คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่เป็นธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีการเปลี่ยนฐานข้อกล่าวหาเป็นละเมิด ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 35 โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หรือแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลก็ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยวาจาต่อศาลแรงงานกลางโดยอ้างสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายและเงินอื่น ๆกับให้ยกเลิกคำสั่งของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรม คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยอีกโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินประเภทต่าง ๆ กับขอให้เพิกถอนคำสั่งฉบับเดียวกัน และสั่งให้โจทก์เข้าทำงานตามเดิม หรือให้ชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งแม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการละเมิด ก็เป็นเรื่องที่เกิดจากการเลิกจ้างของจำเลยอันเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโดยอ้างธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลฎีกาตัดสินให้จ่ายค่าชดเชย
โจทก์เบิกอะไหล่ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปหลายชิ้นเพื่อซ่อมรถยนต์โดยสารของจำเลย บางชิ้นได้นำไปเปลี่ยนใส่ในรถยนต์โดยสารของจำเลยแล้ว บางชิ้นก็คงเก็บไว้ในตู้เก็บอะไหล่ที่ที่ทำงานของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามกระทำ ดังนั้นจำเลยจะเอาธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาเป็นเวลานานแล้วมาอ้างว่าเป็นระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โดยถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การอ้างธรรมเนียมปฏิบัติแทนระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษรใช้ไม่ได้ในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เบิกอะไหล่ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปหลายชิ้นเพื่อซ่อมรถยนต์โดยสารของจำเลย บางชิ้นได้นำไปเปลี่ยนใส่ในรถยนต์โดยสารของจำเลยแล้ว บางชิ้นก็คงเก็บไว้ในตู้เก็บอะไหล่ที่ที่ทำงานของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามกระทำ ดังนั้นจำเลยจะเอาธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาเป็นเวลานานแล้วมาอ้างว่าเป็นระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโดยถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องระบุเหตุเลิกจ้างในหนังสือแจ้ง หากอ้างเหตุภายหลังศาลไม่รับฟัง
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์เพียงว่าจำเลยมีเหตุผลบางประการของบริษัท มิได้มีข้อความระบุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มาทำงานสาย เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย อันเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 นั้น จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้าง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องระบุเหตุเลิกจ้างในหนังสือเลิกจ้าง หากอ้างเหตุภายหลังถือว่าเป็นการยกข้อต่อสู้เพิ่มเติม
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์เพียงว่าจำเลยมีเหตุผลบางประการของบริษัท มิได้มีข้อความระบุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มาทำงานสาย เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย อันเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 นั้น จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้าง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ออกพนักงานขับรถโดยสารฐานประมาทเสี่ยงอันตราย มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทจำเลยมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารรถของจำเลยจำต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นประการสำคัญการที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถโดยสารด้วยความเร็วและแซงรถหวาดเสียวในลักษณะแข่งกันนอกจากจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อภยันตรายที่ร้ายแรงอันอาจเกิดแก่ผู้โดยสารได้โดยง่ายการกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความเสียหายในด้านบริการสาธารณะของจำเลยอย่างร้ายแรง โดยไม่จำต้องให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นก่อน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยแล้ว จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ชกต่อย ธ.ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันเพราะไม่พอใจธ.เป็นเหตุให้ ธ. ได้รับอันตรายแก่กาย เหตุเกิดในบริเวณที่ทำการของจำเลยระหว่างที่ ธ. ปฏิบัติงานในหน้าที่ ดังนี้ เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดวินัยร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว เนื่องจากจำเลยดำเนินธุรกิจด้านโรงแรมให้บริการแก่ลูกค้า การทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกันของพนักงานในบริเวณโรงแรมขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยเป็นอย่างมากจำเลยจึงมีอำนาจปลดโจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้ทั้งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 อีกด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย ค่าชดเชยตลอดทั้งสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดที่ไม่เป็นธรรม และการขาดสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแล้ว เมื่อจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่เป็นธรรม เนื่องจากผู้เข้าประมูลมีโจทก์เพียงรายเดียว และทรัพย์ที่ขายมีราคาสูงกว่าราคาที่โจทก์ประมูลได้มาก เท่ากับกล่าวอ้างว่าการบังคับคดีได้กระทำโดยไม่ชอบเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และมาตรา 296 กล่าวคือจำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องขอคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีเสร็จแต่ไม่ช้ากว่า 8 วันนับแต่วันที่ได้ทราบการฝ่าฝืน เมื่อจำเลยมิได้ร้องคัดค้านตามที่กฎหมายกำหนดไว้จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดที่ไม่เป็นธรรม ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 8 วัน หากไม่ทำสิทธิอุทธรณ์ฎีกาจึงไม่รับฟัง
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแล้ว หากจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยไม่เป็นธรรม เนื่องจากผู้ประมูลมีโจทก์เพียงรายเดียวและทรัพย์ที่ขายมีราคาสูงกว่าราคาที่โจทก์ประมูลได้มาก อันเป็นการอ้างว่าการบังคับคดีได้กระทำโดยไม่ชอบเช่นนี้จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ไม่ช้า กว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการฝ่าฝืน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และ 296 เมื่อมิได้ร้องคัดค้านจำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกายกอุทธรณ์ เพราะจำเลยไม่ได้อ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้อ้างเหตุที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย ส่วนอุทธรณ์เรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ก็มิได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดี อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.(ที่มา-เนติ)
of 48