คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภารจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางผ่านที่ดินตกทอดแก่ทายาท แม้ยังมิได้จดทะเบียน
สิทธิที่จะใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยตามสัญญาระหว่างสามีโจทก์กับจำเลย แม้จะมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งแลพาณิชย์ มาตรา 1299 แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และมิใช่สิทธิที่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของคู่สัญญาโดยแท้ เมื่อคู่สัญญาตายไปสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมตกทอดแก่ทายาทได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
สิทธิตาม นิติกรรมเกี่ยวกับภารจำยอมที่สามีโจทก์มีสิทธิที่จะใช้ ทางผ่านที่ดินจำเลยตาม สัญญาที่ทำไว้กับจำเลยและจำเลยได้ รับค่าตอบแทนไปแล้วนั้น แม้จะมิได้จดทะเบียนการได้ มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 แต่ ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้ บังคับกันได้ ระหว่างคู่สัญญาและมิใช่สิทธิที่ตาม กฎหมายหรือว่าโดย สภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของสามีโจทก์โดย แท้ เมื่อสามีโจทก์ตาย ไป สิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่โจทก์ซึ่ง เป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 15991600.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมตกทอดแก่ทายาทได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
สิทธิตามนิติกรรมเกี่ยวกับภารจำยอมนั้น แม้จะมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา และมิใช่สิทธิที่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของคู่สัญญาโดยแท้ เมื่อคู่สัญญาตายไป สิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายเมื่อทายาทรับช่วงต่อ
ผู้ตายขายที่ดินให้โจทก์โดยมีข้อตกลงว่าผู้ตายจะต้องทำถนนจากทางสาธารณะสู่ที่ดินที่ขายให้โจทก์ จำเลยทั้งสองเป็นบุตรอันเป็นทายาทของผู้ตายย่อมรับเอาสิทธิและหน้าที่ของผู้ตายมาด้วย จึงมีหน้าที่ต้องทำถนนและจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต ศาลไม่อาจบังคับรื้อถอน แต่เปิดโอกาสให้ตกลงเรื่องค่าใช้ที่ดินหรือภารจำยอม
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์และให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยเอง หากรุกล้ำที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริต และต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ได้และเนื่องจากคดีไม่มีประเด็นในเรื่องจำนวนเงินค่าใช้ที่ดิน และเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๑๒ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินส่วนที่อาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ และให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยฉ้อฉลเพื่อเสียเปรียบเจ้าของที่ดินข้างเคียง และการบังคับให้จดทะเบียนภารจำยอม
โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 1 ต่างลงชื่อในบันทึกข้อตกลงว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงใหญ่ และได้มาจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมออกจากกันเป็นคนละ 1 แปลง แต่ยังไม่ได้จดภารจำยอมทางเดินเข้าออกเนื่องจากยังไม่มีโฉนด ทุกคนทราบว่าทางเดินกว้าง 6 เมตร และจะมาจดภารจำยอมเรื่องทางเดินผ่านเมื่อได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว ดังนี้ เมื่อทุกคนต่างได้รับโฉนดที่แบ่งแยกใหม่แล้ว จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะขายที่ดินแปลงของตนให้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 และโจทก์ที่ 4 จะยกที่ดินแปลงของตนให้โจทก์ที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงไปแล้วก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดโดยอาศัยสิทธิซึ่งกันและกันก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงได้
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของตน และอาศัยอยู่กับตนโดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ทราบว่า จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนทางภารจำยอมมาตั้งแต่แรก โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้อง รีบโอนให้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ก่อนจดทะเบียนภารจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่างทราบดีว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้มาซึ่งทางภารจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภารจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินของตนได้โดยไม่จำต้องเพิกถอนการให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยฉ้อฉลเพื่อเสียเปรียบเจ้าของที่ดินข้างเคียง และการบังคับให้จดทะเบียนภารจำยอม
โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 1 ต่าง ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงใหญ่ และได้ มาจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมออกจากกันเป็นคนละ 1 แปลง แต่ ยังไม่ได้จดภารจำยอมทางเดินเข้าออกเนื่องจากยังไม่มีโฉนด ทุกคนทราบว่าทางเดินกว้าง 6 เมตร และจะมาจดภารจำยอมเรื่องทางเดินผ่านเมื่อได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว ดังนี้ เมื่อทุกคนต่าง ได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว จึงมีหน้าที่ต้อง ปฏิบัติตาม ข้อตกลง แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะขายที่ดินแปลงของตน ให้โจทก์ที่ 5 และที่ 6และโจทก์ที่ 4 จะยกที่ดินแปลงของตน ให้โจทก์ที่ 7 ซึ่ง เป็นเจ้าของที่แท้จริงไปแล้วก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดโดย อาศัยสิทธิซึ่งกันและกันก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงได้ การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตน ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4ซึ่ง เป็นบุตรของตน และอาศัยอยู่กับตน โดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2ถึง ที่ 4 ได้ ทราบว่า จำเลยที่ 1 ต้อง จดทะเบียนทางภารจำยอมมาตั้งแต่ แรก โดย ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้อง รีบโอนให้จำเลยที่ 2ถึง ที่ 4 ก่อนจดทะเบียนภารจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่าง ทราบดี ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้ มาซึ่ง ทางภารจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภารจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะ จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินของตน ได้ โดย ไม่จำต้องเพิกถอนการให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องครอบครองปรปักษ์และการตั้งสิทธิภารจำยอมในคดีเดียวกัน ศาลไม่รับพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครอง ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านเรื่องดังกล่าว แต่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านได้สิทธิทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว จึงเป็นการตั้งสิทธิของตนขึ้นมาใหม่เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน จะเสนอมาในคดีเดียวกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีข้อกำหนดเว้นที่ดินเป็นทางภารจำยอม ทายาทมีสิทธิบังคับให้จดทะเบียนได้
จ. ทำสัญญาขายที่ดินในโฉนดบางส่วนทางด้านติดถนนให้จำเลยตามสัญญาซื้อขายระบุว่า จำเลยสัญญาและรับรองจะเว้นที่ดินทางขวามือเป็นถนนกว้าง 3 เมตร ยาวจดที่ดินของจำเลยให้ จ. มีสิทธิเดินและใช้รถยนต์เข้าไปถึงที่ดินส่วนที่เหลือของ จ.ได้ตลอดไป ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสัญญาก่อตั้งภารจำยอมในทางพิพาท เมื่อจ. ตาย โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับมรดกที่ดินส่วนที่เหลือของ จ.ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาให้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการสิ้นสภาพภารจำยอม ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนมีคำสั่ง
ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งส่วนหนึ่งให้จำเลยขุดดินถมลำกระโดงภารจำยอมให้มีสภาพดังเดิมนั้น หากต่อมาปรากฏความจริงตามคำร้อง ของ จำเลยว่า ลำกระโดงดังกล่าวหมดสภาพภารจำยอมแล้วเพราะถูกถนนสาธารณะตัดผ่าน ภารจำยอมย่อมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 และถ้าให้จำเลยขุดดินถมลำกระโดงให้มีสภาพดังเดิมแล้วจะทำให้บุคคลภายนอกเสียหายซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้โดยสุจริต ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีและยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ทำการไต่สวนจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี
of 46