พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 327 ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด
การที่จำเลยมีใบเสร็จการชำระค่าเช่าในระยะหลังนั้น มิได้หมายความ ว่าค่าเช่าก่อน ๆ นั้นจำเลยมิได้ค้างชำระประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า 'ในกรณีชำระดอกเบี้ย หรือชำระหนี้ อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อ ระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับ ชำระหนี้เพื่อระยะก่อนๆ นั้นด้วยแล้ว' นั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานซึ่งเป็น คุณแก่จำเลยผู้มีใบเสร็จที่จะไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบว่าไม่ได้ค้างชำระ ค่าเช่าในระยะก่อนเท่านั้น คือตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบหักล้าง หาใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ค้างชำระค่าเช่าการที่ จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างค่าเช่า ย่อมเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ค้างชำระค่าเช่าการที่ จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างค่าเช่า ย่อมเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก, สิทธิในทรัพย์สินก่อนสมรส, การเพิกถอนการโอน, และการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องซึ่งเป็นเพียงแสดงให้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่าหากศาลเห็นเป็นการสมควรหรือจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ขอให้เรียกจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นจึงใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข เรียกเข้ามา กรณีดังนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าคำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นพร้อมกับคำฟ้องเพื่อหมายเรียกตามมาตรา 57(3)
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าและการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึง............(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าหลังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณมรฎก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณมรฎก ร.ศ.121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุยธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทงกระเทือนถึง(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ " ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1585 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องขอชำระหนี้ค่าซื้อบ้าน สัญญาไม่มีกำหนดอายุความใช้ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การฟ้องขอให้ชำระเงินค่าซื้อบ้านที่ค้างอยู่ตามสัญญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง หากยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือ สัญญาจึงยังไม่สมบูรณ์
จำเลยยื่นหนังสือเสนอขอซื้อเครื่องในสุกรชำแหละจากโจทก์โดยยินยอมทำสัญญาและวางเงินประกัน โจทก์มีหนังสือตอบสนองว่า ผู้อำนวยการของโจทก์ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วเห็นควรจำหน่ายให้จำเลยตามราคาที่เสนอขอซื้อ ให้ไปทำสัญญาซื้อขายและวางเงินประกัน ดังนี้ตามหนังสือเสนอสนองของโจทก์จำเลยดังกล่าว โจทก์จำเลยต่างก็มีเจตนาว่าสัญญาอันมุ่งจะทำต่อกันนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือเสียก่อน ฉะนั้น กรณีของโจทก์จำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกัน เพราะยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชี้ช่องทางการซื้อขายที่ดินและการได้รับค่านายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845
ว. อยากจะซื้อที่ดินของจำเลย ได้ติดต่อกับพี่ชายซึ่งอยู่ใกล้กับที่ดินนั้น พี่ชายแนะให้ไปติดต่อกับ พ. พ. ได้เขียนชื่อและตำบลที่อยู่ของจำเลยให้ ชื่อและตำบลที่อยู่ของจำเลยนี้ พ. ได้มาจากโจทก์ จำเลยเคยแจ้งให้โจทก์หาผู้ซื้อที่ดิน ผลที่สุดจำเลยก็ได้ขายที่ดินให้แก่ ว. การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการชี้ช่องหรือจัดการให้ทำสัญญาสำเร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่าจากพฤติกรรมประพฤติชั่วร้ายแรง: การตีความเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1500(2)
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประพฤติชั่วติดยาเสพติดและประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล ไม่ทำมาหากิน ไม่ยอมทำนาเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและ หาความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวอยู่เสมอ และได้กลั่นแกล้งโจทก์และลูก ๆ โดยการไม่ยอมให้เข้าทำนาเพื่อถึงฤดูทำนา ฯลฯ" เช่นนี้ อย่างน้อยก็ตีความได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายไม้และการกลับสู่สถานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในคดีก่อนจำเลยที่ 2 ยื่นฟ้องโจทก์ขอให้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งทำกันไว้คือให้โจทก์ชำระหนี้ค่าไม้เป็นเงิน 58,000 บาท แก่จำเลยพร้อมกับมารับโอนกรรมสิทธิ์ไม้ตามสัญญา ศาลฎีกาพิพากษาในคดีนั้นว่าสัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งโจทก์จำเลยมีสิทธิ (ให้อีกฝ่าย) ปฏิบัติการชำระหนี้แต่จำเลยในฐานะลูกหนี้ไม่ชำระหนี้คือไม่ส่งมอบไม้ทั้งหมดแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ภายในเวลาอันควร จนเป็นเหตุให้ไม้เสื่อมคุณภาพใช้ประโยชน์ไม่ได้การชำระหนี้จึงกลายเป็นไร้ประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์ได้แสดงเจตนาบอกปัดไม่รับมอบไม้ทั้งหมดจากจำเลยถือว่าเป็นการได้แสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาต่อจำเลย ซึ่งจำเลยก็ได้ทราบแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับโจทก์ให้รับไม้และให้ชำระเงินแก่จำเลยได้ พิพากษายกฟ้องจำเลยโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าจนบัดนี้โจทก์ยังไม่ได้รับไม้จากจำเลยตามสัญญาเพราะ ไม้ผุเน่าไปหมด จำเลยจึงต้องชำระหนี้ตามสัญญาโดยชำระเป็นเงินค่าไม้แทนคิดเป็นเงิน 203,250 บาท ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้เมื่อโจทก์ซึ่งเคยเป็นจำเลยในคดีก่อนได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่ เดิมกล่าวคือเมื่อก่อนทำสัญญาอยู่ในฐานะอย่างไรก็ให้คู่สัญญากลับไปอยู่ในฐานะอย่างนั้นประดุจว่าไม่เคยมีนิติกรรมเกิดขึ้นในระหว่างคู่กรณี เนื่องจากโจทก์จำเลยได้เลิกสัญญาก่อนที่จะได้มีการชำระหนี้ต่อกัน ฉะนั้นจึงไม่มีสิ่งใดที่จะต้องคืนต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระเงินค่าไม้แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับบริษัทต้องเป็นไปตามกฎหมาย แม้ข้อบังคับบริษัทจะอนุญาตให้ทำได้โดยมติธรรมดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1145 ห้ามมิให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท เว้นแต่ทำโดยมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทโดยมติธรรมดาจึงใช้ไม่ได้ หากมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตให้ทำได้ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย