คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยพินัยกรรมและสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์หมดอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินที่แบ่งไป
โจทก์และ ส. ตกลงแบ่งมรดกเจ้ามรดกทั้งที่มีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 1.3 ว่า โจทก์ยอมสละที่ดินตามฟ้องทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง เมื่อโจทก์และ ส. ลงลายมือชื่อไว้จึงต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ถือได้ว่าที่ดินตามฟ้องทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้แบ่งปันไปเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้จัดการมรดกที่จะใช้สิทธิขอแบ่งหรือมีอำนาจจัดการอีกต่อไป ดังนั้นหากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ประการใดก็เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินจะไปว่ากล่าวแก่จำเลยต่างหากหาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5447/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องศาล: มูลคดีเกิดขึ้นที่ใด ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้ แม้จำเลยมีภูมิลำเนาต่างจังหวัด
ตามบทบัญญัติมาตรา 4(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้การเสนอคำฟ้องสามารถกระทำได้ต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ที่ตำบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี ประกอบอาชีพค้าขายส่งไรให้แก่ลูกค้าทั่วไปจำเลยเป็นลูกค้าสั่งซื้อไรจากโจทก์ ตามคำฟ้องจึงพอฟังได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ซึ่งในคำให้การจำเลยอ้างเพียงประการเดียวว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น มิได้ให้การว่ามูลคดีมิได้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ดังนั้น เมื่อมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดชลบุรีได้ ทั้งการฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องบรรยายมาในฟ้องว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ใด เป็นเรื่องที่ศาลสามารถพิจารณาได้จากสภาพแห่งข้อหาที่ปรากฏตามคำฟ้องได้ การที่ศาลจังหวัดชลบุรีรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการขายทอดตลาดทำให้กรรมสิทธิ์ไม่เกิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
สำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดซึ่งจำเลยแนบท้ายคำแก้ฎีกา แม้จำเลยจะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานและมิได้ส่งสำเนาเอกสารแก่โจทก์ แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจรับฟังเอกสารท้ายคำแก้ฎีกานั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และเอกสารดังกล่าวแม้เป็นเพียงสำเนาเอกสาร แต่เมื่อมีรองจ่าศาลรับรองความถูกต้องแห่งเอกสารนั้นจึงฟังได้ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแม้จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่เมื่อศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก โจทก์ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5326/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการเรียกร้องเงินบำเหน็จ แม้รับค่าชดเชยแล้ว
จำเลยมีมติเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์ยินยอมรับไว้แล้ว โจทก์ฟ้องอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างของจำเลยฯ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 และระเบียบว่าด้วยพนักงานของจำเลยฯ ซึ่งการฟ้องคดีเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวนั้นไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์จะต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดและเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกทั้งสองจำนวนไม่ใช่เงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนผู้ต้องหาอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีนักจิตวิทยา/สังคมสงเคราะห์ และอัยการร่วมด้วย หากไม่มีการสอบสวนโดยชอบ อำนาจฟ้องของอัยการเป็นโมฆะ
บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ และมาตรา 134 ตรี หมายความว่า สำหรับการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปีพนักงานสอบสวนจะต้องแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนนั้นด้วย อันเป็นการบังคับโดยเด็ดขาดว่าต้องจัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวพร้อมกันได้ตามมาตรา 134 ตรี ประกอบด้วยมาตรา 133 ทวิวรรคห้า
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 และถูกสอบสวนขณะมีอายุ 17 ปี 11 เดือน 14 วัน ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ตรี ประกอบด้วยมาตรา 133 ทวิพนักงานสอบสวนได้สอบถามจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในขณะทำการสอบสวนว่า จำเลยมีทนายความหรือไม่ ต้องการทนายความหรือผู้ใดที่จำเลยไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวนหรือไม่ จำเลยตอบว่า จำเลยไม่มีทนายความและไม่ต้องการผู้ใดร่วมฟังการสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงมิได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่มีเหตุอันควรไม่อาจรอได้ การสอบสวนจึงขัดต่อมาตรา 134 ตรีประกอบด้วยมาตรา 133 ทวิ ถือว่ามิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรังวัดสอบเขตที่ดินเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิ และการวินิจฉัยแนวเขตโดยศาล
เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถรังวัดสอบเขตที่ดินตามที่โจทก์ยื่นคำขอได้ เนื่องจากจำเลยชี้อาณาเขตล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ถือว่า จำเลยโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
ป.ที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขต และการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรังวัดสอบเขตที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิของเจ้าของที่ดินข้างเคียง และบทบัญญัติมาตรา 69 ทวิ
เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถรังวัดสอบเขตที่ดินตามที่โจทก์ยื่นคำขอได้ เนื่องจากจำเลยชี้อาณาเขตล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ถือว่า จำเลยโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขต และการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย่งคืนที่ดิน กรณีแนวเขตพิพาท และผลของการรังวัดสอบเขตที่ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขตและการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่ และไม่มีผลทำให้การถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามความจริงไม่เกิดขึ้นหรือหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยถอยร่นแนวเขตที่ดินของจำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องนั้น ถือได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินโจทก์ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยรับของแนวเขตที่ดินโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ความเสียหาย ศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานได้
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำพยานเข้ามาสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยก่อน หากพยานหลักฐานของโจทก์นำมาสืบฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นก็ดีจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดก็ดี ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 รวมทั้งในคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์ยังต้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย
คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับสัญญาขายหุ้น ทั้งโจทก์มิได้นำสืบตัวโจทก์ เท่ากับแสดงว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักคำเบิกความของ ว. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์แล้วว่าไม่มีน้ำหนักรับฟังได้นั่นเอง กรณีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่มีปรากฏอยู่ในทางพิจารณาเพียงบางส่วนหรือไม่ครบถ้วน ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีนี้จนครบถ้วนเท่ากับยังไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงไปตามคำเบิกความทั้งหมดของ ว. พยานโจทก์ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อ้างเป็นข้อกฎหมายว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายอันถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ: ศาลต้องสอบถามจำเลยและพิจารณาความสุจริตของโจทก์
สาระสำคัญของการขอถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง(1) อยู่ที่ว่าเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ต้องสอบถามจำเลยก่อนเท่านั้น เมื่อสอบถามจำเลยแล้ว ศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจโดยศาลต้องคำนึงถึงความสุจริตของโจทก์หรือการเอารัดเอาเปรียบในคดีเป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้ขายสิทธิการเช่าซื้อให้แก่บริษัท บ. ไปแล้ว ทั้งได้รับอนุมัติจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินให้ถอนฟ้องคดีนี้ได้ จึงเป็นการเชื่อว่าตนหมดอำนาจในการดำเนินคดีต่อไป ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามปกติที่มีอยู่ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จำเลยจะคัดค้านแต่ก็มิได้ให้เหตุผลอย่างใดไว้ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจึงชอบแล้ว
of 452