พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษพลทหารหนีราชการกระทำผิดอาญา: หน้าที่การนำสืบเพื่อโต้แย้ง
พลทหารหนีราชการไปกระทำผิด ศาลเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญาทหาร วิธีพิจารณาอาญา น่าที่นำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางโทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ต้องพิสูจน์ประวัติความผิดเดิมของจำเลย โจทก์มีหน้าที่นำสืบ
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 นั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ซึ่งเป็นการรับสารภาพว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น ไม่ได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ แม้จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ฟ้องขอให้วางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การรับในประเด็นดังกล่าว จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับในเรื่องการวางโทษทวีคูณ และไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้ได้เอง เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และถูกลงโทษปรับ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อีก จึงไม่อาจวางโทษจำเลยที่ 2 ทวีคูณตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6351/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: หน้าที่การนำสืบของโจทก์เมื่อจำเลยปฏิเสธ
ในคดีอาญาจำเลยจะให้การอย่างไรก็ได้ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ แม้ไม่ได้ให้การปฏิเสธเป็นประเด็นไว้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เพื่อให้ฟังได้ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีตรวจแบบการยื่นคำขอภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทเอส.เอส.บี.กรุ๊ป จำกัด ตามที่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาแล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และผู้บังคับบัญชาได้รายงานขึ้นไปตามลำดับชั้นจนผู้อำนวยการกองตรวจและปฏิบัติการพิเศษสั่งให้รายงานผู้เสียหายและพิจารณาดำเนินคดีอาญา ต่อมากรมสรรพากรโดยรองอธิบดีซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่แน่ชัดว่านับแต่อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดจนถึงวันร้องทุกข์ ยังไม่เกินกว่าสามเดือน ตาม ป.อ. มาตรา 96 หรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนตาม ป.อ. มาตรา 96 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14550-14707/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุมในคดีแรงงาน และการกำหนดหน้าที่นำสืบของศาลแรงงาน
การพิจารณาว่าคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้อง โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนเข้าทำงานกับจำเลยตามวัน เดือน ปี ที่ระบุในคำฟ้องจนถึงวันสุดท้ายที่อ้างว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง และเรียกค่าจ้าง ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลา โดยนับจากวันที่โจทก์แต่ละคนเข้าทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุแล้วคำนวณเป็นยอดเงินรวมของค่าจ้าง ค่าทำงานวันหยุด และค่าล่วงเวลา โดยมิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าจำเลยค้างจ่ายเงินดังกล่าวในงวดใด วัน เดือน ปีใด และค้างจ่ายแต่ละครั้งเป็นจำนวนเท่าใด โดยเฉพาะวันหยุดนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 มีถึง 3 ประเภท คือวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ซึ่งตามมาตรา 61 บัญญัติค่าทำงานในวันหยุดสำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดกับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดไว้แตกต่างกัน แต่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดมิได้บรรยายคำฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยค้างชำระค่าทำงานในวันหยุดประเภทใด อัตราค่าทำงานในวันหยุดเท่าไร คำฟ้องของโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดจึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การกำหนดประเด็นพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
เดิมโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดซึ่งเป็นคนต่างด้าวพักอาศัยในโรงงานของจำเลย ต่อมาขอออกไปพักอาศัยนอกโรงงานโดยทำข้อตกลงร่วมกับจำเลยว่าโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดมีหน้าที่ต้องดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดลงโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง การที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดไม่ดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงานทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าหากไม่มีใบอนุญาตทำงานจะไม่สามารถทำงานกับจำเลยต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป การที่จำเลยไม่ให้โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดทำงานเป็นการดำเนินการให้ต้องตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปด หาใช่เกิดจากความประสงค์ของจำเลยแต่ต้นที่จะไม่ให้โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดทำงานไม่
การกำหนดประเด็นพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
เดิมโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดซึ่งเป็นคนต่างด้าวพักอาศัยในโรงงานของจำเลย ต่อมาขอออกไปพักอาศัยนอกโรงงานโดยทำข้อตกลงร่วมกับจำเลยว่าโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดมีหน้าที่ต้องดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดลงโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง การที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดไม่ดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงานทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าหากไม่มีใบอนุญาตทำงานจะไม่สามารถทำงานกับจำเลยต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป การที่จำเลยไม่ให้โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดทำงานเป็นการดำเนินการให้ต้องตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปด หาใช่เกิดจากความประสงค์ของจำเลยแต่ต้นที่จะไม่ให้โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบแปดทำงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องนำสืบสิทธิ มิใช่พึ่งการยอมรับของคู่ความ
คำพิพากษาย่อมมีผลผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งเท่านั้น ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 เมื่อเจ้าหนี้ผู้นำยึดคือโจทก์ในคดีนี้เป็นบุคคลภายนอกในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงหาอาจอ้างคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเพื่อให้คดีนี้ต้องถือตามได้ไม่ ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบตามข้ออ้างในคำร้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ผู้ร้องและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้ตามคำร้องนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่อาจออกคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ต้องไต่สวนก่อน
กรณีที่จะเป็นการขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ต้องเป็นกรณีที่โจทก์หรือจำเลยที่ได้ยื่นคำให้การไว้ไม่มาศาลในวันสืบพยาน ซึ่งวันสืบพยานดังกล่าวต้องเป็นวันสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนวนก่อนเจ้าหนี้รายอื่นและขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำร้องในวันนัดไต่สวน ซึ่งมิใช่เป็นการสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดที่ศาลจะต้องจำหน่ายคดีตามมาตรา 202 มาบังคับใช้ เมื่อผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องไม่นำพยานหลักฐานมาสืบ และสั่งยกคำร้องจึงชอบแล้ว
กรณีที่จะเป็นการขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ต้องเป็นกรณีที่โจทก์หรือจำเลยที่ได้ยื่นคำให้การไว้ไม่มาศาลในวันสืบพยาน ซึ่งวันสืบพยานดังกล่าวต้องเป็นวันสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนวนก่อนเจ้าหนี้รายอื่นและขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำร้องในวันนัดไต่สวน ซึ่งมิใช่เป็นการสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดที่ศาลจะต้องจำหน่ายคดีตามมาตรา 202 มาบังคับใช้ เมื่อผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องไม่นำพยานหลักฐานมาสืบ และสั่งยกคำร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9054/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์ในการนำสืบหลักฐานความผิดฐานมีอาวุธปืน และการพิพากษาแก้โทษจำเลย
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลจึงจะรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองได้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่มีใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืน โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบว่า จำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตดังกล่าว แม้จะปรากฏจากคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นเยาวชนและ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 13 (4) บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่การที่บุคคลจะบรรลุนิติภาวะนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้นั้นเสมอไป เพราะบุคคลอาจบรรลุนิติภาวะก่อนอายุ 20 ปี ได้ด้วยการสมรสด้วย ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองอายุไม่ถึง 20 ปี โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนด้วยเมื่อโจทก์ไม่นำสืบ จึงไม่สามารถลงโทษจำเลยทั้งสองในฐานความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้ คงลงโทษได้เพียงฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371, 83 เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยต้องระบุเวลาเกิดเหตุ โจทก์มีหน้าที่นำสืบเพื่อพิสูจน์เวลา
ตามคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายเกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์นั้นมีความหมายว่าเหตุลักทรัพย์เกิดระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงของวันที่ 22 มกราคม 2545 ถึงเวลากลางวันของวันเดียวกัน โดยมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334 และมาตรา 335 มาด้วย ตามคำฟ้องโจทก์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์นั้นจึงอาจเป็นเวลากลางคืนก่อนเที่ยง หรือเวลากลางวันก็ได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องโดยมิได้ระบุว่าลักทรัพย์ในเวลากลางวันหรือในเวลากลางคืนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ในเวลาใดแน่ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน