คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิในที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ต้องพิสูจน์สิทธิในที่ดินก่อน หากเป็นที่สาธารณะประโยชน์ เจ้าของโฉนดไม่มีอำนาจให้เช่า
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนด ได้ทำสัญญาระบุว่า ให้จำเลยเช่าที่ดินบางส่วนตามโฉนดดังกล่าว โจทก์มิได้กล่าวอ้างถึงสิทธิอื่นใดในการให้เช่าที่ดิน แสดงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิการเป็นเจ้าของที่ดินอย่างเดียว เมื่อจำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ไม่ใช่ที่ของโจทก์เห็นได้ว่ายังมีประเด็นโต้เถียงกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษาคดี จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินของรัฐ - ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - การซื้อขายไม่สุจริต - สิทธิในที่ดิน
กรมพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวังซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดในนามสำนักพระราชวัง โดยใช้เงินจากบัญชีประกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นเงินผลประโยชน์ในการที่กรมพระคลังข้างที่รับประกันภัยทรัพย์สินในความดูแลจัดการของตนเอง และมีข้ออาณัติซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตขึ้นใช้บังคับบัญชีประกันอัคคีภัยนั้น แยกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากบัญชีผลประโยชน์ทั้งหลายในกรมพระคลังข้างที่ และได้จัดเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นับแต่ได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์แล้ว เมื่อที่ดินพิพาทได้จากเอาเงินในบัญชีประกันอัคคีภัยไปซื้อย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้น เป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น จะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ' และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทน แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้วจึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน 36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311(วรรค 2,3,4 และ 5 วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งหลังคดีอาญา ยกฟ้องในข้อหาบุกรุก ไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการพิพาทสิทธิในที่ดิน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา กล่าวหาว่าบุกรุกที่พิพาทศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ในคำพิพากษาคดีอาญานั้นยังมิได้ชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของใคร เป็นแต่กล่าวสรุปว่าเมื่อข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าเป็นที่ดินของโจทก์และจำเลยอ้างว่าซื้อที่พิพาทมาจากผู้มีชื่อมูลคดีเป็นเรื่องแย่งสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง จึงยกฟ้องดังนี้โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแพ่งอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้ เพราะประเด็นที่ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ คำพิพากษาในคดีอาญายังมิได้วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การสงวนที่ดินโดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติโดยไม่ต้องมี พ.ร.ฎ. และสิทธิของกรมประชาสงเคราะห์
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4,5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้ว การที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดินกรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่ กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องสอดในคดีละเมิดและอสังหาริมทรัพย์ที่กระทบสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไถคราดและขุดดินถมเหมืองน้ำสาธารณะทำให้โจทก์และบุคคลอื่นซึ่งมีนาอยู่บริเวณนั้น ไม่มีทางระบายน้ำหรือทดน้ำเข้านาได้ โจทก์ห้าม จำเลยเถียงว่าเหมืองน้ำผ่านกลางที่นาของจำเลย จำเลยมีสิทธิกลบถมได้ ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหาย และพิพากษาแสดงว่าทำนบพิพาท เหมืองน้ำพิพาทและคลองเป็นสาธารณะ คำฟ้องเช่นนี้เป็นทั้งคดีละเมิดและคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
ในระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดร้องขอเข้าเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตน โดยอ้างว่านาที่โจทก์อ้างว่าเหมืองน้ำผ่านเป็นของผู้ร้องสอด จำเลยทำไปโดยอาศัยสิทธิและความเห็นชอบของผู้ร้องสอด ดังนี้ เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เมื่อได้ยื่นคำร้องขอมาถูกต้อง คือ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้
การร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)นั้นแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็หาหมดสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำซึ่งจำเลยขุดดินถมให้มีสภาพเดิม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของนา ที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำ ย่อมเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวถึงนาที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของ การที่ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของผู้ร้องสอด แล้วพิจารณาคดีไปโดยจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้ร้องสอดมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้ จะพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับคำร้องสอดไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียด้วยนั้น ยังไม่บริบูรณ์เพราะถ้าหากคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีอยู่ ย่อมไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาด้วย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่แล้ว ซึ่งมีผลถึงผู้ร้องสอดด้วย ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการยึดทรัพย์: สิทธิในที่ดินสูญเสียเมื่อไม่ฟ้องแย่งการครอบครองภายใน 1 ปี
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองไม่ใช่นับแต่วันรู้ว่าถูกแย่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินและครอบครองเพื่ออ้างสิทธิในที่ดินส่วนตน ทุนทรัพย์พิพาทจำกัดผลต่อการฎีกา
แม้เดิมที่พิพาทจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่โจทก์ฟ้องว่าได้มีการแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด และโจทก์แต่ละคนต่างครอบครองมากว่าสิบปีแล้ว คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้พิพากษาให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองกันมา ส่วนคำขอที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนขอให้เพิกถอนนิติกรรมในส่วนที่ดินของตนซึ่งตามรูปคดีโจทก์แต่ละคนอาจฟ้องตามส่วนของตนโดยลำพังได้ แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์พิพาทของโจทก์แต่ละคนเมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์พิพาทของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 5,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คู่ความจึงฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่: การรังวัดสอบสวนยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิจนกว่าจะได้รับประทานบัตร
การที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการรังวัด ไต่สวนสอบสวนที่ดินที่โจทก์ยื่นคำร้องขอประทานบัตรทำเหมืองแร่นั้น ไม่ได้ทำให้โจทก์เกิดสิทธิครอบครองหรือสิทธิอื่นในที่ดินแปลงนั้นแต่อย่างใด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้แสดงว่าสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายของโจทก์ ถูกโต้แย้งจากจำเลยแล้วโจทก์ก็ไม่ชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาล หรือฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ยังไม่สมบูรณ์ การฟ้องต้องแสดงเหตุถูกโต้แย้งสิทธิ
การที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการรังวัด ไต่สวนสอบสวนที่ดินที่โจทก์ยื่นคำร้องขอประทานบัตรทำเหมืองแร่นั้น ไม่ได้ทำให้โจทก์เกิดสิทธิครอบครองหรือสิทธิอื่นในที่ดินแปลงนั้นแต่อย่างใด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้แสดงว่าสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายของโจทก์ ถูกโต้แย้งจากจำเลยแล้วโจทก์ก็ไม่ชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาล หรือฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการรับโอนโดยสุจริต: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการต่อสู้สิทธิในที่ดิน
สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมอันยังมิได้จดทะเบียน ที่มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตามมาตรา 1299 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นถ้าคู่ความมิได้ตั้งประเด็นยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำฟ้องคำให้การ ย่อมไม่เป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยปรับแก่คดีได้ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
of 46