พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ และการซื้อขายโดยไม่สุจริต
เดิมที่พิพาทเป็นของ ข. แต่ ส. มีชื่อในฐานะเจ้าของในโฉนดที่ดิน ข. พูดยกที่พิพาทให้จำเลยครอบครองทำนาตั้งแต่จำเลยแต่งงาน และได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ทั้งก่อนโจทก์จะซื้อที่พิพาทจาก ส. โจทก์ก็ทราบดีว่าจำเลยปลูกบ้านบนที่พิพาท โจทก์จึงรู้แล้วว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์, ภารจำยอม, และผลกระทบของการซื้อที่ดินโดยสุจริตต่อสิทธิของผู้อื่น
เหตุผลที่ยกขึ้นฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ตรงกับที่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบและไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ทั้งสองครอบครองปรปักษ์ที่ดินใต้กันสาดจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ท่อระบายน้ำทิ้งซึ่งอยู่ในที่ดินดังกล่าวย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องชี้ขาดว่าเป็นภารจำยอมอีกหรือไม่ ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยไม่สิ้นไปเพราะจำเลยซื้อที่ดินโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองเพราะตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงสองฝ่ายได้สิทธิอย่างเดียวกันโดยเหตุที่แตกต่างกัน แต่ในกรณีภารจำยอมนี้โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้ได้สิทธิภารจำยอม จำเลยมิใช่เป็นผู้ได้สิทธิ แต่กลับเป็นผู้ที่จะต้องรับรู้สิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1387 กรณีจึงไม่อาจบังคับตามมาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเพื่อสร้างที่ทำการของรัฐ & สิทธิของผู้รับโอนที่ดินโดยสุจริต
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ส.และ อ.ได้ทำหนังสือเอกสารหมายล.1 อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างที่ทำการเกษตรตำบล จำเลยที่ 1ได้เข้าครอบครองปลูกสร้างที่ทำการและบ้านพักเกษตรตำบลลงในที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ส.และ อ.ไม่ได้ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.1 อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ฎีกาว่า การยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ยังไม่สมบูรณ์เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งได้รับการส่งมอบและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในปี 2523 แต่ปรากฏว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม 2522 ส.ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ทันทีนับแต่วันจดทะเบียนขายฝาก จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการยกให้ที่ดินพิพาทมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1299 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้น ปัญหานี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เพียงแต่ยกตัวอย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ดูบางส่วนเท่านั้น ที่ทำการเกษตรตำบลเป็นส่วนราชการสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานของรัฐ ถือได้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ดังนั้นการที่ ส. และ อ. ทำหนังสืออุทิศที่ดินพิพาทเอกสารหมาย ล.1 ให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อสร้างที่ทำการเกษตรตำบลสาลี แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
โจทก์ฎีกาว่า การยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ยังไม่สมบูรณ์เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งได้รับการส่งมอบและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในปี 2523 แต่ปรากฏว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม 2522 ส.ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ทันทีนับแต่วันจดทะเบียนขายฝาก จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการยกให้ที่ดินพิพาทมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1299 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้น ปัญหานี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เพียงแต่ยกตัวอย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ดูบางส่วนเท่านั้น ที่ทำการเกษตรตำบลเป็นส่วนราชการสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานของรัฐ ถือได้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ดังนั้นการที่ ส. และ อ. ทำหนังสืออุทิศที่ดินพิพาทเอกสารหมาย ล.1 ให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อสร้างที่ทำการเกษตรตำบลสาลี แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต, ความเหมือน/คล้ายคลึง, การลวงสาธารณชน
โจทก์แสดงให้เห็นความเป็นมาของการใช้อักษรโรมันคำว่าRENOMA เป็นชื่อทางการค้าของ ช. บิดาของ ม.ประธานกรรมการใหญ่ของโจทก์ตั้งแต่ปี 2480 และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสในปี 2502 และปี 2509 ตลอดจนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวในประเทศอื่น ๆในภายหลังและการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นของ ช. ให้โจทก์ จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันดังกล่าว ที่จำเลยอ้างว่าคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นโดยต้องการให้มีความหมายว่า จำเลยไม่มีแม่อีกแล้วนั้น ก็ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าจำเลยได้ระบุว่าคำว่า RENOMA เป็นอักษรโรมันอ่านว่ารีโนมา แปลไม่ได้ และปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมีรูปลักษณะตรงกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กภายในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ รวมทั้งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวด้วยการที่รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของจำเลยตรงกับรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนี้ หากจำเลยไม่เคยเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาก่อน ก็ยากที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า RENOMAซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย ปรากฏว่าจำเลยเคยเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศเช่น สิงคโปร มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง และหลังจากโจทก์ได้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA มาจากช.แล้ว โจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ30 ประเทศ และโจทก์ได้ส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศในทวีป ต่าง ๆ สินค้าของโจทก์มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าโซโก้ใกล้สถานีรถไฟที่เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในนิตยสารและหนังสือต่าง ๆ ในประเทศต่าง ๆทั้งได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกงด้วยจึงเชื่อได้ว่าจำเลยซึ่งเคยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกง ได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในระหว่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวเช่นนั้นแล้วจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ได้เห็นมานั้นมายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะRENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็ก ในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรและเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วยจึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดอายัดทรัพย์สินและการคุ้มครองผู้ซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากพ่อค้า
ในคดีซึ่งบริษัทอ.ฟ้องบริษัทป.และศาลได้มีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดและอายัดทรัพย์สินของบริษัทป.หลายรายการรวมทั้งรถยนต์พิพาทด้วย ต่อมา น. ยื่นคำร้องขัดทรัพย์และขอให้ปล่อยรถยนต์ 3 คันที่ถูกยึดรวมทั้งรถยนต์พิพาทโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางประกันไว้ต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งปล่อยรถยนต์พิพาทที่ยึดไว้ และศาลมีคำสั่งอนุญาตดังนี้ หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหลักประกันเพื่อให้ น. นำรถยนต์พิพาทไปใช้ชั่วคราว โดยหากเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างรถยนต์พิพาทอยู่ในความครอบครองของ น. ก็สามารถบังคับเอาค่าเสียหายจากหลักประกันดังกล่าวได้ คำสั่งของศาลมิได้หมายความว่าให้นำหลักประกันมาแทนรถยนต์พิพาท และคดีที่มีการร้องขัดทรัพย์ก็ยังดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เพื่อให้ทราบว่ารถยนต์ที่พิพาทเป็นของผู้ใด เมื่อ น. มีสิทธิเพียงนำรถยนต์พิพาทไปใช้ชั่วคราวและศาลมิได้ชี้ขาดว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ น. น.ย่อมไม่มีสิทธินำรถยนต์พิพาทไปจำหน่ายจ่ายโอน แต่เมื่อ น.ขายรถยนต์พิพาทให้ อ. และโจทก์ก็ได้ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริตจาก อ. ซึ่งประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าขายรถยนต์โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่จะได้รับชดใช้ราคาที่ซื้อมา และโจทก์ไม่อาจถูกรอนสิทธิเพราะได้รับความคุ้มครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ฉะนั้นการที่กรมสรรพากรจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรบริษัท ป. และได้มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของบริษัทป.รวมทั้งรถยนต์พิพาทหลังจากคดีร้องขัดทรัพย์ถึงที่สุดให้รถยนต์พิพาทเป็นของบริษัทป.มีหนังสือถึงผู้บังคับการกองทะเบียนยานพาหนะกรมตำรวจให้ระงับการโอนทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทจึงเป็นการรอนสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตของเจ้าของรวม ไม่เป็นการทำละเมิด
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านพิพาทและขนย้ายออกไปจากที่ดินส่วนที่โจทก์ขายฝากให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิทางศาลและได้กระทำโดยสุจริตซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต ไม่เป็นละเมิด แม้จะมีการฟ้องขับไล่และชนะคดี
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านพิพาทและขนย้ายออกไปจากที่ดินส่วนที่โจทก์ขายฝากให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิทางศาลและได้กระทำโดยสุจริตซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์และเป็นนายกสมาคมสื่อมวลชนอุบลราชธานีได้รับหนังสือร้องเรียนจาก ส. ว่า โจทก์มีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริตจำเลยที่ 2 จึงให้จำเลยที่ 1 ผู้สื่อข่าวของจำเลยที่ 2 ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 รายงานว่าข้อเท็จจริงน่าจะมีมูลตามที่ร้องเรียน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 2 กล่าวหาโจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสนามฟุตบอลของโรงเรียนด้วยข้อความว่า "สนามที่สร้างแบบสุกเอาเผากินทำเพียงไม่กี่วันก็เสร็จ" นั้น พฤติการณ์แสดงว่าที่จำเลยที่ 2 กระทำไปเพราะเชื่อโดยสุจริตว่ามีมูลความจริงตามบทความ อีกทั้งวันที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์โฆษณาข้อความที่กล่าวหาโจทก์ โจทก์จึงว่ายังสร้างสนามฟุตบอลไม่เสร็จแต่ได้ส่งมอบงานต่อคณะกรรมการตรวจรับงานไปก่อนแล้วเช่นนี้ย่อมทำให้ประชาชนรวมทั้งจำเลยที่ 2 เข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ทำงานไม่เรียบร้อยและผิดระเบียบของทางราชการจริง เมื่อมีเหตุให้น่าสงสัยอันสมควรจำเลยที่ 2 จึงได้ลงพิมพ์โฆษณาบทความวิพากษ์วิจารณ์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิพากษ์วิจารณ์ผลงานการก่อสร้างโดยสุจริต ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หากมีเหตุอันสมควรและเชื่อได้ว่ามีมูล
การที่โจทก์ส่งมอบงานต่อทางราชการ โดยยังก่อสร้างไม่เสร็จย่อมทำให้ประชาชนรวมทั้งจำเลยที่ 2 เข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ทำงานไม่เรียบร้อย และผิดระเบียบของทางราชการ ส่วนที่โจทก์กับคณะกรรมการตรวจรับงานจะมีข้อตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรนั้นจำเลยที่ 2 ไม่อาจรู้ได้ เมื่อมีเหตุให้น่าสงสัยอันสมควร จำเลยที่ 2จึงได้ลงพิมพ์โฆษณาบทความวิพากษ์วิจารณ์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมว่า "สนามที่สร้างแบบสุกเอาเผากิน ทำเพียงไม่กี่วันก็เสร็จ" เพราะเชื่อโดยสุจริตว่ามีมูลความจริง ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดสุจริตและการคุ้มครองสิทธิ การคัดค้านการออกโฉนดไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อและรับโอนสิทธิครอบครองมาจาก ช. ต่อมาโจทก์ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านการขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่า จำเลยซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1206 จากการขายทอดตลาดของศาล โจทก์เพิ่งทราบว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยดังกล่าวออกมาทับที่ดินของโจทก์ทั้งแปลง การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด แม้จะให้โจทก์สืบพยานหลักฐานไปตามคำฟ้องก็คงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยซื้อที่ดินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดของศาล สิทธิของจำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 และการที่จำเลยไปคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ก็เป็นการใช้สิทธิของตนตามกฎหมายหาได้เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว