พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์/อสังหาริมทรัพย์ไม่สมบูรณ์เพราะไม่ทำตามฟอร์มกฎหมาย และสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยผู้เป็นบุตรว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิในการรับมรดก ซึ่งมีสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ สิทธิและประโยชน์ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากบิดาโจทก์ โดยยินยอมให้ทรัพย์มรดกดังกล่าวตกทอดได้แก่จำเลย สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์จำเลยมิได้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์ในขณะที่สัญญาหรือจะมีขึ้นในภายหน้า หากเป็นสัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ทั้งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ถึง 525 บังคับไว้ย่อมไม่สมบูรณ์ เท่ากับไม่มีสัญญาให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์และที่เกี่ยวกับการให้สังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากเป็นสัญญาให้ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะ เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ทั้งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ถึง 525 บังคับไว้ย่อมไม่สมบูรณ์ เท่ากับไม่มีสัญญาให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์และที่เกี่ยวกับการให้สังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากเป็นสัญญาให้ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะ เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาตามยอมและการจำกัดสิทธิฟ้องร้องเพิ่มเติมเมื่อสัญญาเดิมปฏิบัติครบถ้วน
เดิมโจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางในที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอม แล้วโจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมเปิดทางในที่ดินดังกล่าวกว้าง 2 เมตร 50 เซนติเมตร ยาวตลอดที่ดิน ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อจำเลยได้เปิดทางให้ผ่านที่ดินของจำเลยถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้รับความสะดวกเพราะปากทางแคบไปโจทก์ก็ไม่มีอำนาจมาฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางให้กว้างขึ้นไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามสัญญาประนีประนอม – รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง – ไม่ต้องคำนึงถึงผู้อื่นอาศัย
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยรื้อเรือนออกจากที่พิพาทจำเลยไม่รื้อเรือนออกตามกำหนด โจทก์ขอให้บังคับได้ไม่ต้องคำนึงว่ามีผู้อื่นอาศัยอยู่ในเรือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยปราศจากอำนาจของตัวแทนและการผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ตั้งทนายดำเนินคดีขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 กลับไปกรอกข้อความเป็นว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ฟ้องและทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันด้วยเจตนาฉ้อโกงโจทก์โดยทุจริต เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ขอให้พิพากษาเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าว ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนกระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจทำให้โจทก์เสียหายและจำเลยทั้งสี่กระทำการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยตามกฎหมายดังกล่าว จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่เพราะโจทก์เป็นคู่ความในคดีเดิมนั้นจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องคดีใหม่นี้ได้เลยโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิอาศัย: ศาลไม่อาจบังคับสิทธิเกินขอบเขตที่ตกลงกันไว้
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวาง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิม ซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธินั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่าง ๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำลยอาศัยให้แกโจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธินั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่าง ๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำลยอาศัยให้แกโจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิอาศัย และขอบเขตการบังคับคดี การฟ้องร้องซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิมซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพยสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่างๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำเลยอาศัยให้แก่โจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพยสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่างๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำเลยอาศัยให้แก่โจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมซื้อขายที่ดิน: กำหนดเวลาชำระราคาเป็นสาระสำคัญ หากผิดนัดสิทธิซื้อขายสิ้นสุด
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าจำเลยยอมซื้อที่ดินส่วนของโจทก์ โดยมีกำหนดระยะเวลาชำระค่าที่ดินแน่นอน การที่โจทก์ได้เงินค่าที่ดินช้ากว่าเวลาที่ตกลงกัน เห็นได้ชัดว่าเป็นการเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงย่อมประสงค์ที่จะได้เงินค่าที่ดินในระยะเวลาที่กำหนด และในการตกลงกับโจทก์จำเลยก็ย่อมคำนึงถึงความประสงค์ดังกล่าวนี้แล้ว เมื่อเจตนาของโจทก์จำเลยมีอยู่เช่นนี้ จะถือกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้นั้นไม่เป็นข้อสาระสำคัญย่อมไม่ถูกต้อง จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมีสิทธิจะซื้อที่ดินโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ชอบด้วยเหตุผลและเจตนาของโจทก์จำเลย
ในสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมซื้อที่ดินส่วนของโจทก์ตามฟ้อง โดยมีกำหนดระยะเวลาชำระราคาค่าที่ดินแน่นอน หากจำเลยผิดนัดโจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดมิได้ชำระราคาที่ดินภายในกำหนดเวลา จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่โจทก์ ให้ขายที่ดินแก่ตนได้ ที่สัญญายอมกำหนดว่า หากจำเลยผิดนัด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะเลือกในทางร้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาและรับซื้อที่ดินต่อไปอีกก็ได้เท่านั้น
ในสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมซื้อที่ดินส่วนของโจทก์ตามฟ้อง โดยมีกำหนดระยะเวลาชำระราคาค่าที่ดินแน่นอน หากจำเลยผิดนัดโจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดมิได้ชำระราคาที่ดินภายในกำหนดเวลา จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่โจทก์ ให้ขายที่ดินแก่ตนได้ ที่สัญญายอมกำหนดว่า หากจำเลยผิดนัด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะเลือกในทางร้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาและรับซื้อที่ดินต่อไปอีกก็ได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมซื้อขายที่ดิน: กำหนดเวลาชำระราคามีสาระสำคัญ หากผิดนัดสิทธิซื้อขายเป็นอันสิ้นสุด
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าจำเลยยอมซื้อที่ดินของโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาชำระราคาค่าที่ดินแน่นอน การที่โจทก์ได้เงินค่าที่ดินช้ากว่าเวลาที่ตกลงกัน เห็นได้ชัดว่าเป็นการเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงย่อมประสงค์ที่จะได้เงินค่าที่ดินในระยะเวลาที่กำหนดและในการตกลงกันโจทก์จำเลยก็ย่อมคำนึงถึงความประสงค์ดังกล่าวนี้แล้วเมื่อเจตนาของโจทก์จำเลยมีอยู่เช่นนี้ จะถือกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้นั้นว่าไม่เป็นข้อสาระสำคัญย่อมไม่ถูกต้อง จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมีสิทธิที่จะซื้อที่ดินโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ชอบด้วยเหตุผลและเจตนาของโจทก์จำเลย
ในสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมซื้อที่ดินส่วนของโจทก์ตามฟ้อง โดยมีกำหนดระยะเวลาชำระราคาค่าที่ดินแน่นอน หากจำเลยผิดนัดโจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดมิได้ชำระราคาที่ดินภายในกำหนดเวลา จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่โจทก์ ให้ขายที่ดินแก่ตนได้ ที่สัญญายอมกำหนดว่า หากจำเลยผิดนัด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะเลือกในทางร้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาและรับซื้อที่ดินต่อไปอีกก็ได้เท่านั้น
ในสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมซื้อที่ดินส่วนของโจทก์ตามฟ้อง โดยมีกำหนดระยะเวลาชำระราคาค่าที่ดินแน่นอน หากจำเลยผิดนัดโจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดมิได้ชำระราคาที่ดินภายในกำหนดเวลา จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่โจทก์ ให้ขายที่ดินแก่ตนได้ ที่สัญญายอมกำหนดว่า หากจำเลยผิดนัด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะเลือกในทางร้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาและรับซื้อที่ดินต่อไปอีกก็ได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเลิกบริษัท: นิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ของตนเอง สัญญาประนีประนอมไม่ผูกพันบริษัท
โจทก์ที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ 2กับ ส. และพวกทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันจะก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่อีกบริษัทหนึ่งเพื่อประกอบกิจการการเดินรถแทนบริษัทโจทก์ที่ 2ต่อมา ส. กับพวกได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่เป็นบริษัทจำเลยโดยโจทก์มิได้ร่วมก่อตั้งด้วย ดังนี้ บริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายมีสิทธิและหน้าที่ของตนเองต่างหากจากผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท และมิได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเพื่อขอให้เลิกบริษัทโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญาฉบับนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สัญญาประนีประนอม: แม้คำขอบังคับเหมือนกัน แต่สภาพแห่งข้อหาต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับปลอมไปทำการโอนที่พิพาทเป็นของจำเลยคดีหลังโจทก์อ้างว่าหลังจากฟ้องคดีแรกแล้ว โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยตกลงโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ยอมยกหนี้สินให้จำเลยและยอมถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีจึงต่างกัน แม้คำขอบังคับจะเป็นการให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์เช่นเดียวกัน ก็มิใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีหลังไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173