คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรเข้าข่ายการค้า ต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40. ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38 จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท. ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลง โจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496 และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมดและในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อย ๆ จนถึง พ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาท ตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร มีหน้าที่เสียภาษีการค้า แม้จะอ้างเป็นการขายของเดิม
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40 ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38 จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน 6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลงโจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496 และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมดและในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อยๆจนถึงพ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาทตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อหากำไรหน้าที่เสียภาษีการค้า พิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับในแต่ละช่วงเวลา
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40. ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับ.ส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38. จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก.
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท. ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน. เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลง. โจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496. และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมด.และในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อยๆจนถึง พ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาท. ตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อใด: การประเมินภาษีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507- 2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่า ผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขาย สินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตาม มูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้อง ชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบฯ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
89ตรี จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508. โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า. ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี. ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป. มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ.
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง. เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า. แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด. แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้.
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย.
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี.
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ. เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำตาลทรายแดงเป็นสินค้าสำเร็จรูปต้องเสียภาษีการค้า การแนะนำของเจ้าหน้าที่สรรพากรไม่ใช่กลฉ้อฉล
น้ำตาลทรายแดงที่ผลิตขายแก่โรงงานน้ำตาลทรายขาว เป็นสินค้าซึ่งตามสภาพอาจอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูปซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำตาลทรายแดงเป็นสินค้าสำเร็จรูปต้องเสียภาษีการค้า การแนะนำของเจ้าหน้าที่สรรพากรไม่ถือเป็นกลฉ้อฉล
น้ำตาลทรายแดงที่ผลิตขายแก่โรงงานน้ำตาลทรายขาว เป็นสินค้าซึ่งตามสภาพอาจอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูปซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำตาลทรายแดงเป็นสินค้าสำเร็จรูปต้องเสียภาษีการค้า การแนะนำของเจ้าหน้าที่สรรพากรไม่ถือเป็นกลฉ้อฉล
น้ำตาลทรายแดงที่ผลิตขายแก่โรงงานน้ำตาลทรายขาว. เป็นสินค้าซึ่งตามสภาพอาจอุปโภคบริโภคได้โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น. จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูปซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเขารถยนต์ส่วนตัวและการเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 เท่านั้น ถ้าเป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร จึงจะไม่ถือว่าผู้ที่นำเข้ามาเป็นผู้ประกอบการค้า ส่วนรถยนต์นั่งอยู่ในประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นไม่ว่าจะเป็นของใช้ส่วนตัวหรือไม่ก็ตาม เมื่อโจทก์เป็นผู้นำรถยนต์นั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากรและกรณีไม่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่ต้องเสียในมูลหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11
of 30