พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการค้ำประกันและความรับผิดในสัญญา
จำเลยที่3ได้ทำหนังสือรับรองต่อโจทก์ว่าในการที่จำเลยที่1เข้าทำงานในตำแหน่งคนงานกับโจทก์นั้นหากจำเลยที่1ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายจำเลยที่3จะชดใช้ความเสียหายให้ต่อมาโจทก์ได้ให้จำเลยที่1ไปทำงานตำแหน่งพนักงานเก็บเงินในห้องอาหารและได้ให้จำเลยที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1แสดงว่าเป็นการค้ำประกันเพราะจำเลยที่1เปลี่ยนตำแหน่งการปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ที่3และที่4ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่3ต้องผูกพันตามหนังสือรับรองต่อไปเมื่อจำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปจำเลยที่3ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกิดสัญญาและการริบเบี้ยปรับตามเงื่อนไขประกวดข้อเสนอ
เงื่อนไขในการประกวดข้อเสนอโครงการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟ ฯ มีว่า "ผู้ชนะการประกวดข้อเสนอจะต้องมาทำสัญญากับการรถไฟ ฯ ภายในระยะเวลา 15 วัน หากไม่มาทำสัญญาจะถือว่าสละสิทธิการรถไฟ ฯ จะริบเงินประกันซอง.........." ดังนี้แสดงว่าสัญญาที่คู่กรณีมุ่งจะทำ นั้นต้องทำเป็นหนังสือ แม้คู่กรณีตกลงกันได้แล้วก็ตาม ตราบใดที่คู่กรณียังไม่ทำสัญญา ต่อกัน ถือได้ว่าสัญญาระหว่างคู่กรณียังไม่เกิดขึ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง และเมื่อผู้ชนะการประกวดข้อเสนอไม่มาทำสัญญาตามกำหนดการรถไฟ ฯ มีสิทธิริบเงินประกันซองอันเป็นเบี้ยปรับตามเงื่อนไขในการประกวดข้อเสนอดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 183 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าผูกพันลูกจ้างที่เข้ามาทำงานภายหลังการบังคับใช้ หากลาออกก่อนกำหนดสิทธิจะสิ้นสุด
บริษัทจำเลยได้วางระเบียบเงื่อนไขในการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าให้แก่พนักงานขายไว้ว่าจะจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงานขายต่อเมื่อยังคงเป็นพนักงานขายของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินรางวัลให้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และโจทก์ทั้งสองเข้ามาเป็นลูกจ้างของจำเลยภายหลังที่เงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดยโจทก์ทั้งสองตกลงเข้ามาเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยและประสงค์จะได้รับเงินรางวัลดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อปรากฏว่าในวันกำหนดการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้านั้น โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยโดยการลาออกแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงหมดสิทธิได้รับเงินรางวัล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลสำหรับพนักงานขายที่ลาออก
บริษัทจำเลยได้วางระเบียบเงื่อนไขในการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าให้แก่พนักงานขายไว้ว่าจะจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงานขายต่อเมื่อยังคงเป็นพนักงานขายของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินรางวัลให้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและโจทก์ทั้งสองเข้ามาเป็นลูกจ้างของจำเลยภายหลังที่เงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับแล้วโดยโจทก์ทั้งสองตกลงเข้ามาเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยและประสงค์จะได้รับเงินรางวัลดังกล่าวเงื่อนไขดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อปรากฏว่าในวันกำหนดการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้านั้น โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยโดยการลาออกแล้วโจทก์ทั้งสองจึงหมดสิทธิได้รับเงินรางวัล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกคดีอาญาที่มีเงื่อนไขการชำระเงิน หากไม่ปฏิบัติตาม ผู้เสียหายมีสิทธิยกเลิกได้ ไม่ถือว่าเป็นการยอมความ
ผู้เสียหายตกลงเลิกคดีกับจำเลย โดยจำเลยจะนำเงินมาชำระให้แก่ผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ การที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายเป็นเงื่อนไขในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่ชำระเงินให้ครบถ้วนตามที่ตกลง จึงมีผลว่าผู้เสียหายไม่ผูกพันที่จะต้องถอนคำร้องทุกข์ และผู้เสียหายมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงที่ได้ทำมาแล้วเสียได้ คดียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกคดีที่มีเงื่อนไข: สิทธิของผู้เสียหายในการยกเลิกหากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม
ผู้เสียหายตกลงเลิกคดีกับจำเลย โดยจำเลยจำนำเงินมาชำระให้แก่ผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ การที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายเป็นเงื่อนไขในการถอนคำร้องทุกข์เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่ชำระเงินให้ครบถ้วนตามที่ตกลงจึงมีผลว่าผู้เสียหายไม่ผูกพันที่จะต้องถอนคำร้องทุกข์ และผู้เสียหายมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงที่ได้ทำมาแล้วเสียได้ คดียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้มีเงื่อนไขรื้อถอน
จำเลยทำสัญญาขายฝากบ้านไว้แก่โจทก์โดยไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มี เงื่อนไขว่าหากจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนดโจทก์มีสิทธิรื้อถอนเอาบ้านไปได้ ดังนี้ รูปเรื่องเป็นการขายฝากบ้าน ซึ่งบ้านยังคงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์อยู่ตามเดิมจนกว่าจำเลยจะไม่ไถ่คืนและโจทก์ได้รื้อถอนเอาไป ถ้าจำเลยไถ่คืนแล้วก็ไม่มีทางบ้านนั้นจะแปรสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ไปได้ ดังนี้สัญญาที่ทำไว้จึงเป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายไม้ที่ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ เมื่อทำสัญญากันเองและมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 โจทก์จะนำมาฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 788/2497 และ 923/2485)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายและขอบเขตการบังคับใช้
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายแก่ลูกจ้างเป็น รายเดือนจะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างก็ตาม แต่เมื่อการที่นายจ้างตกลงจะจ่ายเงินค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเกิดจาก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่จ่ายตามข้อผูกพัน หรือ สัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิม ดังนั้น การจ่ายเงินค่าครองชีพ จำต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็น ไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็น ไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ ธนาคารมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขได้
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ระยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำใน ธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำ และเป็นดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไประยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำในธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่