าประเด็นสำคัญที่กล่าวในอุทธรณ์ข้อ 2,3 เพียงพอที่จำเลยจะชนะคดีได้. หาได้มีความหมายดังที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ถ้าโจทก์ไม่มีทางชนะคดีจำเลยโดยอาศัยประเด็นข้ออื่น.ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องอายุความ. แต่ถ้าโจทก์มีทางชนะคดีจำเลย ก็ให้ยกอายุความขึ้นวินิจฉัย. ดังนี้ไม่. เพราะจำเลยย่อมไม่มีสิทธิกำหนดให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนหลัง. หรือให้วินิจฉัยประเด็นข้อใด และไม่วินิจฉัยประเด็นข้อใด.ในเมื่อจำเลยไม่ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นที่จะไม่ให้วินิจฉัยนั้น.
จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์. การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 และย่อมถือได้ว่าประเด็นข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์.ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน-กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์-การสละสิทธิ-การวินิจฉัยตามหลักฐานในสำนวน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเช่าเลขที่ 1 และ 1/1 จำเลยให้การต่อสู้ว่าบ้านเลขที่ 1/1 เป็นของจำเลย.ดังนี้ ถ้าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีในประเด็นข้อนี้โจทก์ก็อาจยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน แต่โจทก์ก็หาทำไม่ การที่โจทก์แถลงในวันชี้สองสถานว่าโจทก์ยอมยกกรรมสิทธิ์ในอู่รถยนต์ (บ้านเลขที่ 1/1)ให้จำเลย จะถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งมีขึ้นโดยโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังการชี้สองสถาน ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ เมื่อไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ก็ต้องถือตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า บ้านเลขที่ 1/1 ใช้เป็นอู่ซ่อมรถยนต์เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยเช่าจากโจทก์ ขอให้ขับไล่.จำเลยให้การว่าบ้านเลขที่ 1/1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยในวันชี้สองสถานโจทก์แถลงยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย จึงเท่ากับโจทก์สละสิทธิที่จะดำเนินคดีกับจำเลยในประเด็นข้อนี้.ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามคำให้การของจำเลยว่าบ้านเลขที่1/1 เป็นของจำเลย โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากบ้านของจำเลยเองไม่ได้
ตามคำฟ้อง คำให้การของจำเลยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างว่าที่ดินที่ปลูกบ้านเลขที่ 1/1 เป็นส่วนหนึ่งของการเช่าบ้านเลขที่ 1 จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องแปลสัญญาเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินตรงที่ปลูกบ้านเลขที่ 1/1ด้วยหรือไม่
การที่ศาลวินิจฉัยตามสภาพที่ปรากฏในขณะที่ศาลไปเผชิญสืบตรวจดูที่พิพาทจึงเป็นการวินิจฉัยตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้อง การสละสิทธิ และขอบเขตการเช่าทรัพย์ การฟ้องขับไล่ต้องสอดคล้องกับสิทธิของผู้ให้เช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเช่าเลขที่ 1 และ 1/1จำเลยให้การต่อสู้ว่าบ้านเลขที่ 1/1 เป็นของจำเลยดังนี้ ถ้าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีในประเด็นข้อนี้โจทก์ก็อาจยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน แต่โจทก์ก็หาทำไม่ การที่โจทก์แถลงในวันชี้สองสถานว่าโจทก์ยอมยกกรรมสิทธิ์ในอู่รถยนต์ (บ้านเลขที่ 1/1)ให้จำเลย จะถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งมีขึ้นโดยโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังการชี้สองสถาน ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ เมื่อไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ก็ต้องถือตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า บ้านเลขที่ 1/1 ใช้เป็นอู่ซ่อมรถยนต์เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยเช่าจากโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่าบ้านเลขที่ 1/1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ในวันชี้สองสถานโจทก์แถลงยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย จึงเท่ากับโจทก์สละสิทธิที่จะดำเนินคดีกับจำเลยในประเด็นข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามคำให้การของจำเลยว่าบ้านเลขที่1/1 เป็นของจำเลย โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากบ้านของจำเลยเองไม่ได้
ตามคำฟ้อง คำให้การของจำเลยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างว่าที่ดินที่ปลูกบ้านเลขที่ 1/1 เป็นส่วนหนึ่งของการเช่าบ้านเลขที่ 1 จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องแปลสัญญาเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินตรงที่ปลูกบ้านเลขที่ 1/1ด้วยหรือไม่
การที่ศาลวินิจฉัยตามสภาพที่ปรากฏในขณะที่ศาลไปเผชิญสืบตรวจดูที่พิพาทจึงเป็นการวินิจฉัยตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องและการสละสิทธิในคดีขับไล่: ศาลต้องพิจารณาตามฟ้องเดิมหากแก้ฟ้องไม่สำเร็จ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเช่าเลขที่ 1 และ 1/1. จำเลยให้การต่อสู้ว่าบ้านเลขที่ 1/1 เป็นของจำเลย.ดังนี้ ถ้าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีในประเด็นข้อนี้โจทก์ก็อาจยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน แต่โจทก์ก็หาทำไม่. การที่โจทก์แถลงในวันชี้สองสถานว่าโจทก์ยอมยกกรรมสิทธิ์ในอู่รถยนต์ (บ้านเลขที่ 1/1)ให้จำเลย จะถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งมีขึ้นโดยโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานหาได้ไม่. เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังการชี้สองสถาน ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์. เมื่อไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ก็ต้องถือตามฟ้องเดิม.
โจทก์ฟ้องว่า บ้านเลขที่ 1/1 ใช้เป็นอู่ซ่อมรถยนต์เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยเช่าจากโจทก์ ขอให้ขับไล่.จำเลยให้การว่าบ้านเลขที่ 1/1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย.ในวันชี้สองสถานโจทก์แถลงยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย จึงเท่ากับโจทก์สละสิทธิที่จะดำเนินคดีกับจำเลยในประเด็นข้อนี้.ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามคำให้การของจำเลยว่าบ้านเลขที่1/1 เป็นของจำเลย. โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากบ้านของจำเลยเองไม่ได้.
ตามคำฟ้อง คำให้การของจำเลยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างว่าที่ดินที่ปลูกบ้านเลขที่ 1/1 เป็นส่วนหนึ่งของการเช่าบ้านเลขที่ 1 จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องแปลสัญญาเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินตรงที่ปลูกบ้านเลขที่ 1/1ด้วยหรือไม่.
การที่ศาลวินิจฉัยตามสภาพที่ปรากฏในขณะที่ศาลไปเผชิญสืบตรวจดูที่พิพาทจึงเป็นการวินิจฉัยตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง สิทธิค่าเช่า การสละสิทธิเรียกร้อง และผลของการสิ้นสุดสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งโจทก์เช่ามาจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของ โดยโจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าช่วง ก่อนคดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์จากห้องเลขที่ 21-23 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่ คดีอยู่ระหว่างฎีกา ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องพิพาท โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงไม่เป็นการนอกประเด็น และขาดพยานหลักฐานสนับสนุนในท้องสำนวน
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญาแม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ซ. ครบกำหนดแล้ว ซ.ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์ แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247, 253
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2, 3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12 ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2, 3 อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน เพราะเป็นหนี้คนละราย แม้จำเลยที่ 2, 3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 02502 อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2, 3 เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่ เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย แม้สัญญาสิ้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 2, 3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก จำเลยที่ 2, 3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21 - 23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยตามสัญญาเช่าเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา คือ เดือนละ 37.50 บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1 แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วัน โจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง: สิทธิการเรียกร้องค่าเช่า แม้มีข้อตกลงสละสิทธิในการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งโจทก์เช่ามาจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของ โดยโจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าช่วง ก่อนคดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์จากห้องเลขที่ 21-23 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่ คดีอยู่ระหว่างฎีกา ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องพิพาท โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงไม่เป็นการนอกประเด็น และขาดพยานหลักฐานสนับสนุนในท้องสำนวน
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญา แม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับซ.ครบกำหนดแล้วซ. ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์ แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247,243
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12 ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2,3 อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์ สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน เพราะเป็นหนี้คนละราย แม้จำเลยที่ 2,3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2502 อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่ เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย แม้สัญญาสิ้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก จำเลยที่ 2,3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่ ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา คือเดือนละ 37.50บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1 แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วันโจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารระงับสิทธิ: การปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อสละสิทธิในการรับบำเหน็จทดแทน
เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้มีข้อความว่า ส.ไม่ได้สมรสตามกฎหมายกับ ฉ. ส.ไม่ขอเกี่ยวข้องคัดค้านหรือขัดข้องประการใดในการที่ทางราชการจะจ่ายเงินบำเหน็จทดแทนของ ฉ. ให้แก่บุตรของ ฉ.นั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการทำให้สิทธิของ ส.ที่จะรับบำเหน็จทดแทนในฐานะเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ฉ.ต้องระงับไป เอกสารนั้นจึงเป็นหลักฐานแห่งการระงับสิทธิของ ส.จึงเป็นเอกสารสิทธิ ไม่ใช่เอกสารธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารระงับสิทธิ: การปลอมเอกสารเพื่อสละสิทธิรับบำเหน็จทดแทน ถือเป็นเอกสารสิทธิ
เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้มีข้อความว่า ส. ไม่ได้สมรสตามกฎหมายกับ ฉ. ส. ไม่ขอเกี่ยวข้องคัดค้านหรือขัดข้องประการใดในการที่ทางราชการจะจ่ายเงินบำเหน็จทดแทนของ ฉ. ให้แก่บุตรของ ฉ. นั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการทำให้สิทธิของ ส. ที่จะรับบำเหน็จทดแทนในฐานะเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ฉ. ต้องระงับไป เอกสารนั้นจึงเป็นหลักฐานแห่งการระงับสิทธิของ ส. จึงเป็นเอกสารสิทธิ ไม่ใช่เอกสารธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเพื่อพิสูจน์สิทธิในทรัพย์มรดกและการยึดทรัพย์: การสละสิทธิในมรดก
ผู้ร้องขัดทรัพย์กล่าวในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดว่าจำเลยไม่มีสิทธิรับมรดกของ ค. โจทก์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาท ผู้ร้องย่อมนำสืบได้ว่า ก.ภริยาจำเลยได้ขอร้องบรรดาพี่น้องขอแบ่งเงินสดและได้ตกลงแบ่งเงินสดให้ ก. ก.สละสิทธิไม่เกี่ยวข้องในทรัพย์มรดกต่อไป เป็นเรื่องที่อยู่ในประเด็นตามคำร้องที่นำสืบได้.
of 39