คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์มรดก
ส.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.จึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ผิดนัดชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้ ส.ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.ต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมายเนื่องจาก ส.ตายแล้วก็ตาม ทรัพย์สินกองมรดกของ ส.ก็ต้องตกเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ห้างหุ้นส่วนแม้หลังเลิกไป ทรัพย์มรดกถูกบังคับชำระหนี้ภาษี
ส.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.จึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ผิดนัดชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้ ส.ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมายเนื่องจาก ส.ตายแล้วก็ตาม ทรัพย์สินกองมรดกของ ส.ก็ต้องตกเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดก: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้เดียว เจ้าของรวมไม่มีอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ที่บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ฯลฯ" หมายความว่าเมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังผู้เดียวได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาล จึงย่อมมีอำนาจจัดการมรดกของ จ.ตามกฎหมาย การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนของ จ. อันเป็นทรัพย์มรดกของ จ. มาเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมกระทำได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นทายาทโดยธรรมของ จ.หรือไม่ ทั้งกรณีไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนที่เป็นมรดกของ จ. ทำให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ทายาทโดยธรรมจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันเอง โจทก์จะอาศัยสิทธิในฐานะเจ้าของรวมในที่พิพาทมาฟ้องร้องมิได้
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเจ้าของรวมและผู้จัดการมรดก การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกต้องอาศัยสิทธิของทายาท
ที่พิพาทเดิมเป็นของ จ. และท.เมื่อท.ถึงแก่กรรมโจทก์จดทะเบียนรับโอนเฉพาะส่วนของ ท. มาเป็นของโจทก์ ต่อมา จ. ถึงแก่กรรม ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก จำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจ.แล้วจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และ 3 การจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนของ จ. อันเป็นทรัพย์มรดกของ จ.มาเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมกระทำได้ตามกฎหมายไม่ว่า จำเลยที่ 1 จะเป็นทายาทโดยธรรมของ จ.หรือไม่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนการจดทะเบียนโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่ทายาทโดยธรรมของ จ. จะฟ้องร้องกันเองโจทก์มิได้เป็นทายาทโดยธรรมของ จ.จะมาฟ้องโดยอาศัยสิทธิในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทย่อมไม่ได้ โจทก์ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนี้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกย่อมถือเป็นการครอบครองแทนทายาท ทำให้อายุความไม่เริ่มนับ
โจทก์จำเลยเป็นทั้งทายาทและผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลการที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกจึงเป็นเรื่องผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ที่เป็นทายาทด้วยจำเลยจะอ้างอายุความมรดกมาตัดฟ้องมิให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งจำเลยครอบครองอยู่หาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิเสธการโอนทะเบียนทรัพย์มรดก
ผู้ตายมีทรัพย์มรดกรถจักรยานยนต์ 1 คันและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้การที่เจ้าหน้าที่แผนกทะเบียนยานพาหนะปฏิเสธไม่ยอมโอนทะเบียนรถจักรยานยนต์ดังกล่าวให้แก่ ม.ซึ่งเป็นภริยาและทายาทของผู้ตายโดยอ้างว่า ม.มิได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ถือได้ว่า การจัดการหรือการแบ่งปันมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องชอบที่ ม.จะยื่นคำร้องขอหรือให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ม.เป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิเสธการโอนทะเบียนทรัพย์มรดก
ผู้ตายมีทรัพย์มรดกรถจักรยานยนต์ 1 คันและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้การที่เจ้าหน้าที่แผนกทะเบียนยานพาหนะปฏิเสธไม่ยอมโอนทะเบียน รถจักรยานยนต์ดังกล่าวให้แก่ ม.ซึ่งเป็นภริยาและทายาทของผู้ตาย โดยอ้างว่า ม.มิได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นถือได้ว่า การจัดการ หรือการแบ่งปันมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องชอบที่ ม.จะยื่นคำร้องขอ หรือให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ม.เป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายทรัพย์มรดก: การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่ออกทับที่ดินผู้อื่น ไม่ถือเป็นการฉ้อฉล
จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อเจ้ามรดกโดยอ้างต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินนั้นและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกทับที่ดินของบุคคลอื่นดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเพราะแม้ไม่มีจำเลยหรือผู้ใดร้องขอให้เพิกถอนทางราชการก็ต้องเพิกถอนอยู่แล้วทั้งนี้เนื่องจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทออกทับที่ของบุคคลอื่นจึงไม่ถือว่าจำเลยกระทำการโดยฉ้อฉลอันเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทและค่าขาดประโยชน์ทำนาในที่ดินพิพาททั้งหมดศาลฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุตรจำเลยทั้งสองเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วนศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งตามส่วนของตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เจ้ามรดก: ทายาทไม่ต้องรับผิดโดยตรง หากไม่ใช่ทรัพย์มรดก
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ที่บิดาของจำเลยได้กระทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของเจ้ามรดกมิใช่เป็นกองมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทตามป.พ.พ.มาตรา1600จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์หากจำเลยได้รับมรดกก็รับผิดต่อเจ้าหนี้กองมรดกไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับตามป.พ.พ.มาตรา1601โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับถึงทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดกจึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการมรดกของเจ้ามรดกตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา82.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือและพยาน การแบ่งทรัพย์มรดก และการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้ทำลงลายพิมพ์นิ้วมือและมีผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานสองคนกับมีปลัดอำเภอรักษาราชการแทนปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอเป็นผู้จัดทำและลงลายมือชื่อด้วยแต่มิได้ประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1655(4)นั้นเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ในฐานะที่เป็นพินัยกรรมธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656และมาตรา1665. คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้ไม่มีผลการที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้มาอีกจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินจฉัย. คำแก้ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกาจะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่.
of 49