พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การและการนำสืบพยาน การรับรองเอกสาร และการหักล้างเอกสาร
ในคำให้การของจำเลยปฏิเสธการกู้ยืมตามฟ้อง พอมาในชั้นพิจารณาตอนแรกจำเลยแถลงรับโดยเข้าใจผิดว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้ตามฟ้องจริง ศาลจึงมีคำสั่งให้จำเลยนำสืบก่อน แล้วจำเลยยื่นคำร้องว่าที่แถลงไปนั้นคลาดเคลื่อนขอดูต้นเอกสาร ครั้นตรวจเอกสารต้นสัญญากู้แล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ใช่ลายมือจำเลยในสัญญากู้ที่ฟ้องดังนี้ ศาลย่อมมีคำสั่งในหน้าที่นำสืบใหม่ให้โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อนได้+
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและแก้ไขโทษรวมกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ก.ม.อาญา ม.250 ข้อ 3 ม.184 และ ม.120 รวม 3 กะทงเมื่อลดโทษตาม ม.59 แล้วคงรวมกะทงลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต ตาม ม.36
โจทก์จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.ม.245 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดตาม ม.250 ข้อ 2 ไม่ใช่ข้อ 3 และที่ว่ารวมกะทงลงโทษตาม ม.36 ก็ไม่ถูกต้องเป็น ม.71 จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นตามบทมาตราดังกล่าวนอกจากที่แก้คงยืนดังนี้ จำเลยฎีกาขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษได้
โจทก์จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.ม.245 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดตาม ม.250 ข้อ 2 ไม่ใช่ข้อ 3 และที่ว่ารวมกะทงลงโทษตาม ม.36 ก็ไม่ถูกต้องเป็น ม.71 จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นตามบทมาตราดังกล่าวนอกจากที่แก้คงยืนดังนี้ จำเลยฎีกาขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารราชการโดยเจ้าหน้าที่: การปลอมแปลงหนังสือไม่อยู่ในหน้าที่ตามตำแหน่ง
จำเลยเป็นพลตำรวจได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่ตรอกข้อความในใบรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วเสนอให้ผู้บังคับบัญชาเซ็นจำเลยได้ปลอมหนังสือโดยขูดลบชื่อเจ้าของใบรับใบสำคัญเดิมเสีย เติมชื่อลงไปใหม่การกระทำของจำเลยย่อมเป็นผิดตาม ก.ม. อาญา ม. 224 เพราะถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมหนังสือซึ่งอยู่ในหน้าที่ของจำเลยตามตำแหน่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารราชการโดยเจ้าหน้าที่: หน้าที่ vs. อำนาจปลอมแปลง
จำเลยเป็นพลตำรวจได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่กรอกข้อความในใบรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วเสนอให้ผู้บังคับบัญชาเซ็น จำเลยได้ปลอมหนังสือโดยขูดลบชื่อเจ้าของใบรับใบสำคัญเดิมเสีย เติมชื่อลงไปใหม่ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 224 เพราะถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมหนังสือซึ่งอยู่ในหน้าที่ของจำเลยตามตำแหน่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอุทธรณ์แม้ทนายไม่มีอำนาจ แต่ภายหลังสัตยาบันและมอบอำนาจใหม่ ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
ทนายลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นอุทธรณ์ ต่อมาเมื่อพ้นอายุอุทธรณ์แล้วตัวความจึงได้ให้สัตยาบันและยื่นใบแต่งทนายใหม่มอบให้ทนายมีอำนาจอุทธรณ์ได้ กรณีเช่นนี้ต้องด้วยวิ.แพ่ง ม. 27 เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ย่อมสั่งให้คู่ความจัดการแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ และเมื่อทนายได้ทำใ่บแต่ทนาย+ให้อุทธรณ์ได้ขึ้นใหม่ และสัตยาบัน+ยื่นอุทธรณ์ที่+ได้รับไว้แล้วนั้น ก็ชอบที่จะรับอุทธรณ์+ได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอุทธรณ์แม้ทนายไม่มีอำนาจในตอนแรก และการแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ทนายลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ศาลชั้นต้นสั่งรับเป็นอุทธรณ์ ต่อมาเมื่อพ้นอายุอุทธรณ์แล้วตัวความจึงได้ให้สัตยาบันและยื่นใบแต่งทนายใหม่มอบให้ทนายมีอำนาจอุทธรณ์ได้ กรณีเช่นนี้ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ย่อมสั่งให้คู่ความจัดการแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการลงชื่อแทนจำเลยในฟ้องอุทธรณ์ ศาลควรคืนคำคู่ความเพื่อแก้ไข ไม่ยกฟ้อง
ในฟ้องอุทธรณ์มีชื่อจำเลยเป็นผู้ยื่น แต่ในท้ายอุทธรณ์ทนายเป็นผู้ลงชื่อ อุทธรณ์นั้นศาลชั้นต้นสั่งรับแล้วฉะนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทนายจำเลยไม่มีอำนาจลงชื่อแทนจำเลยในฟ้องอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะต้องคืนคำคู่ความไปให้ทำมาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา18 จะยกอุทธรณ์จำเลยเสียทีเดียวหาได้ไม่
การที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์จำเลยทุกคนโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่มีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนจำเลยนั้นเป็นเหตุในลักษณะคดีแม้จำเลยเพียงคนเดียวฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยทุกคนได้
การที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์จำเลยทุกคนโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่มีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนจำเลยนั้นเป็นเหตุในลักษณะคดีแม้จำเลยเพียงคนเดียวฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยทุกคนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารจ่ายเช็คที่มีการแก้ไข หากสุจริตและไม่มีประมาทเลินเล่อ ไม่ต้องรับผิด
เช็คที่ไม่ปรากฏว่ามีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่น ถ้าธนาคารใช้เงินไปโดยสุจริตและปราศจากการประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่าย เช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็คต้องลงวันที่ ที่ออกเช็ค แต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 991,992 ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ
ระหว่างธนาคารผู้จ่ายเงินกับผู้สั่งจ่าย เช็คนั้นมีความผูกพันกันตามสัญญาที่เคยค้าอาศัยในการสั่งจ่ายเงินอยู่ด้วย ฉะนั้นเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน 60,000 บาท แม้จะมีผู้แก้จำนวนเงินเป็น 50,000 บาท และธนาคารจ่ายไปตามนั้นก็ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง
เช็คต้องลงวันที่ ที่ออกเช็ค แต่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าก็หาเสียไปไม่
ธนาคารย่อมจะต้องใช้เงินในทันทีที่มีผู้นำเช็คมาเบิกเงินเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 991,992 ฉะนั้นเมื่อไม่มีอะไรแสดงให้เห็นว่าเช็คนั้นลงวันที่ล่วงหน้าแล้วมีผู้แก้วันที่ร่นเข้ามาและนำมาเบิกเงินธนาคารได้จ่ายเงินไปโดยสุจริตปราศจากความประมาทเลินเล่อย่อมไม่ต้องรับผิด
ประเด็นข้อสุจริตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมฉบับซ้ำ & การขีดฆ่าแก้ไข: สิทธิในการรับมรดกยังคงมีอยู่หากแก้ไขไม่ถูกต้อง
พินัยกรรมที่ทำขึ้นพร้อมกันหลายฉบับ และมีข้อความเหมือนกันทุกฉบับนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นต้นฉบับพินัยกรรมทั้งหมด ผู้มีสิทธิได้ทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้น จะอ้างสิทธิในพินัยกรรมฉบับใดขึ้นขอรับมรดกก็ได้
พินัยกรรมที่มีขีดฆ่าตกเติมหลายแห่ง ไม่มีพยานลงชื่อรับรองลายมือให้ถูกต้องทุกแห่งนั้น จะเสียก็เสียเฉพาะการขีดฆ่าตกเติมที่ทำไม่ถูกต้องเท่านั้น ไม่เสียหมดทั้งฉบับ
พินัยกรรมที่มีขีดฆ่าตกเติมหลายแห่ง ไม่มีพยานลงชื่อรับรองลายมือให้ถูกต้องทุกแห่งนั้น จะเสียก็เสียเฉพาะการขีดฆ่าตกเติมที่ทำไม่ถูกต้องเท่านั้น ไม่เสียหมดทั้งฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน กรณีบุกรุกเหมืองสาธารณะ กรมการอำเภอมีอำนาจสั่งให้แก้ไข
การที่จำเลยไม่ยอมให้ใครเข้าไปซ่อมเหมืองสาธารณะ ซึ่งคันเหมือนถูกทำลายเป็นเหตุให้น้ำไม่ไหล ไปตามลำเหมืองไปสู่นาของราษฎรตามปกตินั้น กรมการอำเภอย่อมมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
มาตรา 122 ที่จะสั่งให้จำเลยเลิกถอนการบุกรุกเหมืองนี้ได้ เมื่อสั่งแล้ว จำเลยบังอาจขัดขืนโดยยึดถือเอาเหมืองนั้น
เป็นที่ของตนเสีย ไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าไปซ่อม หรือทำเหมืองให้น้ำไหลไปตามปกติแล้ว จำเลยก็ย่อมมีความผิดฐานขัด
คำสั่งเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2).
มาตรา 122 ที่จะสั่งให้จำเลยเลิกถอนการบุกรุกเหมืองนี้ได้ เมื่อสั่งแล้ว จำเลยบังอาจขัดขืนโดยยึดถือเอาเหมืองนั้น
เป็นที่ของตนเสีย ไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าไปซ่อม หรือทำเหมืองให้น้ำไหลไปตามปกติแล้ว จำเลยก็ย่อมมีความผิดฐานขัด
คำสั่งเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2).