คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,024 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาขัดขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอรับรองฎีกาของจำเลยว่ากรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรับฎีกาและการรับรองฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงความผิดละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นรับรองฎีกาของจำเลยได้ตามมาตรา 221 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอรับรองฎีกาของจำเลยว่ากรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจที่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการฎีกา: การแต่งตั้งทนายความใหม่ทำให้ทนายความเดิมหมดอำนาจ
คำฟ้องฎีกาและคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับรองฎีกาของจำเลยที่นาย พ. ทนายความเป็นผู้ฎีกาและผู้ยื่นคำร้องแทนจำเลย ทนายความดังกล่าวจะต้องมีอำนาจในการฎีกาด้วย เมื่อจำเลยมิได้แต่งให้นาย พ. เป็นทนายความในชั้นฎีกา จึงเป็นการดำเนินคดีแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อโต้แย้งเรื่องพยานหลักฐานในข้อหาพรากผู้เยาว์ และยืนยันอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามประกอบด้วยมาตรา 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน คดีสำหรับข้อหานี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามฟ้องนั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การจับและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน เพราะการจับเป็นวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำผิด ส่วนการสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ไม่ปรากฏว่าคดีนี้ไม่ได้มีการสอบสวนหรือการสอบสวนไม่ชอบอย่างไร ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาอนุญาตฎีกาโดยผู้พิพากษาที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยระบุ ขอให้ศาลอนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา แต่พอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกานั่นเอง การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลชั้นต้น ซึ่งมิใช่บุคคลที่มีอำนาจให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 สั่งคำร้องโดยไม่อนุญาตให้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมสำนวนความไปให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาว่าสมควรอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่ก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่า 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินราคา1,200,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วนรวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฎีกาเกินจริง: กรณีอุทธรณ์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์
แม้ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ผู้ฎีกาก็ยังมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์/ฎีกา: กรณีคดีขอปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่สามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตารางค่าธรรมเนียม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การแล้วเห็นว่าคดีไม่จำต้องสืบพยานบุคคลจึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยพิเคราะห์จากคำแถลงของคู่ความและเอกสารที่ส่งศาลโจทก์อุทธรณ์และฎีกาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลย ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีสืบพยานโจทก์จำเลยใหม่ แม้จะอุทธรณ์และฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องมาด้วยก็เป็นการโต้แย้งข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เท่านั้น ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในเนื้อหาที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม แม้อุทธรณ์ข้อนี้จะฟังขึ้น ก็จะเข้าไปวินิจฉัยเรื่องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มยังไม่ได้ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน ต้องย้อนสำนวนไปให้สืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวครอบครองยาเสพติดหลายชนิด และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ระบุว่า เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันจึงเป็นความผิดต่อกฎหมายและมีโทษบทมาตราเดียวกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กระทงความผิดแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 9 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
of 303