พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2979/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษคดียาเสพติด: การใช้กฎหมายใหม่ (ประมวลกฎหมายยาเสพติด) และการพิจารณาโทษกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนคดีถึงที่สุดแล้ว ระหว่างจำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดได้มี พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และให้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า "จำหน่าย" ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำอย่างเดียวกันคือการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด จึงต้องลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 เพียงบทเดียว ส่วนการที่จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อเจ้าพนักงานตำรวจนั้น ป.ยาเสพติด มาตรา 153 ยังคงบัญญัติให้อำนาจศาลลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งดังกล่าวน้อยกว่าอัตราโทษ ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ ทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 แต่กฎหมายใหม่กำหนดหลักเกณฑ์ให้โจทก์ต้องระบุในคำฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาล หรือมิฉะนั้นผู้กระทำความผิดต้องยื่นคำร้องต่อศาล ศาลจึงจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ดังนั้น กฎหมายใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องบังคับตามกฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ส่วนการกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ป.ยาเสพติด มาตรา 126 ยังคงบัญญัติให้ระวางโทษผู้พยายามกระทำความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 แต่เมื่อลงโทษจำเลยตามกฎหมายใหม่ มาตรา 90, 145 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว จึงต้องบังคับตามกฎหมายใหม่ มาตรา 126 ด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 3
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4,018 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 70.823 กรัม และจำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 1,996 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35.180 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนทราบการกระทำความผิดของจำเลยมาจากผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษที่เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย จึงวางแผนล่อซื้อและจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลาง พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และหากมีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางออกไปย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้เสพหลายคนโดยสภาพเข้าลักษณะเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มิใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ทั้งยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เช่นนี้ เมื่อ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท และการมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงบทเดียวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,996 เม็ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 4,018 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวลงโทษได้เพียงกระทงเดียว โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทั้งในเรื่องการกำหนดโทษและจำนวนกระทงลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 126 ป.อ. มาตรา 80 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใด
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4,018 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 70.823 กรัม และจำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 1,996 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35.180 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนทราบการกระทำความผิดของจำเลยมาจากผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษที่เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย จึงวางแผนล่อซื้อและจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลาง พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และหากมีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางออกไปย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้เสพหลายคนโดยสภาพเข้าลักษณะเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มิใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ทั้งยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เช่นนี้ เมื่อ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท และการมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงบทเดียวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,996 เม็ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 4,018 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวลงโทษได้เพียงกระทงเดียว โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทั้งในเรื่องการกำหนดโทษและจำนวนกระทงลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 126 ป.อ. มาตรา 80 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีพืชกัญชา: กฎหมายใหม่ทำให้ความผิดหมดอายุ และค่าปรับไม่คืน
การที่จำเลยได้ชำระค่าปรับแก่ศาลไว้ แต่ต่อมามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยมีสิทธิขอคืนเงินค่าปรับหรือไม่นั้น กรณีของจำเลยต้องตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง บทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผลการกระทำความผิดและการบังคับโทษตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วจากกันต่างหาก กล่าวคือ ในส่วนของการบังคับตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้น หากมีส่วนใดที่ยังค้างอยู่ระหว่างการบังคับก็ให้การบังคับนั้นสิ้นสุดลง ไม่มีการบังคับในส่วนที่ค้างอยู่ต่อไปเท่านั้น หาได้มีผลให้รื้อฟื้นการบังคับโทษที่เสร็จสิ้นไปแล้วขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกแต่อย่างใด โทษที่ได้รับมาแล้วต้องถือว่ายุติไปตามผลของคำพิพากษา ดังนั้น ค่าปรับที่จำเลยชำระไปตามคำพิพากษาจนครบถ้วนแล้วจึงถือว่าการบังคับโทษปรับเสร็จสิ้นแล้ว ไม่อาจถอนคืนได้ จำเลยไม่มีสิทธิขอคืนเงินค่าปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับค้ำประกันหลังผิดนัดชำระหนี้เช่าซื้อ ประเด็นหนังสือบอกกล่าวและการใช้กฎหมายใหม่
แม้คดีก่อนโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 หลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ใช้บังคับแล้ว แต่ลูกหนี้ผิดนัดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันให้เป็นไปตามมาตรา 686 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ โจทก์ผู้ให้เช่าชื้อจึงไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวจำเลยผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้นัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ แต่ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคหนึ่ง (เดิม) อย่างไรก็ดี แม้ศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยในคดีเดิมเป็นทำนองว่าโจทก์ผู้ให้เช่าชื้อมีหนังสือบอกกล่าวจำเลยผู้ค้ำประกันวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 เกินกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดโจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 (จำเลยในคดีนี้) ผู้ค้ำประกันรับผิดได้ อันเป็นการนำ ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ มาใช้บังคับแก่คดีของโจทก์ แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยผู้ค้ำประกัน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า คดีเดิมศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ด้วยเหตุว่าโจทก์บอกกล่าวแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเกินกว่าหกสิบวันนับแต่ผู้เช่าซื้อผิดนัดโดยยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยผิดสัญญาค้ำประกันหรือไม่ และต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงใด ประเด็นดังกล่าวจึงยังไม่ได้มีการวินิจฉัยถึงที่สุด เมื่อโจทก์บอกกล่าวแก่จำเลยและฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้จดข้อความเท็จ ประเด็นการใช้กฎหมายเดิมและกฎหมายแก้ไขใหม่
ท. ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีนี้ โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เรื่องการถอนฟ้องของ ท. เพื่อให้ได้ความกระจ่างว่า ท. มีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้จริงหรือไม่ แต่ ม. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาเรื่องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อันเนื่องจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เป็นวงกว้าง ม. จึงส่งบันทึกถ้อยคำตอบข้อซักถามของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่กระทำในต่างประเทศโดยมีโนตารีพับลิกและสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศญี่ปุ่นรับรองว่า ม. ลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าตนต่อศาลชั้นต้นแทนการให้ถ้อยคำด้วยวาจาซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงรับฟังบันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการสอบถามข้อเท็จจริงด้วยวาจาได้ ทั้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. ด้วยวาจาในเรื่องการถอนฟ้องเป็นไปเพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว มิใช่เป็นการให้สืบพยานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) จึงไม่จำต้องสืบพยานปาก ม. ที่ศาลอื่น หรือสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นนอกศาล โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230/1 ดังนี้ เมื่อบันทึกถ้อยคำของ ม. ระบุว่า ท. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และตราประทับที่ ท. ได้ประทับในคำร้องขอถอนฟ้องไม่ใช่ตราประทับของโจทก์ กับ ท. ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในนามของโจทก์ คำร้องขอถอนฟ้องของ ท. จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ และปรากฏตามหนังสือรับรองข้อเท็จจริงว่า ม. ในฐานะกรรมการผู้แทนแต่เพียงผู้เดียวของโจทก์ขอรับรองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะถอนฟ้องคดีนี้แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ถอนฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แข่งรถในทางสาธารณะ, กฎหมายใหม่ใช้บังคับไม่ได้, ริบรถยนต์, และพักใช้ใบอนุญาต
ภายหลังจากศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาแล้ว ได้มี พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ประกาศใช้บังคับ โดยมาตรา 134 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ยังคงบัญญัติให้ผู้แข่งรถในทางเป็นความผิดอยู่ และมาตรา 134/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติมยังคงบัญญัติให้ผู้จัด หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถในทางเป็นความผิด กฎหมายใหม่จึงไม่ได้ยกเลิกความผิดตามมาตรา 134 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (เดิม) แต่อัตราโทษตามมาตรา 160 ทวิ วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่ากฎหมายเดิม และโทษตามมาตรา 160 ทวิ วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษจำคุกและปรับสูงกว่ากฎหมายเดิม ดังนั้น โทษตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 17 ส่วนการที่บทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) มีส่วนที่เป็นคุณในเรื่องการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ที่บัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ซึ่งเป็นคุณกว่าบทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (เดิม) ที่บัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนโดยไม่ได้กำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวของจำเลย จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้บทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย แต่ก็ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงอากรนำเข้าและเจตนาฉ้อภาษี ศาลพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ซึ่งการกระทำความผิดตามข้ออ้างในคำฟ้องข้อ 1.1 ของโจทก์เป็นการกระทำในขณะ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ใช้บังคับ โดยความหมายในมาตรา 2 คำว่า "อากร" ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ อย่างไรก็ตาม แม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1.1 ไม่มีจำนวนอากรขาเข้าที่จำเลยทั้งสามต้องเสียเพิ่ม แต่เมื่อคำฟ้องข้อ 1.1 บรรยายด้วยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ารถยนต์ใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ และ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ยังบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ด้วย
ภายหลังจำเลยทั้งสามกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ ซึ่งอัตราโทษใหม่ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสามในส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ. มาตรา 3
ภายหลังจำเลยทั้งสามกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ ซึ่งอัตราโทษใหม่ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสามในส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ. มาตรา 3