พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาในคดีปล้นทรัพย์ทำร้ายถึงตาย แม้ไม่ได้ลงมือเองก็มีโทษ
ในการปล้นทรัพย์และทำร้ายเจ้าทรัพย์กับพวกถึงแก่ความตายนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลงมือทำร้ายผู้ตาย ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ เพราะมิใช่กรณีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และมิใช่เหตุอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษทางอาญาจากคำสั่ง คปถ. และหลักการใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 12 ซึ่งสั่ง ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2519 กำหนดให้มีผู้มีวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในครอบครองนำมามอบให้นายทะเบียนห้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯลฯ ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2519 ฉะนั้น ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องถือว่าคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อมีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองฉบับที่ 12 ซึ่งสั่งและมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2519 ดังกล่าว ซึ่งระหว่างนั้นจำเลยยังมีสิทธิที่จะนำวัตถุระเบิดตามฟ้องไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน กรณีต้องด้วยมาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่จะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในเหตุป้องกัน: การยิงป้องกันภัยที่เกินกว่าเหตุ และความรับผิดทางอาญา
จำเลยเป็นผู้ที่นายสนองเจ้าของร้านสนองพานิชได้ว่าจ้างให้มาคุ้มครองรักษาความปลอดภัยอยู่ที่ร้านสนองพานิช วันเกิดเหตุ ผู้ตาย ผู้เสียหายได้เอาอาวุธปืนใส่ถุงกระดาษมาส่งคืนให้แก่ชายจีนที่ทางเท้าหน้าร้านสนองพานิช ก่อนจะส่งถุงปืนให้ ผู้เสียดึงอาวุธปืนให้โผล่ออกจากถุงเล็กน้อยให้ชายจีนเห็น แล้วชวนกันไปพูดที่ประตูหน้าร้านสนองพานิช จำเลยแลเห็นเหตุการณ์โดยตลอด จำเลยสำคัญผิดว่าบุคคลทั้งสามเป็นคนร้ายจะเข้าไปยิงประทุษร้ายนายสนอง จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงไป 3 นัด กระสุนปืนถูกผู้ตายถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย โดยผู้เสียหายหาได้ชักอาวุธปืนออกมาในอาการที่เห็นว่าจะจ้องยิงประทุษร้ายจำเลยหรือบุคคลในร้านสนองพานิชไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 การกระทำของจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากความตกใจหรือความกลัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญา: ลดมาตราส่วนโทษ แต่ไม่เปลี่ยนแปลงบทมาตราความผิด - ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลลงโทษจำเลยเรียงกระทงศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดมาตราส่วนโทษตาม มาตรา 76 คงจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปีดังนี้เป็นการแก้เฉพาะกำหนดโทษและลดมาตราส่วนโทษ มิได้แก้บทมาตราความผิด ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องขอลงโทษตามฐานความผิดที่บรรยายในฟ้อง ศาลลงโทษเกินคำขอเป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยมิได้บรรยายว่าจำเลยกับพวกมีอาวุธใช้ในการปล้นทรัพย์ด้วยดังนี้จะลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธไม่ได้เพราะเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์และอำนาจฟ้องในคดีอาญา ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องได้หากความผิดเกิดขึ้นระหว่างที่ตนเป็นผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานยักยอกระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2514 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 และโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2514 นั้น แสดงว่าจำเลยได้กระทำความผิดระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ด้วย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ประกอบด้วยมาตรา 354
น. มิได้ยกที่ดินโฉนดพิพาทให้จำเลย จำเลยได้รับโฉนดพิพาทจาก น. ไว้ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ น. และเมื่อ น. เพิกถอนการมอบอำนาจที่ให้จัดการทรัพย์สินแล้ว จำเลยก็ยังไม่คืนให้ ทั้ง ๆ ที่ น. และโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ทวงถาม นอกจากนี้จำเลยยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทอีกด้วย นั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาโฉนดพิพาทเป็นของตนโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2488 การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาตัวโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วย
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 ซึ่งเป็นวันเวลาหลังจากที่ น. ได้ถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินแล้ว ฉะนั้น ในวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด จำเลยจึงมิใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของ น. กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 353 และ 354 แม้ น. จะถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยจัดการแล้ว จำเลยก็ต้องมีหน้าที่มอบทรัพย์สินคืนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินของ น. อยู่ในวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด
ศาลชั้นต้นมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ที่จะตรวจคำคู่ความใด ๆ ที่ยื่นไว้ต่อศาลว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือไม่ เมื่อเห็นว่าโจทก์ยังมิได้เสียค่าธรรมเนียมศาลสำหรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งให้บริบูรณ์ ก็มีอำนาจสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมศาล คือให้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ได้ และมาตรา 18 ก็มิได้บัญญัติว่าจะต้องสั่งเมื่อใด ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจพบก่อนมีคำพิพากษา จึงชอบที่จะสั่งให้โจทก์จัดการเสียค่าธรรมเนียมศาลให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษาได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ เพราะจำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดนั้น ถือว่ามิได้ยกขึ้นมาว่าในศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นฎีกาได้ แต่เนื่องจากวินิจฉัยฎีกาโจทก์แล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องวินิจฉัยปัญหานี้ จึงไม่รับวินิจฉัยให้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2518)
น. มิได้ยกที่ดินโฉนดพิพาทให้จำเลย จำเลยได้รับโฉนดพิพาทจาก น. ไว้ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ น. และเมื่อ น. เพิกถอนการมอบอำนาจที่ให้จัดการทรัพย์สินแล้ว จำเลยก็ยังไม่คืนให้ ทั้ง ๆ ที่ น. และโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ทวงถาม นอกจากนี้จำเลยยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทอีกด้วย นั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาโฉนดพิพาทเป็นของตนโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2488 การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาตัวโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วย
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 ซึ่งเป็นวันเวลาหลังจากที่ น. ได้ถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินแล้ว ฉะนั้น ในวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด จำเลยจึงมิใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของ น. กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 353 และ 354 แม้ น. จะถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยจัดการแล้ว จำเลยก็ต้องมีหน้าที่มอบทรัพย์สินคืนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินของ น. อยู่ในวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด
ศาลชั้นต้นมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ที่จะตรวจคำคู่ความใด ๆ ที่ยื่นไว้ต่อศาลว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือไม่ เมื่อเห็นว่าโจทก์ยังมิได้เสียค่าธรรมเนียมศาลสำหรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งให้บริบูรณ์ ก็มีอำนาจสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมศาล คือให้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ได้ และมาตรา 18 ก็มิได้บัญญัติว่าจะต้องสั่งเมื่อใด ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจพบก่อนมีคำพิพากษา จึงชอบที่จะสั่งให้โจทก์จัดการเสียค่าธรรมเนียมศาลให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษาได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ เพราะจำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดนั้น ถือว่ามิได้ยกขึ้นมาว่าในศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นฎีกาได้ แต่เนื่องจากวินิจฉัยฎีกาโจทก์แล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องวินิจฉัยปัญหานี้ จึงไม่รับวินิจฉัยให้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องอาญา: การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท vs. หลายกรรมเป็นกระทง
คำฟ้องข้อ 1 ข. ได้บรรยายถึงการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงเจ้าทรัพย์และคนอื่น ๆ ซึ่งมิใช่เจ้าทรัพย์ตายเพื่อสะดวกในการปล้นและเพื่อปกปิดการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 340, 340 ตรี เช่นนี้เป็นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบทเท่านั้นแม้ทางพิจารณาหากจะได้ความว่าจำเลยทำผิดหลายกรรม ศาลจะลงโทษจำคุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปไม่ได้ เพราะเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีอาญา: การยักยอกทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีของโจทก์มีมูลว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์โต้เถียงปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในข้อเท็จจริงกับการกระทำความผิดทางอาญา ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดร่วมกันตัดฟันต้นไม้ของผู้เสียหายขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ จำเลยทั้งแปดให้การต่อสู้ว่าต้นไม้ตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 8 จำเลยที่ 8 เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตัดฟันศาลชั้นต้นฟังว่าต้นไม้นั้นเป็นของผู้เสียหาย พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 แต่เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 สำคัญผิดในข้อเท็จจริง จึงให้ปล่อยตัวพ้นข้อหาไป โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงจำเลยที่ 8 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาแต่เฉพาะจำเลยที่ 8 เห็นว่า คดีฟังไม่ได้ว่าต้นไม้ที่จำเลยตัดฟันเป็นของผู้เสียหาย พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 8 ด้วย โดยไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดชัดเจน เพื่อให้ศาลพิจารณาเรื่องอายุความได้ ไม่เช่นนั้นเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญา คดีก่อน โดยเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า "เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2515 ข้าพเจ้าจึงได้ทราบเรื่องว่า จำเลยหมิ่นประมาทข้าพเจ้า" และเบิกความในชั้นพิจารณาว่า "ข้าพเจ้ามารู้แน่ชัดว่าจำเลยร้องเรียนข้าพเจ้าไปยังกรมสรรพากรเอาต้นเดือนมีนาคม 2515" ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ถ้าเบิกความไปตามความจริงแล้ว คดีดังกล่าวย่อมขาดอายุความ ดังนี้ ความจริงเป็นอย่างไร โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ทั้งเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วก็ไม่อาจอนุมานเอาได้ นอกจากนี้นเมื่อโจทก์อ้างว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีก่อน โจทก์ก็ต้องบรรยายฟ้องพอให้เห็นความสำคัญนั้น ๆ ด้วย การที่โจทก์กล่าวแต่เพียงว่า ถ้าจำเลยเบิกความตามความจริงแล้ว คดีจะขาดอายุความ โดยมิได้กล่าวให้ปรากฏในคำฟ้องคดีนี้ว่า คดีอาญาคดีก่อนเป็นคดีที่ใครฟ้องใคร ด้วยข้อหาอะไร เช่นนี้ ศาลย่อมไม่อาจพิเคราะห์ได้ว่า วัน เดือน ปี ตามคำเบิกความของจำเลยนั้นเป็นข้อสำคัญในเรื่องอายุความของคดีอาญานี้หรือไม่ ทั้งคำฟ้องของโจทก์จะต้องสมบูรณ์อยู่แล้วโดยศาลไม่จำต้องไปตรวจดูสำนวนคดีอื่นที่ได้อ้างถึงเอาเองก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)