พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในการจ่ายเงินจากการขายทอดตลาด และสิทธิของลูกหนี้ในการรับเงินคืน
เมื่อจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติสองขั้นตอน คือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยเมื่อจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเสร็จแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายเงินตามบัญชีนั้นต่อไป ดังนี้การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายแล้วยังมิได้มีคำสั่งหรือการดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เงินส่วนที่เหลือจึงไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาภายในห้าปีและไม่ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อจำเลยเรียกเอาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีของทั้งสองฝ่ายตามคำพิพากษาและการสั่งให้ผิดนัดที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยต่างมีหน้าที่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่กัน ทั้งโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มี คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระ จำเลยย่อมชอบที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนนี้ได้ และเมื่อศาลได้ออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้วโจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตาม จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ชอบที่จะยื่นคำขอ ต่อศาลเพื่อขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 ส่วนโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ที่จะบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ย่อมชอบที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายในสิบปีเช่นกัน
แม้จำเลยจะนำโฉนดที่ดินพิพาทมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์รับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมกับชำระเงินค่าที่ดิน ตอบแทนจำเลยภายในกำหนด โดยให้โจทก์มีสิทธินำเงินค่าเสียหายตามคำพิพากษามาหักชำระค่าที่ดินได้ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปนั้น เป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะถือว่าโจทก์ผิดนัดหรือสละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ได้ เป็นการนอกเหนือคำพิพากษาและโจทก์มิได้ตกลงด้วย หากจำเลยเห็นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป
แม้จำเลยจะนำโฉนดที่ดินพิพาทมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์รับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมกับชำระเงินค่าที่ดิน ตอบแทนจำเลยภายในกำหนด โดยให้โจทก์มีสิทธินำเงินค่าเสียหายตามคำพิพากษามาหักชำระค่าที่ดินได้ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปนั้น เป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะถือว่าโจทก์ผิดนัดหรือสละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ได้ เป็นการนอกเหนือคำพิพากษาและโจทก์มิได้ตกลงด้วย หากจำเลยเห็นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีของทั้งโจทก์และจำเลยในคดีที่ต่างมีหน้าที่ชำระหนี้ และความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์และให้โจทก์ชำระค่าที่ดินตอบแทนแก่จำเลยโดยให้โจทก์มีสิทธิหักเงินค่าเสียหายรายเดือนจนกว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่กัน ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่ต้องนำเงินมาชำระราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระ จำเลยที่ 1 ย่อมขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาส่วนนี้ได้
จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินพิพาทมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์รับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมกับชำระเงินค่าที่ดินตอบแทนภายในวันที่ 18 ตุลาคม2541 โดยให้โจทก์มีสิทธินำเงินค่าเสียหายตามคำพิพากษามาหักชำระค่าที่ดินได้ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดถือว่าผิดนัด ไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไป ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับจึงไม่ชอบเพราะนอกเหนือคำพิพากษาและโจทก์มิได้ตกลงด้วย หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างไร ชอบที่จะขอออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป
จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินพิพาทมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์รับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมกับชำระเงินค่าที่ดินตอบแทนภายในวันที่ 18 ตุลาคม2541 โดยให้โจทก์มีสิทธินำเงินค่าเสียหายตามคำพิพากษามาหักชำระค่าที่ดินได้ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดถือว่าผิดนัด ไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไป ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับจึงไม่ชอบเพราะนอกเหนือคำพิพากษาและโจทก์มิได้ตกลงด้วย หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างไร ชอบที่จะขอออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินหลักประกันในคดีอาญาต้องยึดตามหลักป.วิ.พ. และมีกำหนดเวลาการร้องคัดค้าน
การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตัวจำเลยในคดีอาญา ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ที่ใช้ บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้บัญญัติว่า ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้อง เสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้น แล้วแต่กรณีอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง หรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะ ฯลฯ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยอ้างว่า การขายทอดตลาดดำเนินการไปโดยไม่ชอบ จึงเป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินในวันที่ 5 มิถุนายน 2539 ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้ในราคา 300,000 บาท ผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิครอบครอง ที่ดินดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ซึ่งได้รายงานว่ามีการทำบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินในคดีนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีคำสั่งในรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 เดือนเดียวกันว่า ส่งเงินจำนวน 200,000 บาท ไปยังศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกนายประกันรับเงินที่เหลือคืน เอกสารในสำนวนการยึดทรัพย์ถัดมาปรากฏเป็นสำเนาหมายแจ้งผู้ร้องให้ไปตรวจรับรองบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินและรับเงินส่วนที่เหลือจำนวน 83,231 บาทและมีปรากฏรายงานการส่งหมายของเจ้าหน้าที่ว่าได้จัดการส่งหมายแจ้ง ดังกล่าวให้ผู้ร้องแล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 โดยวิธีปิดหมาย นอกจากนี้ยังปรากฏสำเนาหนังสือถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ลงวันที่ แต่ลงเดือนพฤศจิกายน 2539 ว่าขอส่งบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินจำนวน 1 ฉบับ และเช็คธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 200,000 บาท เป็นเงินค่าปรับนายประกัน และลงชื่อหัวหน้าสำนักงานบังคับคดี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีของ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถือเป็นเจ้าพนักงานของศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การยึดหลักประกัน การขายทอดตลาด ตลอดจนการรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเป็นการดำเนินการตามคำสั่งของ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดและรับเงินที่ได้ จากการขายทอดตลาดจัดทำบัญชีส่วนแบ่งเสร็จสิ้นแล้ว และรายงานศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พร้อมบัญชีส่วนแบ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2539 ว่าส่งเงิน 200,000 บาท ไปยังศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียก นายประกันรับเงินส่วนที่เหลือคืน ถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วหรือไม่ เพราะเป็นกระบวนการภายในของศาลเอง ผู้ร้องมายื่นคำร้องคดีนี้ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 อันเป็นเวลาภายหลังการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินในวันที่ 5 มิถุนายน 2539 ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้ในราคา 300,000 บาท ผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิครอบครอง ที่ดินดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ซึ่งได้รายงานว่ามีการทำบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินในคดีนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีคำสั่งในรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 เดือนเดียวกันว่า ส่งเงินจำนวน 200,000 บาท ไปยังศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกนายประกันรับเงินที่เหลือคืน เอกสารในสำนวนการยึดทรัพย์ถัดมาปรากฏเป็นสำเนาหมายแจ้งผู้ร้องให้ไปตรวจรับรองบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินและรับเงินส่วนที่เหลือจำนวน 83,231 บาทและมีปรากฏรายงานการส่งหมายของเจ้าหน้าที่ว่าได้จัดการส่งหมายแจ้ง ดังกล่าวให้ผู้ร้องแล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 โดยวิธีปิดหมาย นอกจากนี้ยังปรากฏสำเนาหนังสือถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ลงวันที่ แต่ลงเดือนพฤศจิกายน 2539 ว่าขอส่งบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินจำนวน 1 ฉบับ และเช็คธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 200,000 บาท เป็นเงินค่าปรับนายประกัน และลงชื่อหัวหน้าสำนักงานบังคับคดี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีของ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถือเป็นเจ้าพนักงานของศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การยึดหลักประกัน การขายทอดตลาด ตลอดจนการรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเป็นการดำเนินการตามคำสั่งของ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดและรับเงินที่ได้ จากการขายทอดตลาดจัดทำบัญชีส่วนแบ่งเสร็จสิ้นแล้ว และรายงานศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พร้อมบัญชีส่วนแบ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2539 ว่าส่งเงิน 200,000 บาท ไปยังศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียก นายประกันรับเงินส่วนที่เหลือคืน ถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วหรือไม่ เพราะเป็นกระบวนการภายในของศาลเอง ผู้ร้องมายื่นคำร้องคดีนี้ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 อันเป็นเวลาภายหลังการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินจากคดีอาญา: ผู้ร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังการบังคับคดีเสร็จสิ้น ถือไม่มีสิทธิ
การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตัวจำเลยในคดีอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายประกันยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยอ้างว่าดำเนินการไปโดยไม่ชอบ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จลง เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินในวันที่ 5 มิถุนายน 2539 ผู้ซื้อทรัพย์ทั้งสองชำระราคาที่ดินครบถ้วนกับได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินแล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จัดทำบัญชีส่วนแบ่งเสร็จและรายงานศาลพร้อมบัญชีส่วนแบ่งแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2539 ว่าส่งเงิน 200,000 บาท ไปยังศาลเพื่อชำระค่าปรับของนายประกัน กับเรียกนายประกันรับเงินส่วนที่เหลือคืน ถือว่าการบังคับคดีเสร็จลงแล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าศาลได้รับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วหรือไม่ เพราะเป็นกระบวนการภายในของศาลเอง เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การชำระหนี้ครบถ้วนในคดีหย่า ทำให้ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินสินสมรสได้อีก
ในคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ หากแต่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับ ธ. ซึ่งเป็นสามีซื้อมาในระหว่างสมรสแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นน้อง ธ. ไว้แทนจึงเป็นสินสมรส เมื่อโจทก์กับ ธ. หย่ากันจึงต้องแบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ถ้าไม่ยอมแบ่งก็ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ซึ่งในการแบ่งทรัพย์สินที่ดินแปลงนี้ก็มีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลในชั้นบังคับคดีและศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสโดยระบุจำนวนราคาสินสมรสมาในคำฟ้องและ ธ. ยอมแบ่งสินสมรสตามจำนวนเงินที่ระบุมาในคำฟ้องแก่โจทก์ ถือได้ว่า ธ. ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่อาจที่จะร้องขอให้ขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาได้อีกต่อไป ในคดีนี้โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสในคดีเดิมให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะชนะคดีนี้ในชั้นฎีกา โจทก์ก็ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้ คดีของโจทก์จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่การจะจำหน่ายคดีไปโดยให้คงคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทคืนโจทก์กึ่งหนึ่งไว้ก็เป็นการไม่ชอบเพราะเท่ากับให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้อีก จึงเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดในชั้นบังคับคดี ต้องยื่นในคดีเดิม ไม่ใช่คดีใหม่
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดบังคับคดีเพื่อนำรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีไปมอบต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 นั้นจะต้องดำเนินกระบวนการในชั้นบังคับคดี โดยผู้ร้องชอบที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่มา ยื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินคดีเป็นคดีใหม่อีกต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5199/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดกบังคับคดี: ทายาทมีกรรมสิทธิ์แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 บัญญัติว่า "ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมเงินเพื่อให้พอชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธียึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ คือ
(1) โดยวิธียึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ"
หมายความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดาของจำเลยได้ถึงแก่กรรมลงโดยไม่ปรากฏว่ามีการทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายอันเป็นกองมรดกย่อมตกทอดแก่ทางทายาทโดยธรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแม้จะยังไม่มีชื่อจำเลยเป็นของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนที่ดินก็ตาม โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้
(1) โดยวิธียึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ"
หมายความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดาของจำเลยได้ถึงแก่กรรมลงโดยไม่ปรากฏว่ามีการทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายอันเป็นกองมรดกย่อมตกทอดแก่ทางทายาทโดยธรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแม้จะยังไม่มีชื่อจำเลยเป็นของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนที่ดินก็ตาม โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการ ไม่ตกเป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้
เงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตหรือเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะเรียกว่าเป็นเงินช่วยเหลือแต่ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดของข้าราชการที่รัฐบาลได้จ่ายให้แก่ข้าราชการที่พ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลนั้นซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้เพื่อเลี้ยงชีพ ย่อมไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: ระยะเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดไม่ได้, ฟ้องเกิน 10 ปีขาดอายุความ
++ เรื่อง ล้มละลาย ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 208/2525 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2529 ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 3,353,698.60 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 75,067.68 บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน1,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 73,605.47 บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาด จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยว่าไม่ถูกต้องและขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532
++ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปโดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534 โจทก์บังคับคดีได้เงินชำระหนี้บางส่วนยังค้างชำระอยู่ 2,843,377.25 บาท รวมกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน378,909.15 บาท รวมเป็นเงิน 3,222,286.40 บาท
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้หรือไม่
++ โจทก์ฎีกาว่า มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยทั้งสามได้ภายในสิบปีซึ่งจะครบในเดือนเมษายน 2542เนื่องจากจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม2532 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปซึ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีนับแต่วันที่ 16 มกราคม2532 จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2534 เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือนเศษซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ควรนำระยะเวลาดังกล่าวมานับรวมในระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ดังนั้น โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ถึงเดือนเมษายน 2542
++
++ศาลฎีกาเห็นว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลาย เป็นมูลหนี้ที่ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2529 โจทก์จึงชอบที่จะนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2529กล่าวคือ จะต้องฟ้องภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2539 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532 เป็นต้นไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงและต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม2534 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น ถึงแม้จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2532 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม2534 เป็นเวลานาน 2 ปี 9 เดือนเศษ ที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีได้เพราะเหตุจากคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนของศาลชั้นต้นก็ตาม กรณีดังกล่าวก็หาเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม 193/14 ไม่
++
++ อนึ่ง คดีนี้โจทก์ได้ใช้สิทธิในการบังคับคดีแล้ว เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยังค้างชำระหนี้โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงทราบแล้วว่าโจทก์สามารถฟ้องคดีล้มละลายแก่จำเลยทั้งสามนับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม2539 ซึ่งเป็นเวลานานหลายเดือนเพียงพอที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายได้แต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 จึงพ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นมูลที่จะนำมาฟ้องคดีล้มละลายขาดอายุความแล้ว จึงเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 208/2525 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2529 ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 3,353,698.60 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 75,067.68 บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน1,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 73,605.47 บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาด จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยว่าไม่ถูกต้องและขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532
++ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปโดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534 โจทก์บังคับคดีได้เงินชำระหนี้บางส่วนยังค้างชำระอยู่ 2,843,377.25 บาท รวมกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน378,909.15 บาท รวมเป็นเงิน 3,222,286.40 บาท
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้หรือไม่
++ โจทก์ฎีกาว่า มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยทั้งสามได้ภายในสิบปีซึ่งจะครบในเดือนเมษายน 2542เนื่องจากจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม2532 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปซึ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีนับแต่วันที่ 16 มกราคม2532 จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2534 เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือนเศษซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ควรนำระยะเวลาดังกล่าวมานับรวมในระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ดังนั้น โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ถึงเดือนเมษายน 2542
++
++ศาลฎีกาเห็นว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลาย เป็นมูลหนี้ที่ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2529 โจทก์จึงชอบที่จะนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2529กล่าวคือ จะต้องฟ้องภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2539 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532 เป็นต้นไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงและต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม2534 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น ถึงแม้จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2532 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม2534 เป็นเวลานาน 2 ปี 9 เดือนเศษ ที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีได้เพราะเหตุจากคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนของศาลชั้นต้นก็ตาม กรณีดังกล่าวก็หาเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม 193/14 ไม่
++
++ อนึ่ง คดีนี้โจทก์ได้ใช้สิทธิในการบังคับคดีแล้ว เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยังค้างชำระหนี้โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงทราบแล้วว่าโจทก์สามารถฟ้องคดีล้มละลายแก่จำเลยทั้งสามนับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม2539 ซึ่งเป็นเวลานานหลายเดือนเพียงพอที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายได้แต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 จึงพ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นมูลที่จะนำมาฟ้องคดีล้มละลายขาดอายุความแล้ว จึงเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ++