พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีลูกหนี้ร่วมตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560
โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีภายหลังจากที่ ป.วิ.พ. มาตรา 274 ที่แก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่30) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ การบังคับคดีของโจทก์จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 274 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
ส. เป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีที่ถูกฟ้องแต่แรก แต่ ส. ยินยอมเข้ามาในคดีโดยตกลงยอมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างลูกหนี้ร่วมและได้ลงลายมือชื่อผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้วด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงมีผลผูกพัน ส. ในฐานะเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดี ส. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
ส. เป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีที่ถูกฟ้องแต่แรก แต่ ส. ยินยอมเข้ามาในคดีโดยตกลงยอมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างลูกหนี้ร่วมและได้ลงลายมือชื่อผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้วด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงมีผลผูกพัน ส. ในฐานะเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดี ส. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน: ศาลไม่ออกหมายบังคับคดีจนกว่าโจทก์จะชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนเพิกถอนการโอน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้เพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านบนที่ดินโฉนดดังกล่าวที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนาง ส. โอนให้แก่จำเลย ให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลย หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาล โจทก์ก็สามารถดำเนินการโดยใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 357 โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดี และที่ศาลพิพากษาให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยนั้น ก็มิใช่การพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสามโดยตรง โจทก์ทั้งสามจึงยังมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนหนี้ค่าใช้จ่ายนี้ หากจำเลยไม่ได้จ่ายค่าใช้จ่าย ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสามที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนไปก่อน แล้วค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทั้งสามได้จ่ายไปนี้ย่อมถือเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์ทั้งสามจะบังคับคดีต่อไปตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 352 วรรคห้า มาตรา 358 วรรคสอง และมาตรา 359 วรรคสี่ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามได้ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านบนที่ดินโฉนดดังกล่าว กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะออกหมายบังคับคดี เพื่อยึดอายัดทรัพย์ของจำเลยบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสามเป็นค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนเพิกถอนการโอนที่ดินและบ้านตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการส่งประกาศขายทอดตลาดที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้
กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า มีเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยได้แถลงไว้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบและไม่ได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาหรือหาบุคคลอื่นเข้าสู้ราคาหรือไม่นั้น เห็นว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งขอเปลี่ยนที่อยู่จัดส่งเอกสารต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีคำสั่งคำร้องว่า "ทราบ รวม จำเลยทราบประกาศขายในวันนี้แล้ว" เมื่อประกาศขายทอดตลาดใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจำต้องส่งประกาศขายทอดตลาดแก่จำเลยที่ที่อยู่ตามที่จำเลยแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้ กลับจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือมิได้ว่ามีการจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยแล้ว การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ครั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์เพื่อบังคับคดีแล้วสละสิทธิ โจทก์ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นและเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะได้รับจากการบังคับชำระหนี้เอาจากบริษัท ก. และหลักประกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.517/2557 ของศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ให้แก่โจทก์ และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของจำเลยที่ 1 แล้ว การอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง เมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. ตกลงกันได้ จำเลยที่ 1 ขอถอนการยึดทรัพย์และถอนการบังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.517/2557 ของศาลจังหวัดนนทบุรี โดยจำเลยที่ 1 เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่เหลือแก่โจทก์จนครบถ้วนและโจทก์ตกลงตามข้อเสนอจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจากจำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จึงขอยุติการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 และขอให้มีคำสั่งยกเลิกเพิกถอนหมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและแจ้งคำสั่งยกเลิกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ย่อมมีผลให้การบังคับคดีตามคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำเนินไปแล้วถูกเพิกถอนไปด้วยเหตุเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (6) อันเป็นการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา 292 (1) และ (5) ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 169/2 วรรคสี่ บัญญัติให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขออายัดเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษกักขังแทนค่าปรับสิ้นสุดเมื่อได้รับพระราชทานอภัยโทษ การบังคับคดีเรียกค่าปรับจึงไม่ชอบ
การกักขังเป็นโทษประการหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 และตามมาตรา 29 มาตรา 29/1 และมาตรา 30 แห่ง ป.อ. กำหนดให้ผู้ต้องโทษปรับต้องชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา หากมิได้มีการชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลานั้น ผู้ต้องโทษปรับจะถูกยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังแทนค่าปรับ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นลงโทษปรับ โดยหากไม่ชำระค่าปรับให้กักขังจำเลยมีกำหนด 1 ปี แทนค่าปรับ 3,837,025 บาท และจำเลยไม่มีเงินชำระค่าปรับจนต้องรับโทษกักขัง จึงเป็นกรณีที่โทษเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นโทษปรับ ได้เปลี่ยนไปเป็นโทษกักขังจำเลยมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี แทน เพราะหากจำเลยถูกกักขังครบ 1 ปี โทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมสิ้นสุดลง ไม่มีโทษปรับที่จะต้องถูกบังคับอีกต่อไป ต่อมาเมื่อมี พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2562 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ต้องโทษดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง..." ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดและเป็นผู้ต้องกักขังแล้วตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จึงเป็นกรณีตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) หาใช่นักโทษเด็ดขาดซึ่งยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปโดยไม่ต้องรับโทษไม่ แต่ไม่รวมถึงการยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระเป็นค่าปรับด้วยตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัย และถือได้ว่า โทษกักขังในส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งจำเลยจะต้องรับเป็นอันสิ้นสุดลงตามผลของกฎหมาย โทษตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงสิ้นสุดลง ไม่แตกต่างจากการที่จำเลยถูกกักขังครบ 1 ปี จึงไม่มีโทษปรับที่จำเลยจะต้องถูกบังคับอีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับโทษปรับ และยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เกิดหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ล้มละลายมีสิทธิทำสัญญาและถูกบังคับคดีได้
ขณะที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างกับโจทก์ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ในสัญญาก่อสร้าง เป็นการจัดการทรัพย์สินที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้จัดการทรัพย์สินแทนบุคคลอื่นหรือทำกิจการแทนผู้อื่น การที่จำเลยที่ 3 ทราบอยู่แล้วถึงฐานะการล้มละลายของตนเอง แต่ปกปิดข้อเท็จจริง เป็นเหตุให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 และเมื่อศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์เพิ่งมาทราบภายหลังว่าจำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายในชั้นบังคับคดี พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยไม่สุจริตละเมิดสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ก่อหนี้ดังกล่าวขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย และไม่ใช่หนี้ที่ต้องบังคับกับกองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย จึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 โจทก์จึงสามารถนำหนี้ตามสัญญาก่อสร้างดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้โดยตรงและจำเลยที่ 3 มีอำนาจในการต่อสู้คดีและทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และเมื่อคดีล่วงพ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว คดีนี้จึงถึงที่สุด คำพิพากษาตามยอมจึงยังไม่สิ้นผล การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องจำเลยที่ 3 จำหน่ายคดีในส่วนจำเลยที่ 3 นั้นจึงไม่ชอบ ดังนั้น ต่อมาการที่จำเลยที่ 3 ได้รับการปลดจากล้มละลายเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 และมาตรา 81/1 เมื่อจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ที่ได้มาภายหลังจากการปลดจากล้มละลายแล้วได้ อีกทั้งไม่ใช่ทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายจึงไม่ทำให้เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้รับความเสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินทั้ง 6 แปลง เป็นที่ดินที่จำเลยที่ 3 ได้มาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558 อันเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยที่ 3 ปลดจากการล้มละลายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอากับทรัพย์สินดังกล่าวของจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่านา ศาลบังคับรื้อถอนทรัพย์สินออกจากที่ดิน
ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องขอให้บังคับผู้คัดค้านขนย้ายทรัพย์สินและบริวารพร้อมกับรื้อถอนบ้านออกไปจากที่นาพิพาท จึงเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ มาตรา 1 (3) และเมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านจึงเป็นคดีมีข้อพิพาท หาใช่ผู้ร้องทั้งสามมิได้ฟ้องขอให้บังคับขับไล่และรื้อถอน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษาเพียงให้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจึงมิได้วินิจฉัยตามคำฟ้องของผู้ร้องทั้งสามทุกข้อไม่ชอบด้วยมาตรา 142 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม) โดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยใหม่ ซึ่งเมื่อสัญญาเช่านาพิพาทสิ้นสุดลงแล้ว ผู้คัดค้านย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่นาพิพาทของผู้ร้องทั้งสามต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน แม้ไม่ใช่ตัวการโดยตรง
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ยึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งงดการยึด เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์สินนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคสาม หาใช่กรณีที่จะกระทำได้โดยมีคำสั่งอายัดก่อนดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกคำสั่งอายัดก่อน เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยแล้วจึงให้ยึดเพื่อขายทอดตลาดต่อไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาเรื่องเครื่องหมายการค้า: การขัดขืนคำบังคับและการจับกุมผู้มีอำนาจกระทำการ
เมื่อเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาและคำสั่งชี้แจงของศาลฎีกาเกี่ยวกับข้อสงสัยในการบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้นได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสามในเครื่องหมายการค้ารูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าคำว่า VIKING SHIP เรือใบไวกิ้ง และ ไวกิ้ง จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าที่มีรูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า VIKING SHIP เรือใบไวกิ้ง และ ไวกิ้ง ส่วนเหตุที่ศาลไม่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค199455 ด้วยนั้น เป็นเพียงเพราะโจทก์นำคดีในส่วนนี้มาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเท่านั้น ไม่ได้มีการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาในส่วนนี้ว่า ให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้เครื่องหมายการค้ารูปเรือใบไวกิ้ง และเครื่องหมายการค้าคำว่า เรือใบไวกิ้ง กับสินค้าของจำเลยทั้งสาม จึงรวมไปถึงการให้จำเลยทั้งสามยุติการใช้เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค199455 ด้วย อันถือได้ว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยทั้งสามทราบคำบังคับดังกล่าวแล้ว และได้ความจากคำขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยทั้งสามของโจทก์ประกอบคำแถลงของจำเลยทั้งสามในวันนัดพร้อมเพื่อสอบถามจำเลยทั้งสามว่า จำเลยทั้งสามยังคงใช้เครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ค199455 อยู่ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจงใจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ และไม่มีวิธีการบังคับอื่นใดที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้บังคับได้ จึงเป็นการชอบที่ศาลจะมีคำสั่งจับกุม กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และจำเลยที่ 3 ได้ ตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการมีส่วนได้เสียในการประกาศขายทอดตลาด: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 (เดิม) ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษากำหนดไว้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดแล้ว การดำเนินการบังคับคดีให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะต้องแจ้งประกาศการขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายนั้นให้ทราบด้วย แม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้หนึ่งที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะทำการขายทอดตลาดนั้นตามคำนิยามของมาตรา 280 (1) (เดิม) แต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องส่งประกาศการขายทอดตลาดให้ทราบตามบทบัญญัติมาตรา 306 (เดิม) นั้น ต้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์สินที่จะทำการขายทอดตลาดโดยต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ไม่ว่าจะปรากฏทางทะเบียนหรือโดยประการอื่นก็ตาม เมื่อปรากฏว่าที่ดินทั้งแปดแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ประกาศขายทอดตลาดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งประกาศการขายทอดตลาดให้ทราบ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และไม่ได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งแปดแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างร่วมกับจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 รับผิดตามคำพิพากษาตามยอม และการขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปดแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 อาจทำให้ความรับผิดตามคำพิพากษาตามยอมของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงเพราะหากขายทอดตลาดได้ในราคาสูงก็อาจเพียงพอแก่การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมได้สิ้นเชิงหรือคงเหลือหนี้ค้างชำระจำนวนน้อยลงอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง ด้วยก็ตาม แต่การเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือโดยส่วน เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก็คงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 โดยทำให้ความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้ตามคำพิพากษายอมลดลงเท่านั้น ส่วนความรับผิดท้ายสุดเป็นความรับผิดระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาตามยอมด้วยกันตามมาตรา 296 แห่ง ป.พ.พ.นั้น ต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โดยอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยกันเองภายหลังลูกหนี้คนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ การขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปดแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 จะได้ราคาทอดตลาดมากน้อยเพียงใด จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในระหว่างลูกหนี้ร่วมด้วยกันซึ่งเป็นความรับผิดโดยตรงแต่ประการใด จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในที่ดินทั้งแปดแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องส่งประกาศการขายทอดตลาดให้ทราบด้วย กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของจำเลยที่ 2